เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป โบรกคาดธปท.ลดดอกเบี้ย Q4/67
#FED #ทันหุ้น – บทวิเคราะห์ โดย บล.บัวหลวง
ตัวเลขเดือน มิ.ย. ส่วนใหญ่ลดลง MoM
ประเด็นสำคัญ
ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (PCI) ชะลอตัว 0.2% MoM (เทียบ 0.0% ในเดือนพ.ค.; ค่าเฉลี่ย 3 เดือนอยู่ที่ +0.4%)
ㆍ ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ปรับตัวขึ้น 0.6% MoM (หลังจากหดตัว 2.7% ในเดือนพ.ค.; ค่าเฉลี่ย 3 เดือนอยู่ที่ +0.6%)
ㆍ อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลอยู่ที่ 69% เพิ่มขึ้น 9.1% จาก 60% ในเดือนพ.ค. (ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลง3 ปีจากเดือนพ.ค.ไปเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 9.4%)
ㆍ การส่งออกหดตัว 5.4% MoM (เทียบการเติบโต 13% ในเดือนพ.ค.และ 4.6% ในไตรมาส 2/67) แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากขึ้นเป็น 1.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (จาก 647 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนพ.ค.) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน
เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลง MoM ในเดือนมิ.ย. เนื่องจากการส่งออกลดลง
การส่งออกสินค้าลดลง โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตร (เบื้องจากปัจจัยฤดูกาล) และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (เนื่องจากสต็อกยังคงสูง; ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่ 88.6ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือน) ผลผลิตทางการเกษตรลดลง 9% MoM และการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.1% MoM การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวเล็กน้อย แม้การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนจะเติบโต แต่ถูกกดดันด้วยการใช้จ่ายที่ลดลงในหมวดสินค้าคงทน โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ อย่างไรก็ตามการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเล็กน้อย จากยอดขายวัสดุก่อสร้างและเครื่องจักรกายในประเทศกลบผลกระทบจากยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่และการนำเข้าสินค้าทุนที่ลดลง
เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เศรษฐกิจไทยเริ่มแสดงสัญญาณการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หนุนจากการใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นและมาตรการกระตุ้นใหม่ๆ การเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 32%ในเดือนพ.ค.เป็น 37%ในเดือนมิ.ย. (เพิ่มขึ้น 4% MoM แม้ว่าจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 3ปีของการเพิ่มขึ้นระหว่างเดือน พ.ค.ไปเดือนมิ.ย.ที่ 6.8%) และโครงการ digital wallet คาดจะเริ่มอย่างเร็วภายในเดือนก.ย. หรืออย่างช้าเดือนพ.ย. 2567ซึ่งจะหนุนการเติบโตของ GDP ราว 0.2-0.4%
เราคาดการที่ธปท.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยอาจเริ่มในช่วงปลายไตรมาส 4/67จะหนุนการลงทุนและการบริโภค นอกจากนี้ช่วงไฮซีซั่นของการท่องเที่ยวเริ่มในไตรมาส 4/67จะหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกขา เราคาดจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2567จะอยู่ที่ 36-38ล้านราย เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 28 ล้านรายในปี 2566