รีเซต

สรุป ความผิดและอัตราโทษ คนต่างด้าว หากฝ่าฝืนในประเทศไทย

สรุป ความผิดและอัตราโทษ คนต่างด้าว หากฝ่าฝืนในประเทศไทย
TrueID
8 กันยายน 2564 ( 10:24 )
584
สรุป ความผิดและอัตราโทษ คนต่างด้าว หากฝ่าฝืนในประเทศไทย

จากกรณี ด.ญ.พรศิริ วงศิลารุ่ง หรือ น้องจีน่า เด็กวัย 1 ขวบ 11 เดือน ที่หายตัวไปช่วงเย็นวันที่ 5 ก.ย. ขณะเล่นกับแมวอยู่หน้าบ้าน ในพื้นที่ บ้านห้วยฝักดาบ ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยเจ้าหน้าที่ระดมปูพรมตามหาตัวแต่ยังไม่พบ เนื่องจากอุปสรรคสำคัญคือสภาพพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่กลางหุบเขา ตามบ้านเรือนมีที่รกร้างต้นไม้ และป่าทึบ ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

 

ล่าสุดวันที่ 8 ก.ย.2564 พล.ต.ต.พิเชษฐ์ จีระนันตสิน ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่ พร้อมด้วย พ.ต.อ.สุคนธ์ ศรีอรุณ รอง ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่, นายอรรถวุฒิ พึ่งเนียม นายอำเภอแม่แตง และ พ.ต.อ.ณฐภณ แก้วกำเนิด ผกก.สภ.แม่แตง นำกำลังลงพื้นที่นำตัว นายเสี่ยว แรงงานชาวเมียนมา และเป็นผู้ต้องสงสัย ไปชี้จุดนำตัว น้องจีน่า ไปปล่อยบนดอย

 

จากความผิดเบื้องต้นจะมีโทษอย่างไรตามกฏหมายประเทศไทย trueID รวบรวมลักษณะความผิดและอัตราโทษ ที่เกี่ยวกับคนต่างด้าวต่างๆมาให้ทราบแล้ว

 

 

ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522

 

1. สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522

2. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่3) พ.ศ.2542

3. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 พ.ศ.2561

4. กฎกระทรวง ฉบับที่ 14(พ.ศ.2535) ออกตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522

5. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ

6. คำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่ 1/2558 เรื่อง การไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักร

7.บันทึกคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522(ฉบับที่5)พ.ศ.2541 เรื่องมอบหมายให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเปรียบเทียบ

 

 

สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522

 

คำนิยามศัพท์ (มาตรา 4)

คนต่างด้าว” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

เจ้าของพาหนะ” หมายความรวมถึงตัวแทนเจ้าของ ผู้เช่า ตัวแทนผู้เช่า ผู้ครอบครอง หรือตัวแทนผู้ครอบครองพาหนะ แล้วแต่กรณี

ผู้ควบคุมพาหนะ” หมายความว่า นายเรือหรือผู้รับผิดชอบในการควบคุมพาหนะ

คนประจำพาหนะ”หมายความว่า ผู้ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ประจำหรือทำงานประจำพาหนะ และเพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้หมายความรวมถึงผู้ควบคุมพาหนะซึ่งขับขี่พาหนะโดยไม่มีคนประจำพาหนะ

คนเข้าเมือง”หมายความว่า คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร

เจ้าบ้าน” หมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใด ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร

 

 

ลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร

 

มาตรา 12

  1. ไม่มีหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอันถูกต้องและสมบูรณ์อยู่หรือมีแต่มิได้รับการตรวจลงตราฯจากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยฯ
  2. ไม่มีปัจจัยยังชีพตามสมควรแก่กรณีที่เข้ามาในราชอาณาจักร
  3. เข้ามาเพื่อทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการคนต่างด้าว
  4. วิกลจริตหรือมีโรคอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎกระทรวง
  5. ยังมิได้ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ หรือฉีดวัคซีน
  6. เคยได้รับโทษจำคุก
  7. มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคมหรือถูกรัฐบาลต่างประเทศออกหมายจับ
  8. มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเข้ามาเพื่อค้าประเวณี การค้าหญิงหรือเด็ก ค้ายาเสพติด ลักลอบหนีภาษีศุลกากร
  9. ไม่มีเงินติดตัวหรือไม่มีประกันตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  10. รัฐมนตรีไม่อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามาตรา 16
  11. ถูกรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศเนรเทศ หรือเพิกถอนสิทธิการอยู่ในราชอาณาจักร

 

 

ความผิดและอัตราโทษตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่สำคัญ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท

 

 

ข้อมูล : สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง , ข่าวสด

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง