รีเซต

โควิด-19 : มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กประกาศสู้ข่าวลวง นำเฟซบุ๊กถอดข่าวปลอมเกี่ยวกับไวรัสที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้

โควิด-19 : มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กประกาศสู้ข่าวลวง นำเฟซบุ๊กถอดข่าวปลอมเกี่ยวกับไวรัสที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้
ข่าวสด
22 พฤษภาคม 2563 ( 03:44 )
97
โควิด-19 : มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กประกาศสู้ข่าวลวง นำเฟซบุ๊กถอดข่าวปลอมเกี่ยวกับไวรัสที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้

โควิด-19 : มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กประกาศสู้ข่าวลวง นำเฟซบุ๊กถอดข่าวปลอมเกี่ยวกับไวรัสที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ - BBCไทย

นายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเฟซบุ๊ก ประกาศว่าสื่อสังคมออนไลน์ของเขาจะลบเนื้อหาอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโคนาสายพันธุ์ใหม่ แต่จะปล่อยให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีได้ในกรณีที่ไม่ใช้ข้อมูลเท็จ

นายซักเคอร์เบิร์กบอกกับบีบีซีว่าเฟซบุ๊กได้ลบเนื้อหาที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานไปแล้ว และจะทำต่อไป แต่ จะไม่ระงับการใช้งานของกลุ่มที่อ้างว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโคนาสายพันธุ์ใหม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ หรืออ้างว่าการแพร่ระบาดมีความเกี่ยวข้องกับการเปิดใช้เครือข่ายมือถือ 5จี

ก่อนหน้านี้ เฟซบุ๊ก ลบโพสต์ที่ประธานาธิบดีชาอีร์ โบลโซนาโรของบราซิล อ้างว่านักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาโรคโควิด-19 ได้

"เห็นได้ชัดว่ามันเป็นเรื่องไม่จริง เราจึงต้องลบโพสต์นั้น ไม่ว่าคนโพสต์จะเป็นใครก็ตาม" เขากล่าวในการให้สัมภาษณ์พิเศษกับบีบีซี

Getty Images

นายซักเคอร์เบิร์กบอกด้วยว่า เฟซบุ๊กได้ลบเนื้อหาจากกลุ่มที่อ้างว่าการเปิดใช้งานของเครือข่ายดิจิทัล 5จี เป็นต้นเหตุของการแพร่เชื้อ และในบางกรณีมีการกระตุ้นให้ผู้คนที่เชื่อเรื่องนี้ทำลายเสาส่งสัญญาณเครือข่าย 5จีด้วย

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เฟซบุ๊กได้ลบเนื้อหาของเดวิด ไอก์ อดีตพิธีกรรายการทีวี และนักทฤษฎีสมคบคิด เหตุเพราะเขาฝ่าฝืนนโยบายเรื่องข้อมูลเท็จที่เป็นอันตรายซ้ำแล้วซ้ำเล่า

นายไอก์ บอกว่าเครือข่ายมือถือ 5จี เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโคนาสายพันธุ์ใหม่ และมีวิดีโอหนึ่งที่เขาบอกว่าชาวยิวเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการแพร่ระบาดนี้

นายซักเคอร์เบิร์กบอกว่า ถึงแม้ว่าข้อมูลบางอย่างไม่ได้นำไปสู่อันตรายต่อร่างกาย แต่เราไม่ต้องการให้ข้อมูลผิด ๆ กลายเป็นเนื้อหาที่แพร่หลายไปทั่ว เราจึงทำงานร่วมกับหน่วยงานอิสระที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง

"ตั้งแต่เกิดวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่ เราแจ้งเตือนเรื่องข้อมูลเท็จไปแล้ว 7,500 ครั้ง ซึ่งทำให้เราต้องติดคำเตือนบนโพสต์ต่าง ๆ ราว 50 ล้านโพสต์ เรารู้ว่ามันได้ผลเพราะราว 95% ของผู้ใช้เฟซบุ๊ก ไม่คลิกไปอ่านโพสต์ที่มีคำเตือนแบบนั้น"

Getty Images

อย่างไรก็ตาม นายซักเคอร์เบิร์กย้ำว่า หากไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าโพสต์นั้นเป็นเนื้อหาอันตรายแท้จริง ก็ต้องปล่อยให้มีการแสดงมุมมองที่มีความเป็นไปได้ เพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีบนอินเทอร์เน็ตได้

ทั้งนี้ การให้สัมภาษณ์ครั้งนี้เป็นการให้สัมภาษณ์กับสื่อในสหราชอาณาจักรครั้งแรกในรอบ 5 ปี ของนายซักเคอร์เบิร์ก โดยมีการพูดถึงประเด็นการป้องกันการแทรกแซงทางการเมือง ซึ่งเขายอมรับว่าในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2016 เฟซบุ๊กล้าหลังไม่ทันเกม และเขามั่นใจว่าบริษัทได้รับบทเรียนแล้ว

ก่อนหน้านี้ เมื่อ ก.พ. ที่่ผ่านมา นายซักเคอร์เบิร์ก เรียกร้องให้มีการควบคุมเนื้อหาที่เป็นอันตรายในโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้น โดยระบุว่า บริษัทอย่างเฟซบุ๊ก ไม่สามารถตัดสินในสิ่งที่ถือว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีโดยชอบธรรมได้

ในการประชุมด้านความมั่นคงซึ่งจัดขึ้นที่นครมิวนิก ประเทศเยอรมนี (Munich Security Conference) นายซักเคอร์เบิร์กยังได้อ้างถึงจีนด้วย โดยเขาเตือนว่าการควบคุมที่มากเกินความจำเป็น เสี่ยงที่จะเป็นการปิดกั้นการแสดงออกของผู้คน

บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก กำลังเผชิญแรงกดดันให้หยุดเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ โดยเฉพาะเฟซบุ๊กได้ถูกวิจารณ์จากนโยบายเกี่ยวกับการโฆษณาทางการเมือง

ทางบริษัทได้ออกนโยบายใหม่เกี่ยวกับการโฆษณาทางการเมืองในสหรัฐฯ ในปี 2018 และในปีต่อมาได้นำไปใช้ทั่วโลก กฎเหล่านี้กำหนดให้โฆษณาทางการเมืองต้องแสดงว่าผู้ใดจ่ายเงินค่าโฆษณา และให้เก็บสำเนาการโฆษณานี้ไว้ในฐานข้อมูลที่ประชาชนสามารถค้นหาได้นาน 7 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง