รีเซต

ต้องได้อะไรบ้าง? สิทธิประโยชน์เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีลูกจ้างติดเชื้อโควิด-19

ต้องได้อะไรบ้าง? สิทธิประโยชน์เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีลูกจ้างติดเชื้อโควิด-19
TrueID
18 สิงหาคม 2564 ( 10:32 )
74
ต้องได้อะไรบ้าง? สิทธิประโยชน์เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีลูกจ้างติดเชื้อโควิด-19

Healthy Thailand เพื่อผู้ประกันตน ประกันสังคม ชี้แจงสิทธิประโยชน์เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีลูกจ้างติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) สามารถรับเงินขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง

 

จากการเผยแพร่ของ สำนักงานประกันสังคม โดย นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการดูแล ผู้ประกันตนที่ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 หรือกลุ่มอาการสีเขียว แยกกักตัวที่บ้าน หรือ โฮมไอโซเลชั่น (Home Isolation) พร้อมแนะนําการขอสิทธิประโยชน์และเงินทดแทนการขาดรายได้ จากกองทุนประกันสังคม ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อสูงอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละวัน ทําให้มีผู้ป่วยที่รอเตียงหรือผู้ป่วยตกค้างในชุมชนจํานวนมาก และอยู่ในการดูแลรักษาในที่พักอาศัย รอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล

 

กรณีที่ผู้ประกันตนเป็นผู้ป่วยโฮมไอโซเลชัน คือ ได้รับการ วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 แล้ว และแพทย์ผู้ดูแลรักษาของ สถานพยาบาลพิจารณาอาการเจ็บป่วยแล้ว เห็นควรให้ผู้ประกันตนรายนั้น สามารถแยกกักตัวในที่พักได้ อย่างเหมาะสม และปลอดภัย โดยได้รับความยินยอมจากผู้ประกันตนและเจ้าของสถานที่ และรวมถึงกรณีที่ ผู้ประกันตนรักษาในสถานพยาบาล และกลับมาแยกกักตัวในที่พักต่อจนครบกําหนด ทั้งนี้ เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด

 

อย่างไรก็ตามสํานักงานประกันสังคมจะจ่ายบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาลและแพทย์ผู้ดูแล รักษาพิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดยใช้หลักเกณฑ์การจ่ายประเภทผู้ป่วยใน ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ดังนี้

 

  1. ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  2. ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตนที่ป่วย โดยเป็นค่าใช้จ่ายรวมค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามประเมินอาการ และการให้คําปรึกษา เหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาทต่อวัน ไม่เกิน 14 วัน
  3. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จําเป็น เช่น ค่าปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่นๆที่จําเป็น ค่าชุด PPE สําหรับบุคลากรทางการแพทย์
  4. ค่ายาที่ใช้รักษา
  5. ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล
  6. ค่าบริการ X-ray ทรวงอก

 

นางสาวลัดดา กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้เมื่อผู้ประกันตนกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) สําหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษา แบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation : HI) หรือการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สําหรับคนในชุมชน (Community Isolation : CI) หรือการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนามในโรงงานหรือสถานประกอบการ (Factory Accommodation Isolation : FAI)

 

สามารถขอใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลที่รับผิดชอบ การรักษาได้ หรือบันทึกภาพหน้าจอจาก Application Line หรือโปรแกรมอื่นใดที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร กับสถานพยาบาลที่รับการรักษาผู้ประกันตนในสถานที่กักตัว หรือสถานที่ดูแลรักษา (HI,CI,FAI) และสําเนาเวชระเบียนที่ได้จากการบันทึกหน้าจอจาก Application Line หรือโปรแกรมอื่นๆ โดยมี รายละเอียดระบุวันที่เริ่มรักษา จนสิ้นสุดการรักษา รวมไปถึงการให้หยุดพักรักษาตัวต่อเพื่อใช้ประกอบการ เบิกเงินค่าทดแทนการขาดรายได้จากสํานักงานประกันสังคม

 

โฆษก สปส. กล่าวในตอนท้ายว่า สําหรับเงื่อนไขการเบิกค่าทดแทนการขาดรายได้นั้น ผู้ประกันตน ต้องมีการนําส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนใช้สิทธิ และพิจารณาตามกฎหมายคุ้มครอง แรงงาน คือกรณีผู้ประกันตนลาป่วย 30 วันแรกรับค่าจ้างจากนายจ้าง

 

หากมีความจําเป็นต้องหยุดพักรักษาตัว นานเกินกว่า 30 วัน ผู้ประกันตนสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสํานักงานประกันสังคมได้ ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยเป็นต้นไป ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง (จ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วัน 1 ปีปฏิทิน แต่ไม่เกิน 180 วัน)

 

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถยื่นเบิกขาดรายได้ภายใน 2 ปี เมื่อรักษาหายจากอาการเจ็บป่วยแล้ว ให้ติดต่อขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่สํานักงานประกันสังคมได้ทุกแห่งทั่วประเทศตามที่ท่านสะดวก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

 

ข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม

ภาพโดย Mohammad Fahim จาก Pixabay 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง