รีเซต

สทนช.คุมระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ไม่เกิน 2,000 ลบ.ม./วินาที

สทนช.คุมระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา  ไม่เกิน 2,000 ลบ.ม./วินาที
TNN ช่อง16
5 กันยายน 2567 ( 12:04 )
9
สทนช.คุมระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา  ไม่เกิน 2,000 ลบ.ม./วินาที

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมหน่วยบริหารจัดการน้ำ ครั้งที่ 6/2567  ตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายงานการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 


เลขาธิการ สทนช. กล่าวถึงความคืบหน้าการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ว่า ขณะนี้มวลน้ำจากสุโขทัยและนครสวรรค์ไหลลงมาอยู่ที่อัตรา 1,700-1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้อัตราระบายน้ำออกจากเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทั้งนี้หากมีฝนมาเติม จะมีการพิจารณาเพิ่มการระบายน้ำในเขื่อนเจ้าพระยาในวันนี้ และเตรียมพร้อมมาตรการรับมือสถานการณ์น้ำหลาก ทั้งการเสริมคันดินในพื้นที่ฟันหลอ  การเตรียมสถานที่พักพิง กรณีระดับน้ำเพิ่มสูงที่ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ และในด้านการเตรียมการช่วยเหลืออพยพ 


ส่วนด้านการควบคุมปริมาณน้ำ จะควบคุมปริมาณน้ำผ่านจังหวัดสุโขทัยให้อยู่ที่ 460 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่มวลน้ำผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จะควบคุมการปริมาณน้ำไม่ให้เกิน 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หากเกินจะตัดยอดน้ำเข้าพื้นที่รับน้ำและบึงบอระเพ็ด  ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยา จะควบคุมปริมาณน้ำให้ไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หากเกินจะพิจารณาผันน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำและเข้าระบบชลประทานฝั่งตะวันตกและตะวันออกที่สามารถรองรับได้ในห้วงเวลานั้น และจุดบางไทรจะควบคุมปริมาณน้ำเกิน 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หากเกินก็จะมีการพิจารณาผันน้ำให้ปริมาณน้ำผ่านทุ่งรับน้ำฝั่งตะวันตก สามารถรองรับน้ำได้กว่า 800 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังได้เตรียมพื้นที่รับน้ำในส่วนของบึงบอระเพ็ด  เพื่อที่จะตัดยอดน้ำในลุ่มแม่น้ำน่านในช่วงวันที่ 15 กันยายน ที่คาดการณ์ว่าจะมีน้ำเพิ่มเติมลงมาเอาไว้แล้ว


ด้านการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำหลากในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทางกรมชลประทาน ได้มีการตรวจสอบอาคารชลประทานให้มีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง จำนวน 1,227 แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนของผนังกั้นน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาพร้อมใช้งานระยะความยาว 1,907 กิโลเมตร ได้มีการแก้ไขปัญหาปรับปรุงในส่วนที่ชำรุดเสียหายเรียบร้อยหมดแล้ว รวมถึงได้มีการทำแทนประชาคมสร้างการมีส่วนร่วมเตรียมความพร้อมเข้าพื้นที่การเกษตร โดยได้มีหนังสือเชิญไปยังกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเก็บเกี่ยวซึ่งขณะนี้ได้เก็บเกี่ยวแล้วเสร็จเกือบทั้งหมดแล้ว


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง