รีเซต

โลกเกิด ‘Nixon Shock’ ซ้ำ? จีนหวั่นโลกเผชิญวิกฤตการเงินครั้งใหม่

โลกเกิด ‘Nixon Shock’ ซ้ำ? จีนหวั่นโลกเผชิญวิกฤตการเงินครั้งใหม่
TNN ช่อง16
30 มกราคม 2565 ( 16:31 )
101

สำนักข่าว SCMP รายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจในสหรัฐฯ หลังเงินเฟ้อพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์และหนี้สินที่เพิ่มขึ้น สร้างความวิตกว่าโลกอาจเผชิญวิกฤตการเงินครั้งใหม่


---หวั่นเกิด “Nixon Shock” ซ้ำรอยเดิม---


นโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่สูงสุดในรอบหลายสิบปี ประกอบกับหนี้สินของรัฐบาลกลาง สำหรับจีนแล้ว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณเตือนที่น่ากังวล เพราะอาจกระตุ้นให้เกิด “Nixon Shock" ขึ้นอีกครั้ง


เหตุการณ์ “Nixon Shock” เกิดขึ้นเนื่องจาก ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในขณะนั้น ประกาศยกเลิกการผูกเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ไว้กับทองคำ และท้ายที่สุด ก็เปลี่ยนเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน 


ความกังวลครั้งนี้ ก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งกระตุ้นให้ที่ปรึกษานโยบายของจีนกล่าวว่า สองประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก ต้องทำงานร่วมกันในการประสานงานนโยบาย เพื่อจัดการความเสี่ยงระยะสั้น ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ควรอ่อนค่าลง เพื่อผลประโยชน์ของความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว


---วิกฤตการเงินสหรัฐฯ กระทบเศรษฐกิจโลก---


วิกฤตการเงินโลกปี 2008 และการระบาดใหญ่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ได้สร้างระดับหนี้ขึ้นมา และยังทำให้งบดุลของ Fed พุ่งทะยานต่อเนื่อง หากอำนาจเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ถูกทำลาย อาจเกิดวิกฤตอื่น  ตามมา” หลิว จวิ้นหง หัวหน้าฝ่ายวิจัยโลกาภิวัตน์ สถาบัน China Institute of Contemporary International Relations กล่าวในการสัมมนาภายในเมื่อเดือนที่แล้ว


การประชุมสัมมนาเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งจัดขึ้นสี่เดือนหลังจากวันครบรอบ 50 ปี “Nixon Shock” สะท้อนถึงความกังวลของจีนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินอย่างกะทันหัน


สหรัฐฯ ไม่ได้แสดงเจตนาที่จะร่วมมือกับประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ในการจัดการกับวิกฤตที่ไม่สามารถรับมือได้เพียงลำพัง ซึ่งอาจทำให้โลกเกิด Nixon Shock เป็นครั้งที่สอง” หลิว เตือน


หลังอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี อยู่ที่ 7% ในเดือนธันวาคม ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่ากำหนดเดิม


---สังเวียน “จีน-สหรัฐฯ” ไร้จุดจบ---


ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทวิภาคีมีความซับซ้อนมากขึ้น หลังสัปดาห์ที่แล้ว ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะยกเลิกการขึ้นภาษีสินค้าจีน ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของจีนในการปฏิบัติตามเงื่อนไขการจัดซื้อ ที่กำหนดไว้ในข้อตกลงการค้าสหรัฐฯ-จีน เฟสที่ 1 ที่เพิ่งหมดอายุไป


ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวปราศรัยในงาน The Davos Agenda ซึ่งจัดโดย World Economic Forum เขาเรียกร้องให้ผู้นำระดับโลก ดำเนินนโยบายอย่างโปร่งใสและประสานงานกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจโลกถดถอยไปมากกว่านี้


ประเทศยักษ์ใหญ่จำเป็นต้องสร้างนโยบายเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบ และบริหารจัดการการแพร่กระจายเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันผลกระทบร้ายแรงต่อประเทศกำลังพัฒนา” สี กล่าว 


สถาบันเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ ควรมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ในการสร้างฉันทามติระหว่างประเทศ ส่งเสริมการประสานงานด้านนโยบาย และป้องกันความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ” 


---การเงินในมือชาติ “ยักษ์ใหญ่”---


โจว เสว่จื่อ จาก Chinese Academy of Social Sciences กล่าวว่า เขาไม่ได้คาดหวังว่าระบบการเงินโลกที่ครอบงำโดยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น โจวยังแนะนำให้จีน-สหรัฐฯ หารือถึงวิธีจัดการนโยบายของแต่ละฝ่ายให้ออกมาดีที่สุด 


จีนควรตั้งนโยบายการเงิน ตามสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ และปฏิบัติตามกลยุทธ์ของตนเอง” เขากล่าว หลังสัปดาห์ที่แล้ว ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง ระยะเวลา 1 ปี ลงเหลือ 2.85% รวมถึงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรย้อนหลัง 7 วันด้วย


โจวกล่าวว่า ทางการควรพิจารณาอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนให้ยืดหยุ่นขึ้น เพื่อช่วยดูดซับผลกระทบจากภายนอก


ความสัมพันธ์จีนกับสหรัฐฯ แย่ลงมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้นักวิจัยและนักยุทธศาสตร์ด้านภูมิรัฐศาสตร์ของจีน ต่างกังวลถึงผลกระทบดังกล่าว หากฝ่ายบริหารของไบเดนใช้มาตรการที่เข้มงวด เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับอำนาจของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ


---บทบาทสกุลเงินดิจิทัลในศตวรรษที่ 21---


หลิว หยูเฟิง นักวิจัยจากสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศร่วมสมัยของจีน กล่าวว่า “สหรัฐฯ ซึ่งใช้นโยบายในลักษณะฝ่ายเดียวมากขึ้น และขาดความรับผิดชอบมากกว่าเมื่อ 50 ปีก่อน อาจทำให้โลก ‘ประหลาดใจ’ อีกรอบ หากสถานการณ์คล้ายกับ ‘Nixon Shock’ เกิดขึ้นอีกครั้ง

 

หลิวยังระบุว่า แม้ว่าเงินยูโรหรือเงินหยวนอาจแข็งค่าขึ้นเพื่อท้าทายการครอบงำของดอลลาร์สหรัฐฯ แต่การใช้เงินเหนือรัฐ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากตะกร้าสกุลเงินสำรอง อาจถูกพิจารณาใหม่ด้วยสกุลเงินดิจิทัล


การปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน” หลิว กล่าว “แต่ประชาคมระหว่างประเทศ ควรผลักดันฉันทามติโดยเร็วที่สุด และเตรียมการเพิ่มเติม


---ผลักดัน “หยวน” เป็นเงินสากล---


จีนเริ่มแผนการทำให้เงินหยวนกลายเป็นเงินสากลปี 2009 โดยเริ่มจากการตกลงทางการค้า และขยายไปสู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบสกุลเงินหยวน รวมถึงการลงทุนในประเทศแถบ ‘หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง


ขณะเดียวกัน จีนได้ปรับปรุงช่องทางการชำระเงินหยวน ที่เรียกว่า Cross-Border Interbank Payment System ซึ่งติดตามการทดลองใช้เงินหยวนดิจิทัลข้ามพรมแดน และได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายในประเทศผ่านผู้ให้บริการส่งข้อความทางการเงินระดับโลก อย่าง SWIFT เพื่อเสริมความแข็งแกร่งการเชื่อมต่อทางการเงินทั่วโลก 


โดยรวมแล้ว การใช้สกุลเงินของจีนในต่างประเทศกำลังคืบหน้า แต่ก็ยังล้าหลังดอลลาร์สหรัฐฯ ในแง่ของการชำระเงินระหว่างประเทศ สกุลเงินสำรอง และธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยน


ทั้งนี้ เงินยูโรกำลังตามมาติด  โดยข้อมูลจาก SWIFT แสดงให้เห็นว่าเงินยูโรคิดเป็น 36.7% ของการชำระเงินทั่วโลกในเดือนธันวาคม เทียบกับ 31.7% เมื่อสองปีก่อน ในช่วงเดียวกันนั้น ส่วนแบ่งของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเหลือ 40.5% จาก 42.2%

—————

แปล-เรียบเรียงพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: Reuter

ข่าวที่เกี่ยวข้อง