รีเซต

Net Zero เรื่อง(ไม่)ใหม่ ที่บริษัทใหญ่ต้องโฟกัสในปี 2024!

Net Zero เรื่อง(ไม่)ใหม่ ที่บริษัทใหญ่ต้องโฟกัสในปี 2024!
แบไต๋
5 ธันวาคม 2566 ( 19:20 )
62

ถ้ามีคนถามคุณว่าบริษัทดัง โรงงานอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ เขาคิดถึงอะไรเป็นหลัก คำตอบที่คิดได้เร็ว ๆ ก็คงจะเป็นเรื่องของตัวเลข เช่น กำไร, ขาดทุน, การผลิตโปรดักต์, วางแผนธุรกิจ การตลาด ไปจนความมั่งคั่ง แต่ยังมีอีกเรื่องสำคัญที่หลาย ๆ องค์กรก็เริ่มที่จะคิดถึงเรื่องนี้แล้ว เพราะมันจะเกี่ยวโยงกับบริษัท หรือธุรกิจของคุณโดยตรงนั่นก็คือ “Net Zero หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์”

โลกร้อนอยู่… ใครก็รู้

คุณอยู่ประเทศไทย คงรู้สึกมาสักพักแล้วใช่ไหมว่าฤดูกาลมันค่อนข้างมั่วซั่วไปหมด ร้อนนาน หนาวน้อย หรือบางทีฝนก็ตกผิดฤดู หรือพายุยาวนานกว่าปกติ นั่นเป็นผลกระทบจากการปล่อย ‘คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็น 1 ในส่วนประกอบของก๊าซเรือนกระจกออกมา’ คำถามคือคาร์บอนเกิดจากอะไร ก็เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นของเสียที่เกิดจากอาหาร การเดินทาง การใช้ไฟฟ้า การขับรถ แต่ตัวเร่งสำคัญที่ทำให้โลกเราเผชิญภาวะเรื่องคาร์บอนก็คือการประกอบกิจการของบริษัทต่าง ๆ โรงงานใหญ่ ๆ ไปจนอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ และเพื่อควบคุมเรื่องนี้ ทำให้ทุกบริษัทจำเป็นต้องมีคาร์บอนเครดิต นั่นก็คือจำนวนคาร์บอนไดออกไซด์ ที่กำหนดให้แต่ละองค์กรสามารถปล่อยได้ต่อปี ถ้าประกอบอุตสาหกรรมโดยไม่มีคาร์บอนเครดิต และไม่ชดใช้คืนให้โลกก็จะมีบทลงโทษต่าง ๆ ตามมา

ตอนนี้คงพอเห็นภาพแล้ว ว่า ‘ปัญหาของโลกคือก๊าซเรือนกระจก ที่มีส่วนประกอบหลักในนั้นคือ คาร์บอนไดออกไซด์’ สถานการณ์ปัจจุบันก็ต้องบอกว่าน่าเป็นห่วง ย้อนไปในปี 1850 – 1900 ช่วงที่เริ่มมีการเอาปิโตรเลียมมาเป็นเชื้อเพลิงโลกของเรามีปริมาณก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 280 ppm จากจุดนั้นตัวเลขก็จะอยู่ที่ 280 – 300 ppm ซึ่งเป็นค่าที่ยังปลอดภัย มนุษย์และธรรมชาติยังพอจัดการและอยู่ร่วมกับตัวเลขนี้ได้ แต่ปัจจุบันด้วยการที่ทั้งโลกทำกิจการต่าง ๆ มากมายตอนนี้ตัวเลขพุ่งสูงถึง 420 ppm เรื่องน่าเศร้าก็คือที่ผ่านมาทั้งโลกมีขีดความสามารถในการจัดการก๊าซเรือนกระจกได้ที่ประมาณ 60% เท่านั้น ส่วนที่เหลือไปไหน ภาวะโลกร้อนที่เราเผชิญ หรือฤดูกาลที่บ้าคลั่ง อากาศที่ไม่ปกติ คงเป็นคำตอบได้ดี

ทางเลือกสู่ทางรอด?

จากสถานการณ์นี้ทำให้ทั่วโลกตระหนักถึงความอันตรายของเรื่องนี้เลยมุ่งหน้าสู่เป้าหมายเดียวกันนั่นก็คือ ‘Net Zero หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์’ ก็คือการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจปล่อยออกและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกให้เท่ากัน เพื่อให้ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อมเป็นศูนย์ โดยสามารถซื้อคาร์บอนเครดิตได้เฉพาะส่วนที่มาจากภาคป่าไม้เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก มีต้นทุนสูง และไม่มีองค์กรไหนสามารถทำสำเร็จได้เพียงองค์กรเดียว รวมทั้งมีการเก็บภาษีคาร์บอน เพื่อเตือนให้ทุกองค์กรที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตหันมาให้ความสำคัญกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ปรับตัว เพื่อลดต้นทุน

ไปจนถึงการกระตุ้นให้ภาคธุรกิจหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า รวมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องเริ่มตั้งแต่ส่วนต้นไปยังส่วนปลายของห่วงโซ่การผลิต รวมไปถึงการสร้าง Carbon Sink หรือการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก สามารถทำได้ด้วยการปลูกป่า โดยกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่อยู่ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น

โลกร้อน เศรษฐกิจร้อน?

มีการคาดการณ์โดย Swiss Re ว่า หากอุณภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นอีก 3.2 องศาเซลเซียส อาจส่งผลให้ GDP โลกหายไปถึง 18% ภายในปี 2050 ซึ่งปัจจุบันอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 1.2 องศาเซลเซียสแล้ว

ขณะที่ในประเทศไทย ซึ่งมีความเปราะบางจากสภาวะดังกล่าวเป็นพิเศษจากเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาลมฟ้าอากาศสูง เช่น ภาคเกษตร ภาคการท่องเที่ยว อาจได้รับผลกระทบสูงถึง 44% ของ GDP เลยทีเดียวในช่วงเวลาเดียวกัน (คาดการณ์โดย TDRI กรณีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3.2 องศาเซลเซียส)

ความอยู่รอดของโลกจากวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมนั้นต้องการเม็ดเงินการลงทุนมหาศาล และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทุกมิติ โดยการจะไปถึง Net Zero ได้นั้น ต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมหาศาล McKinsey คาดการณ์ว่าจะต้องใช้เงินลงทุนเฉลี่ยถึงปีละ 6.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี จากทุกภาคส่วนรวมกัน ภายใต้เงินลงทุนมหาศาลที่ต้องใช้ในแต่ละปีนั้น เงินทุนที่จะมาจากกลุ่มธนาคารถือเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด คือมีขนาดถึง 2-2.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์จากเงินลงทุนทั้งหมด ด้วยการที่ธนาคารเป็นตัวกลางหลักในการจัดสรรเงินทุนของระบบเศรษฐกิจ ธนาคารจึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวนี้อย่างจริงจังโดยคำนึงถึงการเติบโตอย่างยั่งยืน และดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และอยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี (ESG)

SCB Sustainability

ธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมจะเป็นกำลังสำคัญ ในการขับเคลื่อนประเทศและโลกไปสู่เป้าหมาย Net Zero ผ่านการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนแก่ลูกค้าทุกระดับ รวมทั้งร่วมสนับสนุนในการให้ความรู้แก่องค์กรต่าง ๆ ที่สนใจในเรื่อง Net Zero

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2023 ธนาคารไทยพาณิชได้สนับสนุนการเงินเพื่อความยั่งยืนไปแล้วถึง 52,000 ล้านบาท ครอบคลุมการสนับสนุนลูกค้าทุกกลุ่มของธนาคาร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำในกว่า 11 อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ อาทิ การท่องเที่ยว พลังงาน และภาคการผลิต เป็นต้น โดยมุ่งเน้นโครงการเปลี่ยนผ่านสู่ไฟฟ้าพลังงานทางเลือกจำนวน 12,600 ล้านบาท กลุ่มธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้ากว่า 10,000 ล้านบาท การสนับสนุนการเงินที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนกว่า 26,100 ล้านบาท รวมทั้งธุรกิจ SME SSME และลูกค้าบุคคลอีกกว่า 3,000 ล้านบาท

เป้าหมายการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ Net Zero จากการดำเนินงานภายในของธนาคารภายในปี 2030 และ จากการให้สินเชื่อและการลงทุนภายในปี 2050 โดยมุ่งเน้นการนำพาองค์กร ลูกค้า และสังคม ให้ก้าวไปข้างหน้า สร้างการเติบโตทางธุรกิจและเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน มีแนวทางปฏิบัติใน 3 ส่วน

  1. ปรับการดำเนินงานภายในองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี 2030 ธนาคารได้เริ่มทยอยปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานในอาคารสำนักงานใหญ่เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ ลดการใช้พลังงานในอาคาร 10-15% ด้วยการเพิ่มแสงสว่างในอาคาร การเปลี่ยนหลอดไฟเป็น LED และระบบถ่ายเทความร้อนในอาคาร เตรียมการติดตั้ง Solar Cell ที่สำนักงานใหญ่ เปลี่ยนเป็นเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R32 ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่า 3,000 เครื่อง รวมถึงเปลี่ยนการใช้รถยนต์เป็นรถ EV 100% โดยคาดว่าการดำเนินการทั้งหมดจะสำเร็จ 100% ภายในปี 2028
  1. สนับสนุนผลิตภัณฑ์การเงินยั่งยืนให้ลูกค้ามุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2050 ธนาคารต้องการมีส่วนในการผลักดันให้ลูกค้าทุกกลุ่มเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ Low Carbon Economy เพื่อเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางของ Net Zero ร่วมกัน ผ่านการสนับสนุนการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม โดยมีเป้าหมายการให้สินเชื่อและการลงทุนจำนวน 100,000 ล้านบาทภายในปี 2025 พร้อมด้วยการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับองค์กรให้แก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าทุกกลุ่มสามารถปรับตัวรองรับกับโลกใหม่ที่ยั่งยืนไปด้วยกันได้
  2. ผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมโดยรวม ธนาคารดำเนินการให้ความรู้แก่ลูกค้าธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และ SME เพื่อปรับตัวสู่ความยั่งยืน โดยปีนี้มีลูกค้าสนใจเข้าร่วมกว่า 500 บริษัท ดำเนินโครงการการช่วยเหลือสังคมเพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมกว่า 14 โครงการหลัก อาทิ โครงการปลูกและอนุรักษ์ป่า โครงการจัดหาแหล่งน้ำ การพัฒนาชีวิตเยาวชน และชุมชนที่ดำเนินการมามากกว่า 30 ปี  มุ่งเน้นผลักดันให้ภาคธุรกิจ และประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเพื่อให้คนไทยเห็นภาพตรงกันว่าเราต้องเคลื่อนเรื่องนี้ไปด้วยกัน

ธนาคารไทยพาณิชย์ พร้อมจะเป็นกำลังสำคัญ ผ่านการทำหน้าที่ของสถาบันการเงินหลักของประเทศด้วยความมุ่งมั่น และจะเป็นผู้นำในการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนแก่ลูกค้าทุกระดับ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศและโลกไปสู่เป้าหมาย Net Zero และการรับมือกับความเสี่ยงต่าง ๆ ตลอดจนร่วมสนับสนุนในการให้ความรู้แก่องค์กรต่างๆ ในการบูรณาการแนวทางความยั่งยืนให้เป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อให้ทุกคนสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง