นักวิทย์จีนพบพืชบกใช้ 'โปรตีนสำคัญ' ตรวจจับไนเตรต
ปักกิ่ง, 26 ก.ย. (ซินหัว) -- วารสารเนเจอร์ (Nature) เผยแพร่ผลการศึกษาฉบับหนึ่ง ซึ่งระบุว่าทีมนักวิจัยจีนร่วมกับทีมนักวิจัยต่างชาติได้ค้นพบโปรตีนสำคัญตัวหนึ่งที่มีบทบาทเป็นตัวตรวจจับไนเตรตแบบปฐมภูมิของพืชบก
ไนเตรตเป็นสารอาหารและโมเลกุลส่งสัญญาณที่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช โดยพืชสัมผัสไนเตรตภายในเซลล์เพื่อปรับการตอบสนองต่อการสันดาปและการเติบโต ขณะเดียวกันไนเตรตเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มผลผลิตในการผลิตทางการเกษตรคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และวนศาสตร์ตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ร่วมกับคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยโตเกียว พบว่าโปรตีนเอ็นแอลพี7 (NLP7) ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวเปิดปิดสัญญาณไนเตรตและตัวรับไนเตรตนอกจากนั้นคณะนักวิจัยยังพัฒนาตัวรับไนเตรตเรืองแสง เพื่อสังเกตระดับและการเปลี่ยนแปลงของไนเตรตในพืช ณ ระดับเซลล์มหาวิทยาลัยเกษตรฯ ระบุว่าการศึกษาข้างต้นแสดงกลไกควบคุมที่พืชสังเคราะห์แสงใช้กระตุ้นเครือข่ายการถ่ายโอนสัญญาณของพืชและการตอบสนองการเติบโตด้วยการตรวจจับไนเตรตทั้งนี้ การศึกษาข้างต้นจะให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่เพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนในพืชผล ลดการใช้ปุ๋ยและพลังงาน บรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน