รีเซต

ตะลึง !! ค้นพบตัวยาจากพืช "แครอทมรณะ" สามารถต้านไวรัสโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์

ตะลึง !! ค้นพบตัวยาจากพืช "แครอทมรณะ" สามารถต้านไวรัสโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์
TNN ช่อง16
29 พฤศจิกายน 2564 ( 15:39 )
402
ตะลึง !! ค้นพบตัวยาจากพืช "แครอทมรณะ" สามารถต้านไวรัสโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์

ความหวังในการป้องกันและรักษาโควิด-19 ยังคงเป็นประเด็นที่วงการแพทย์เร่งศึกษากันอย่างหนักหน่วง ล่าสุดได้มีการคึ้นพบสารต้านไวรัสตัวใหม่ที่ได้จากพืช ซึ่งเชื่อว่าสามารถต้านไวรัส SARS-CoV-2 ได้ทุกสายพันธุ์ !!

ที่มาของภาพ Cheminst

 

 

สารต้านไวรัสนี้มีชื่อว่า แธปซิการ์จิน (Thapsigargin - TG) ซึ่งเป็นสารที่พบในพืชมีพิษที่รู้จักกันในชื่อ "แครอทมรณะ" (Deadly carrot) หรือ Thapsia villosa จากการศึกษาพบว่าแธปซิการ์จินสามารถต้านไวรัส SARS-CoV-2 ได้ทุกสายพันธุ์ รวมถึงสายพันธุ์เดลต้าที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

 

รายละเอียดการศึกษษภายในห้องปฏิบัติการเผยว่า แธปซิการ์จินมีฤทธิ์ต่อต้านไวรัส SARS-CoV-2 ได้ทั้งก่อนและหลังจากที่ไวรัสเข้าสู่เซลล์เป้าหมาย แม้กระทั่งการติดเชื้อไวรัสร่วมกัน (Co-infection) อย่างกรณีที่ติดสองสายพันธุ์ร่วมกัน แธปซิการ์จินก็สามารถต้านไวรัสพร้อมกันได้ โดยเคลมว่าให้ประสิทธิภาพในการป้องกันสูงถึง 95%

ที่มาของภาพ Plantasyhongos

 

 

สำหรับกลไกการต้านไวรัสนั้น นักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลการออกฤทธิ์ของแธปซิการ์จินแล้วพบว่า แท้จริงแล้วสารนี้ไม่ได้ต้านไวรัสด้วยตัวเอง แต่เป็นการกระตุ้นระบบชีวเคมีในเซลล์ที่ติดเชื้อให้ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส ซึ่งกลไกนี้มีความสำคัญอย่างมากในการต่อสู้กับสายพันธุ์ที่เพิ่มจำนวนได้เร็วอย่างสายพันธุ์เดลต้า

 

SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลต้าสามารถเพิ่มจำนวนได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟาถึง 4 เท่า และเร็วกว่าสายพันธุ์เบต้าถึง 9 เท่า อีกทั้งตัวของเดลต้าเองยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มจำนวนให้กับสายพันธุ์อื่นที่เข้ามาติดเชื้อร่วมกันอีกด้วย เพราะฉะนั้น หากสามารถจัดการกับสายพันธุ์เดลต้าได้ก็นับว่าแธปซิการ์จินเป็นยาวิเศษที่น่าสนใจมาก

ที่มาของภาพ Botany

 

 

หลังการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยตั้งเป้าพัฒนาให้แธปซิการ์จินสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโควิด-19 ในคน ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง อีกทั้งยังต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงประสิทธิภาพในการต่อต้าน SARS-CoV-2 สายพันธุโอมิครอนที่มีการกลายพันธุ์อย่างน่าตกใจ หากแธปซิการ์จินใช้ได้ผลกับทุกสายพันธุ์จริงก็คงเป็นข่าวดีไม่น้อยเลยทีเดียว

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Science Alert

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง