นักวิทย์จีนใช้เอกลักษณ์ 'ใยแมงมุม' พัฒนาเส้นใยเทียมเก็บน้ำได้
ปักกิ่ง, 12 พ.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิทยาศาสตร์สาขาวัสดุศาสตร์ในจีน อาศัยแรงบันดาลใจจาก "ใยแมงมุม" มาพัฒนาเส้นใยสังเคราะห์ (microfiber) ชนิดผูกปมตามแกนหมุน ซึ่งมีประสิทธิภาพกักเก็บน้ำสูง
เมื่อวันพุธ (11 พ.ค.) ไชน่า ไซเอนซ์ เดลี รายงานว่าคณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยซีหนานเจียวทง สังเกตพบโครงสร้างปมแบบแบ่งระยะอันเป็นเอกลักษณ์ของใยแมงมุมธรรมชาติ ซึ่งสามารถยึดเหนี่ยวหยดน้ำจำนวนมากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารแมททีเรียลส์ เคมมิสทรี เอ (Materials Chemistry A) ระบุว่าคณะนักวิทยาศาสตร์จึงออกแบบเส้นใยสังเคราะห์ชนิดผูกปมตามแกนหมุนที่มีช่องโพรงต่อเนื่องเส้นใยสังเคราะห์ฯ ที่มีช่องโพรงนั้นมีศักยภาพยึดเหนี่ยว อัตราการเติบโตของหยดน้ำ และประสิทธิภาพกักเก็บน้ำมากกว่า เมื่อเทียบกับเส้นใยสังเคราะห์ชนิดผูกปมตามแกนหมุนแบบหนาแน่นปริมาตรหยดน้ำที่ยึดเกาะบนเส้นใยข้างต้นระดับสูงสุดนั้นมากกว่าของเส้นใยสังเคราะห์ทั่วไปเกือบ 1,663 เท่า ซึ่งถือเป็นสัดส่วนปริมาตรหยดน้ำยึดเกาะสูงสุดเท่าที่เคยมีการรายงานเมิ่งเทา ผู้เขียนงานวิจัยนี้ กล่าวว่าโครงสร้างช่องโพรงอันเป็นเอกลักษณ์ได้เพิ่มแรงดึงที่เกิดจากการดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำ (capillary force) และให้เส้นสัมผัสที่ยาวขึ้นสำหรับเก็บน้ำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถกักเก็บน้ำคณะนักวิจัยมองว่าเส้นใยสังเคราะห์ชนิดใหม่นี้สามารถนำมาทำเป็นผ้าพันแผล เนื่องจากสามารถดูดซับสารที่ซึมผ่านจากบาดแผลอย่างมีประสิทธิภาพ