จีนเริ่มผลิต 'โพลีเมอร์' ย่อยสลายได้ ปล่อยคาร์บอนลดลง 65%
ปักกิ่ง, 21 ก.ย. (ซินหัว) -- เมื่อวันอังคาร (20 ก.ย.) สื่อทางการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน รายงานว่าผู้ประกอบธุรกิจเคมีจีนรายหนึ่งได้เริ่มผลิตโพลีไกลโคไลด์ (PGA) ซึ่งเป็นวัสดุเคมีที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราวร้อยละ 65
บริษัท อวี้หลิน เคมิคอล จำกัด ซึ่งอยู่ในเครือไชน่า เอ็นเนอร์จี อินเวสต์เมนต์ คอร์เปอเรชัน ในมณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เริ่มดำเนินงานสายการผลิตโพลีไกลโคไลด์ที่ใช้ถ่านหิน โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 50,000 ตันต่อปีโพลีไกลโคไลด์สามารถย่อยสลายได้อย่างไม่เป็นอันตรายด้วยจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อม อาทิ ดินและน้ำทะเล โดยสามารถนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์บรรจุอาหาร เช่น ถุงพลาสติกใช้แล้วทิ้ง กล่องอาหารกลางวัน และหลอดดูดน้ำนอกจากนั้นโพลีไกลโคไลด์ยังสามารถใช้ผลิตวัสดุสำหรับการใช้ประโยชน์จากน้ำมันและก๊าซ ตลอดจนไหมเย็บแผลผ่าตัดและวัสดุโครงเลี้ยงเซลล์กระดูกสำหรับวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับพลาสติกโพลีโอเลฟินแบบดั้งเดิม การผลิตโพลีไกลโคไลด์ที่ใช้ถ่านหินสามารถลดการใช้งานถ่านหินราวร้อยละ 50 ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราวร้อยละ 65 และเพิ่มมูลค่าเพิ่มเชิงอุตสาหกรรม 2 หรือ 3 เท่า ณ ต้นทุนการผลิตเดียวกัน