รีเซต

“เดือนเมษา สุดร้อน นอนไม่ได้” ความทุกข์แบบทุบสถิติ “เดือนสี่” ที่จะร้อน “หนักขึ้น” ในทุกปี

“เดือนเมษา สุดร้อน นอนไม่ได้” ความทุกข์แบบทุบสถิติ “เดือนสี่” ที่จะร้อน “หนักขึ้น” ในทุกปี
TNN ช่อง16
9 พฤษภาคม 2567 ( 17:49 )
36

ปัญหาเรื่องโลกร้อน หรือสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เกิดความตระหนักรู้มาหลายทศวรรษแล้ว และไม่ได้ร้อนเพียงเราคนเดียว แต่ร้อนด้วยกันเกือบทั้ง 200 กว่าประเทศทั่วโลก


แต่น้อยคนที่จะตอบคำถามได้ว่า โลกร้อนในรายละเอียดแล้ว มีความแตกต่าง “เชิงสถิติเปรียบเทียบ” อย่างไร 


ตรงนี้ มีหน่วยงานที่ทำการศึกษาวิจัยมากมายที่ทำการศึกษา แต่ที่พอจะทำให้เข้าใจได้อย่างรวบรัด นั่นคือ The Copernicus Climate Change Service หรือ C3S ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยสภาพอากาศในกำกับดูแลของ the European Centre for Medium-Range Weather Forecasts reanalysis v5 หรือ ERA5


หน่วยงานนี้มีข้อเสนอที่น่าสนใจในรายงานฉบับล่าสุดว่า เดือนเมษายน มีอัตราเฉลี่ยของ “สถิติความร้อน” ในอัตราที่ “สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในทุกปี”


เดือนเดือด


ก่อนอื่นนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า “Research Program” ของงานศึกษาดังกล่าวเป็นอย่างไร 


งานศึกษา Copernicus: Global temperature record streak continues – April 2024 was the hottest on record ในคอลัมน์ APRIL CLIMATE BULLETINS นี้ มีการออกแบบ Research Program โดยลักษณะ “สถิติสภาพภูมิอากาศเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Climate Analysis)” 


วางขอบข่ายศึกษาให้อยู่ในเดือนเมษายนของทุกปี นับตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติในยุคเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม 1850-1900 มาจนถึงปัจจุบัน


ตามข้อสรุป พบความน่าสนใจอย่างน้อย 3 กรณี ดังต่อไปนี้


ประการแรก เดือนเมษายน 2024 มีอุณหภูมิพื้นผิวอากาศอยู่ที่ 15.03 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยสถิติตั้งแต่ปี 1991-2020 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.67 องศาสเซลเซียส และทำลายสถิติเดิมในเดือนเมษายน 2016 ลงไป โดยห่างกัน 0.14 องศาเซลเซียส


ประการต่อมา อุณหภูมิในเดือนเมษายน 2024 ทั่วยุโรปสูงขึ้น 1.49 องศาเซลเซียส สูงที่สุดเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยสถิติตั้งแต่ 1991-2020 ส่วนในภูมิภาคอื่น ๆ ก็มีค่าเฉลี่ยทางสถิติที่สูงกว่าในอดีตเช่นกัน


ประการท้ายสุด เดือนเมษายน 2024 นี้ ร้อนที่สุดนับตั้งแต่หน่วยงานนี้เก็บสถิติย้อนหลังมา คือยุคยุคเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม 1850-1900


ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า เส้นสถิติอุณหภูมิโลกในเดือนเมษายน เป็นไปแบบ “Soaring” หรือก็คือ มีการเพิ่มขึ้นอย่างอัตราก้าวหน้ามาโดยตลอด ไม่มีแนวโน้มของการคงสภาพหรือการเคลื่อนที่ในอัตราลดแต่อย่างใด ดังที่แสดงผลออกมาตามกราฟฟิคด้านล่างนี้



จึงอาจเป็นนัยบ่งชี้ได้ว่า เดือนเมษายนในปีต่อ ๆ ไป ต้องเฝ้าระวังอันตรายที่มาจากสถิติความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นให้มากขึ้นตามลำดับ ดังที่ คาร์โล บูออนเทมโป ผู้อำนวยการหน่วยวิจัย C3S อธิบายว่า


“... จริงอยู่ เอลนีโญผ่านมาและก็ผ่านไป แต่อย่าลืมว่าความร้อนที่มากับสิ่งนี้ไม่ได้หายไปด้วย เพราะยังได้รับการกักเก็บไว้ภายใต้ก๊าซเรือนกระจกและผืนมหาสมุทร ที่จะยังคงเพิ่มการสร้างสถิติอุณหภูมิให้โลกต่อ ๆ ไป”


ข้อสังเกตการวิจัย


หากพิจารณางานวิจัยดังกล่าวดี ๆ จะพบถึงความน่าสงสัยบางอย่าง เพราะมีการนำสถิติของปัจจุบัน ไปเทียบเคียงกับอดีต ซึ่งเป็นยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการอนุมานเชิงสถิติเพื่อสร้างตัวแบบและแบบแผนในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลง


แต่ในงานศึกษานี้ เปรียบเทียบกับในอดีตที่ “ยังไม่มีอุตสาหกรรม” คือในยุค 1850-1900 นั่นหมายความว่า คือการเปรียบเทียบ 0 กับจำนวนนับ “ที่มีค่าทางสถิติ” 


เมื่อเปรียบเทียบเช่นนี้ ไม่ว่าจะอย่างไร ในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยอุตสาหกรรมหนัก ก็จะต้องมีอุณหภูมิที่มากกว่าอยู่แล้ว สำหรับประเด็นนี้ ในทางวิธีวิทยาแล้ว มักไม่ได้ “สร้างนัยบ่งชี้ทางสถิติอย่างครบถ้วน” นัก


เช่นนี้ ก็เหมือนกับการเทียบว่า นักธุรกิจประสบการณ์ 20 ปี ติดหนี้และล้มเหลวอย่างมาก กับพวกลูกคนร่ำรวย  ไม่เคยทำธุรกิจใด ๆ เลย และสรุปว่า นักธุรกิจน่าเป็นห่วงกว่า เช่นนี้ จะมีนัยบ่งชี้ได้อย่างไร


แต่อย่างน้อย ๆ วิจัยนี้ก็ทำให้เราตระหนักได้ว่า “เดือนเมษา สุดร้อน นอนไม่ได้” ไม่ได้เป็นคำกล่าวที่เกินจริงแต่อย่างใด


แหล่งอ้างอิง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง