รีเซต

คนแห่หาความหมาย 'เอกสิทธิ์ทางการทูต' หลังมีเด็ก 9 ขวบในคณะทูตติดเชื้อโควิด-19

คนแห่หาความหมาย 'เอกสิทธิ์ทางการทูต' หลังมีเด็ก 9 ขวบในคณะทูตติดเชื้อโควิด-19
TrueID
15 กรกฎาคม 2563 ( 10:20 )
229
คนแห่หาความหมาย 'เอกสิทธิ์ทางการทูต' หลังมีเด็ก 9 ขวบในคณะทูตติดเชื้อโควิด-19

 

จากเหตุการณ์เด็กหญิง 9 ขวบ ในคณะทูตที่กลับเข้าประเทศติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม โดยรัฐออกมาประกาศเมื่อ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนแตกตื่น และมีวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ ตามมาเรื่องการเข้า-ออกประเทศ เพราะหลังจากที่เดินทางเข้ามาในไทยและถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโควิดที่สนามบิน แต่กลับเลี่ยงการกักตัวในสถานเอกอัครราชทูตของตนซึ่งเป็นสถานที่กักกันที่รัฐกำหนด โดยอ้าง 'สิทธิทางการทูต' และออกไปพักที่คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แทน

 

เมื่อพูดถึง 'เอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันทางการทูต' (Privilege & Immunity) จากเรื่องที่เกิดขึ้น มีความหมายว่า สิทธิประโยชน์และความคุ้มกันจากการถูกบังคับตามกฎหมายบางประเภทที่รัฐผู้รับให้แก่คณะผู้แทนทางทูตและตัวแทนทางทูต และเจ้าพนักงานกงสุลของรัฐผู้ส่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะผู้แทนทางทูตและเจ้าพนักงานกงสุลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

โดย เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางทูตและกงสุลมีอนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับ ฉบับแรกคือ

 

  • อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ปี 2504

    ได้ระบุถึง "ความคุ้มกัน" เอาไว้ว่า สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ รวมทั้งสถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น และพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทนจะได้รับความคุ้มกันจากการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี หรือตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ (ข้อ 29) ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ตัวแทนทางการทูตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูตได้ ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกันทั้งมวล และในส่วน "เอกสิทธิ์" ข้อ 34 ตัวแทนทางทูตจะได้รับยกเว้นจากค่าติดพันและภาษีทั้งปวงของชาติ ของท้องถิ่น หรือ ของเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน ยกเว้นค่าติดพันและภาษีบางประเภท เช่น ภาษีทางอ้อมชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาสินค้าหรือบริการแล้ว เป็นต้น

 

  • ฉบับที่สองคือ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ปี 2506 

    ได้ระบุถึง "ความคุ้มกัน" ว่า สถานที่ทางกงสุลจะถูกละเมิดมิได้ รวมทั้งสถานที่ทางกงสุลและเครื่องเรือน ทรัพย์สินและพาหนะของสถานทำการทางกงสุลจะได้รับความคุ้มกันจากการเรียกเกณฑ์ไม่ว่าในรูปแบบใด (ข้อ 31) และเจ้าพนักงานกงสุลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในระหว่างการดำเนินคดี เว้นแต่ในกรณีอาชญากรรมที่ร้ายแรง ในส่วนของด้าน "เอกสิทธิ์" ข้อ 49 เจ้าพนักงานกงสุลจะได้รับยกเว้นจากภาษีอากรทั้งปวงของชาติ ท้องถิ่น หรือเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน ยกเว้นภาษีบางประเภท เช่น ภาษีทางอ้อมชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาของสินค้าหรือบริการแล้ว เป็นต้น

 

โดยตำแหน่งที่ได้รับ 'เอกสิทธิ์ทางการทูต' คือ กลุ่มนักการทูตหรือเจ้าหน้าที่ทูต (Diplomat) มีดังนี้

  • เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)
  • อัครราชทูต (Minister)
  • อุปทูต (Chargé d’Affaires)
  • อัครราชทูตที่ปรึกษา (Minister Counsellor)
  • ที่ปรึกษา (Counsellor)
  • เลขานุการเอก (First Secretary)
  • เลขานุการโท (Second Secretary)
  • เลขานุการตรี (Third Secretary)
  • นายเวร (Attaché)
  • กงสุลใหญ่ (Consul General)
  • กงสุล (Consul)
  • รองกงสุล (Vice Consul)
  • กงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consul)

 

ข้อมูล : กฏหมายระหว่างประเทศ, กรุงเทพธุรกิจ    

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง