รีเซต

EU เตรียมงัด "ACI" เปิดหน้าสู้ โต้คำขู่ภาษีทรัมป์

EU เตรียมงัด "ACI" เปิดหน้าสู้ โต้คำขู่ภาษีทรัมป์
TNN ช่อง16
23 กรกฎาคม 2568 ( 10:02 )
10

ทั้งนี้ เครื่องมือ ACI ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็น "ไม้ตาย" ที่มีไว้เพื่อป้องปรามเป็นหลัก มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปลายปี 2566 แต่ยังไม่เคยถูกนำมาใช้จริง มาตรการนี้จะเปิดทางให้ EU สามารถโจมตีภาคส่วนสำคัญทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้อย่างครอบคลุม เกินกว่าแค่การใช้มาตรการทางภาษีตอบโต้

ACI ให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่ EU ในการเลือกใช้มาตรการหยุดยั้งพฤติกรรมบีบบังคับ โดยมาตรการเด่น ๆ ประกอบด้วย

การโจมตีภาคบริการและดิจิทัล: พุ่งเป้าไปที่ภาคบริการที่สหรัฐฯ ได้ดุลการค้ากับ EU อยู่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างอะเมซอน (Amazon), ไมโครซอฟท์ (Microsoft), เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) หรืออูเบอร์ (Uber)



การกีดกันจากการประมูลงานภาครัฐ: สำหรับโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐซึ่งมีมูลค่ามหาศาลปีละ 2 ล้านล้านยูโรนั้น EU มีทางเลือก 2 แนวทางคือ 1) ตัดสิทธิ์ทันที หากมีสินค้าหรือบริการจากสหรัฐฯ เป็นส่วนประกอบเกิน 50% ของสัญญา หรือ 2) ใช้วิธีปรับลดคะแนน เพื่อให้ข้อเสนอราคาจากฝั่งสหรัฐฯ เสียเปรียบคู่แข่ง

การจำกัดการลงทุน: สามารถออกมาตรการจำกัดการลงทุนโดยตรง (FDI) จากสหรัฐฯ

การจำกัดการนำเข้า: ผ่านการกำหนดโควตาหรือเงื่อนไขการออกใบอนุญาตที่เข้มงวดขึ้น


มาตรการอื่น ๆ: รวมถึงการจำกัดการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การจำกัดการเข้าถึงตลาดบริการทางการเงิน และการจำกัดความสามารถในการจำหน่ายสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิดใน EU

อย่างไรก็ดี การเปิดใช้มาตรการ ACI มีขั้นตอนที่ยืดเยื้อและซับซ้อน โดยคณะกรรมาธิการยุโรปจะทำการตรวจสอบว่ามีกรณีการบีบบังคับเกิดขึ้นจริงหรือไม่ (สูงสุด 4 เดือน) หากพบว่ามีการบีบบังคับจริง จะต้องเสนอเรื่องให้ชาติสมาชิกลงมติรับรองด้วยเสียงข้างมากแบบพิเศษ (qualified majority) ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เข้มงวดและผ่านได้ยากกว่าการใช้มาตรการภาษีตอบโต้ทั่วไป (8-10 สัปดาห์) หลังการรับรอง คณะกรรมาธิการฯ จะพยายามเจรจาทางการทูตก่อน หากล้มเหลว จึงจะเสนอมาตรการตอบโต้ให้ชาติสมาชิกโหวตอีกครั้ง (สูงสุด 6 เดือน) และมาตรการจะมีผลบังคับใช้ภายใน 3 เดือนหลังจากนั้น

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง