รีเซต

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์รูปแบบใหม่รักษาสิ่งแวดล้อมและอยู่ร่วมกับชุมชน

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์รูปแบบใหม่รักษาสิ่งแวดล้อมและอยู่ร่วมกับชุมชน
TNN ช่อง16
13 เมษายน 2566 ( 00:42 )
87
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์รูปแบบใหม่รักษาสิ่งแวดล้อมและอยู่ร่วมกับชุมชน

บริษัท โทคาแมก เอเนอร์จี (Tokamak Energy) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชันเปิดภาพโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จะเปลี่ยนแปลงภาพเดิม ๆ ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สุดอันตรายที่เคยถูกใช้งานมาก่อนหน้านี้ด้วยแนวคิดของบริษัทที่ต้องการให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง


ตามแนวคิดของบริษัทที่นำเสนอโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชันมีกำลังการผลิต 500 เมกะวัตต์ สามารถรองรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าเพียงพอกับความต้องการของบ้านเรือน 50,000 หลัง ภายในช่วงปี 2030 


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชันใช้หลักการอะตอมคู่หนึ่ง คือ อะตอมไฮโดรเจนที่ชื่อดิวทีเรียมและตริเตียม มาหลอมรวมกัน เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แยกออกจากกันเป็นนิวตรอนกับนิวเคลียสของฮีเลียมซึ่งมี 2 โปรตอน กับ 2 นิวตรอน และสร้างพลังงานความร้อนส่วนเกินจากปฏิกิริยา


พลังงานที่ใช้เป็นดิวทีเรียมและทริเทียม หรือไฮโดรเจนทั้ง 2 รูปแบบ สร้างอุณหภูมิความร้อนกว่าแกนกลางของดวงอาทิตย์เพื่อสร้างฮีเลียมและปล่อยพลังงานความร้อนออกมาเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยพลาสมาที่ถูกสร้างขึ้นจะใช้แม่เหล็กแรงสูงควบคุมเอาไว้เรียกว่าวงแหวนโทคามัก (Tokamak)


บริษัทยืนยันว่าแนวคิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชันมีประสิทธิภาพมากกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเผาไหม้ เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชัน 1 กิโลกรัม เทียบได้เท่ากับปริมาณเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ของถ่านหิน 10,000 ตัน ซึ่งถ่านหินสร้างมลพิษให้กับโลกปริมาณมหาศาล


สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชันสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีข้อดีโดดเด่นกว่าแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น แสงแดด กระแสน้ำ ซึ่งมักมีข้อจำกัดในด้านของปัจจัยทางธรรมชาติส่งผลให้การผลิตกระแสไฟฟ้าขาดความต่อเนื่อง นอกจากนี้บริษัทยืนยันว่าการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดจะมีความปลอดภัยสูง ภายใต้การตรวจสอบที่เข้มงวดของบริษัทและหน่วยงานของรัฐบาล


ที่มาของข้อมูล Newatlas 

ที่มาของรูปภาพ Tokamak Energy

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง