รีเซต

โดรนแบบใหม่ใช้ที่สนามบินได้ เสริมความปลอดภัยอุ่นใจทุกเที่ยวบิน !

โดรนแบบใหม่ใช้ที่สนามบินได้ เสริมความปลอดภัยอุ่นใจทุกเที่ยวบิน !
TNN ช่อง16
9 ตุลาคม 2566 ( 13:22 )
38
โดรนแบบใหม่ใช้ที่สนามบินได้ เสริมความปลอดภัยอุ่นใจทุกเที่ยวบิน !

โดรนกับสนามบินนั้นเหมือนขมิ้นกับปูน แต่บริษัทแอตลาสยูเอเอส (Atlas UAS) สตาร์ตอัปด้านระบบโดรนสัญชาติลัตเวีย ประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก ได้นำเสนอแอตลาสเนสต์ (AtlasNEST) ระบบโดรนขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบใหม่ที่สามารถทำให้โดรนกับสนามบินเป็นของคู่กันดั่งกิ่งทองกับใบหยกได้แล้ว


สเปกโดรนแบบใหม่ใช้กับสนามบิน

แอตลาสเนสต์ (AtlasNEST) เป็นระบบโดรนแบบอัตโนมัติ (Unmanned Aerial System: UAS) ที่ประกอบไปด้วยกล่องปล่อยโดรน กับตัวโดรน โดยกล่องปล่อยมีลักษณะคล้ายกล่องที่มีลิ้นชักเป็นแผ่นที่เหมือนลานจอดโดรนยื่นออกมาเมื่อจะปล่อย ตัวกล่องมีความยาวสูงสุด 2.5 เมตร กว้าง 1.1 เมตร และสูง 0.5 เมตร น้ำหนักไม่เกิน 90 กิโลกรัม 


ตัวกล่องปล่อยยังติดตั้งแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแบบก้อน 4 ก้อน ภายในกล่องปล่อย สำหรับใช้สลับกับแบตเตอรี่ที่ติดตั้งในโดรน (Swappable battery) แทนการชาร์จแบตเตอรี่ที่ตัวโดรนโดยตรง เพื่อให้โดรนสามารถทำการบินได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตัวกล่องปล่อยจะชาร์แบตเตอรี่แทน โดยใช้เวลาชาร์จแต่ละก้อนจนเต็มที่ 1 ชั่วโมง


ในขณะที่ตัวโดรนมีชื่อว่าแอตลาสโปร (AtlasPRO) เป็นโดรนแบบ 3 ใบพัด มีระยะการบินสูงสุด 10 กิโลเมตร ตามระยะการสื่อสารผ่านเครือข่ายแบบ LTE จากตัวกล่อง โดรนติดตั้งแบตเตอรี่ 1 ก้อน ที่สามารถบินได้นาน 32 นาที ก่อนกลับเข้ากล่องปล่อยเพื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ และใช้เวลาขึ้นบินอัตโนมัติจากแท่นปล่อยใน 70 วินาที พร้อมติดตั้งกล้องความร้อนที่มีการซูมแบบออปติกคอล 10 เท่า


จุดเด่นของระบบโดรนแบบใหม่ที่ใช้กับสนามบิน

ตัวระบบ AtlasNEST สามารถติดตั้งในบริเวณใดของสนามบินก็ได้ที่สามารถเข้าถึงระบบจ่ายไฟฟ้า ซึ่งทำให้หอบังคับการสามารถตรวจสอบสภาพรันเวย์ในจุดอับสายตาผ่านโดรนที่สั่งการได้จากระยะไกล และไม่ต้องกำกับเส้นทางการบินจากระบบการบินแบบอัตโนมัติ รวมถึงสามารถใช้เป็นผู้สังเกตการณ์มุมสูง (Bird-eye view) ในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินที่สนามบินได้โดยไม่กีดขวางเส้นทางการบินของเครื่องบินหรือเจ้าหน้าที่ในสนามบิน และไม่รบกวนการสื่อสารภายในสนามบิน เพราะใช้สัญญาณ LTE หรือที่รู้จักกันว่าเป็น 4G ซึ่งอยู่คนละช่วงคลื่นสัญญาณกับสัญญาณวิทยุของหอบังคับการบินและตัวเครื่องบินอีกด้วย


แอตลาสยูเอเอสคิดราคาระบบแอตลาสเนสต์เริ่มต้นเดือนละ 4,479 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 166,000 บาท ต่างจากเฮลิคอปเตอร์ที่ทางบริษัทเทียบว่าต้องจ่ายเดือนละ 7.8 ล้านบาท พร้อมการบำรุงรักษาเพียงปีละ 3 ครั้ง และใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่าโดยยกว่าแอตลาสเนสต์นั้นมีประสิทธิภาพทัดเทียมกัน โดยตั้งเป้าลูกค้าเป็นผู้ให้บริการสนามบินทั่วโลก



ที่มาข้อมูล New Atlas

ที่มารูปภาพ AtlasUAS


ข่าวที่เกี่ยวข้อง