จีนลุยวิจัยหลังพบ 'ปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระ' ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ 'เด็กออทิสติก'
เซี่ยงไฮ้, 23 ม.ค. (ซินหัว) -- จีนได้เปิดตัวการศึกษาครั้งใหญ่ว่าด้วยการปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระ (FMT) สำหรับเด็กออทิสติกหรือเด็กที่มีภาวะโรคออทิสซึม โดยปัจจุบันมีโรงพยาบาลมากกว่า 10 แห่งทั่วประเทศที่เข้าร่วมในการวิจัย และกำลังอยู่ในช่วงรับสมัครครอบครัวอาสาสมัคร
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โรงพยาบาลประชาชนแห่งที่ 10 ของเซี่ยงไฮ้ ได้ทำการปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระกับเด็กออทิสติกมากกว่า 100 คน เพื่อนำแบคทีเรีย "ตัวดี" ไปใส่แทนที่แบคที่เรีย "ตัวไม่ดี" ในลำไส้ใหญ่ (Colon) ของเด็กเหล่านี้ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าประมาณร้อยละ 60 ของเด็กออทิสติกที่มีโรคระบบทางเดินอาหาร มีอาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังได้รับการปลูกถ่ายเชื้อ โดยพบว่าคุณภาพการนอนหลับ การเคลื่อนไหวของลำไส้ พฤติกรรม และภาษาของเด็กกลุ่มนี้พัฒนาดีขึ้นข้อมูลระบุว่าการรักษาข้างต้นนี้มีทั้งหมด 4 คอร์ส แต่ละคอร์สมีระยะเวลาหนึ่งเดือนเด็กชายอายุ 13 ปีรายหนึ่งที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกเมื่ออายุ 3 ปี มีภาวะอารมณ์มั่นคงมากขึ้นหลังจากจบการรักษาคอร์สแรก และตรรกะด้านการพูดของเขาดีขึ้นอย่างมากหลังผ่านคอร์สที่สอง กระทั่งเมื่อจบคอร์สที่สี่เขาได้เขียนการ์ดใบหนึ่งและส่งให้กับแพทย์ผู้ทำการรักษาหยางหรงกุมารแพทย์ของโรงพยาบาลฯ กล่าวว่าเด็กออทิสติกจำนวนมากมีโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูก ท้องร่วง และแพ้อาหาร ซึ่งการศึกษานี้ได้พิสูจน์ว่าการลดเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้อาจมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กออทิสติกหยางหรงกล่าวว่าโรงพยาบาลฯ เปิดตัวโครงการนี้เพื่อศึกษาเรื่องการปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระจากตัวอย่างที่มากขึ้น รวมถึงตัดผลที่ได้จากการใช้ยาหลอก ปัจจุบันโรงพยาบาลมากกว่า 10 แห่ง ทั้งในเซี่ยงไฮ้ ซานตง เหอหนาน เหอเป่ย กว่างตง (กวางตุ้ง) และไห่หนาน ได้เข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้สำหรับอาสาสมัครที่เข้าร่วมวิจัยนั้นควรมีอายุระหว่าง 3 ถึง 13 ปี และเป็นผู้ที่มีอาการทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง ท้องผูก หรือแพ้อาหาร โดยอาการเหล่านี้ควรเป็นอยู่นานอย่างน้อย 6 เดือน และมีอาการกำเริบในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา