กลุ่มยานยนต์ 2 โบรกฯ จับตากระแส EV
#ทันหุ้น - บล.บัวหลวง จับประเด็น กลุ่มยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยยอดผลิตรถยนต์ทั้งหมด 165,612 คัน เพิ่มขึ้น 6.39% YoY และ 4.92% MoM เพราะได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้น จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 327,939 คัน ยอดผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกทั้งหมด 95,612 คัน เพิ่มขึ้น 16.17% YoY และ 4.46% MoM
ด้านยอดขายรถยนต์ในประเทศทั้งหมด 71,551 คัน ลดลง 3.94% YoY แต่เพิ่มขึ้น 9.11% MoM เพราะการผลิตลดลงจากการขาดชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ของรถกระบะบางรุ่น ยอดส่งออกรถยนต์ทั้งหมด 88,525 คัน เพิ่มขึ้น 11.42% YoY และทรงตัว MoM เพราะได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้นจึงผลิตส่งออกรถยนต์นั่งและรถกระบะเพิ่มขึ้นยอด EV จดทะเบียนใหม่ มี BEV 7,536 คัน HEV 7,921 คัน และ PHEV 1,249 คัน จากสถานการณ์โควิดดีขึ้นและสถานการณ์ชิปขาดแคลนที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้ปัญหาด้านการผลิตเริ่มดีขึ้น แต่ว่ายังต้องเฝ้าระวังปัญหาพื้นที่เรือในการส่งออกรถยนต์ และจับตาสถานการณ์เศรษฐกิจ ส.อ.ท. ยังคงเป้าหมายปี 2566 ดังเดิม ที่ 1.95 ล้านคัน
บล.บัวหลวงมีมุมมองออกมาเป็นกลาง โดยปัจจัยด้านการผลิต เช่น สถานการณ์ชิปคลี่คลาย และพื้นที่เรือสำหรับส่งออกยังคงเป็นประเด็นเดิม ไม่ได้กระทบกับเป้าหมายการผลิตทั้งปีของไทยที่ 1.95 ล้านคัน
ทั้งนี้ AH และ SAT จะสามารถเติบโตได้มากกว่าอุตสาหกรรมจากออเดอร์ใหม่ๆ โดยฝ่ายวิจัยมองว่ากำไรปี 2566 ของ AH และ SAT จะเติบโต 8% และ 10% ตามลำดับ (สำหรับไตรมาส Q1/66 ทั้ง AH และ SAT จะมี order ใหม่เข้ามาหนุน มองว่ารายได้ของ AH จะเติบโต 16% YoY และทรงตัว QoQ และกำไรของ AH จะเติบโต 47% YoY และทรงตัว QoQ ในขณะที่รายได้ของ SAT จะเติบโต 10%และ 16% QoQ และกำไรของ SAT จะโต 10% YoY และ 25% QoQ)
ฝ่ายวิจัยยังคงชอบ NEX ซึ่งกำไรจะโตได้ 812% YoY จากการก้าวเข้าสู่ธุรกิจ EV อย่างเต็มรูปแบบในปีนี้ ***
ฟาก บล.เอเซียพลัส ระบุว่า ยอดขายรถยนต์ในประเทศ เปลี่ยนผ่านสู่ EV ต่อเนื่องตามกระแสโลก เป็นบวกต่อกลุ่ม ธ.พ. อย่าง BAY, KKP, TISCO และ TTB มากกว่ากลุ่มชิ้นส่วนรถยนต์ ทั้งในเชิงสินเชื่อและค่านายหน้า ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าที่สูงกว่ารถยนต์สันดาป
เลือก TISCO(FV@B108) มากกว่าKKP(FV@B77) จาก Div yield 7% - 8% ต่อปี และงบดุลแกร่งกว่า