รีเซต

หมอธีระ มองภาพอนาคตถัดจากนี้ไปจะขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก?

หมอธีระ มองภาพอนาคตถัดจากนี้ไปจะขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก?
TNN ช่อง16
23 เมษายน 2565 ( 08:38 )
94
หมอธีระ มองภาพอนาคตถัดจากนี้ไปจะขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก?

ข่าววันนี้ ( 23 เม.ย.65) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด ผ่านทางเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat โดยระบุว่า

 

"23 เมษายน 2565 ทะลุ 508 ล้านไปแล้ว

 

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 656,588 คน ตายเพิ่ม 2,366 คน รวมแล้วติดไปรวม 508,404,105 คน เสียชีวิตรวม 6,238,724 คน

 

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ อิตาลี และออสเตรเลีย

 

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 80.11 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 80.05

 

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 28.31 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 24.97 

 

...สถานการณ์ระบาดของไทย

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก ทั้งนี้จำนวนคนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 21.65% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

 

...มองแนวโน้มรายสัปดาห์

ข้อมูลจาก Worldometer ชี้ให้เห็นว่าทั่วโลกจำนวนติดเชื้อใหม่ลดลง 27% และจำนวนเสียชีวิตลดลง 22%

 

ในขณะที่ทวีปเอเชียนั้นจำนวนติดเชื้อใหม่ลดลง 34% และจำนวนเสียชีวิตลดลง 26%

 

ส่วนไทยเรานั้นจำนวนติดเชื้อใหม่ ไม่รวม ATK ลดลง 19% (โดยหากรวม ATK ไปด้วยจะพบว่าลดลง 11.65%) แต่กลับมีจำนวนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นสูงถึง 22% จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะดูจากทั้งจำนวนติดเชื้อใหม่และจำนวนเสียชีวิต เรายังมีสถานการณ์ระบาดที่สวนกระแสโลก

 

เน้นย้ำให้เราทราบสถานการณ์จริง และมีสติในการใช้ชีวิต ป้องกันตัวให้ดี

 

...มองภาพอนาคต

หากพิจารณาตามข้อมูลทางการแพทย์ปัจจุบัน และลองวิเคราะห์บนสมมติฐาน 3 ข้อคือ สายพันธุ์ Omicron ครองการระบาดไปเรื่อยๆ โดยแตกหน่อต่อยอดเป็นสายพันธุ์ย่อย มีอิทธิฤทธิ์ไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก รวมถึงเรื่องวัคซีนและยาที่มีนั้น ก็มีประสิทธิภาพเพียงระดับหนึ่ง ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศว่าจะจัดซื้อจัดหาของที่มีคุณภาพมาให้ประชาชนของตนเองอย่างเพียงพอและทันเวลาหรือไม่ กระแสของประเทศต่างๆ พยายามเปิดประเทศ เสรีการใช้ชีวิต เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 

 

อนาคตถัดจากนี้ไปจะขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลักคือ

-หนึ่ง ลักษณะการระบาดของแต่ละประเทศ ว่าจะคุมได้เพียงใด หรือจะปล่อยให้ติดกันไปตามมีตามเกิด

 

-สอง Long COVID ซึ่งตอนนี้ทั่วโลกต่างชัดเจนว่าคือของจริง และทำให้เกิดปัญหาระยะยาว แต่รอความรู้อีกเรื่องว่า การติดเชื้อ Omicron นั้นจะทำให้เกิดภาวะ Long COVID มากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ

 

ฉากทัศน์ที่จะเกิดขึ้นจึงแปรเปลี่ยนไปตามสองปัจจัยข้างต้น คงจะดีมาก หากคุมการระบาดในประเทศได้ดี มีการติดเชื้อน้อย และ Long COVID จาก Omicron น้อยกว่าสายพันธุ์เดิมๆ 

 

แต่หากติดเชื้อกันไปเรื่อยๆ จำนวนมาก และ Long COVID จาก Omicron นั้นเท่ากับหรือสูงกว่าสายพันธุ์เดิมๆ ก็คงจะทำให้ระยะยาว ประชาชนในสังคมนั้นมีสถานะสุขภาพไม่ดี 

 

และส่งผลกระทบต่อผลิตภาพและค่าใช้จ่ายต่างๆในระยะยาว ทางเลือกที่เราทำได้คือ ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ เป็นกิจวัตร ใส่หน้ากากนะครับ สำคัญมาก"

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง