รีเซต

ค่าเงินบาทอ่อนสุดในรอบ 16 ปี แตะ 37 บาท เช็กเงินบาทอ่อนค่า ใครได้-ใครเสีย ประโยชน์

ค่าเงินบาทอ่อนสุดในรอบ 16 ปี แตะ 37 บาท เช็กเงินบาทอ่อนค่า ใครได้-ใครเสีย ประโยชน์
Ingonn
22 กันยายน 2565 ( 09:56 )
137

เช็ก ค่าเงินบาท วันนี้ ค่าเงินบาทอ่อนสุดในรอบ 16 ปี แตะอยู่ที่ระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับดอกเบี้ย ค่าเงินหยวนปรับอ่อนค่า ซึ่งสถานการณ์เงินบาทอ่อน จะมีผลต่อประชาชนที่ต้องซื้อสินค้าราคาแพงขึ้น แต่ขณะเดียวกันภาคธุรกิจ ก็สามารถได้รับประโยชน์จากชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยว ใช้จ่ายในประเทศ

 

โดยกระทรวงการคลัง จะมีการนัดหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อน พร้อมระบุว่า หากจะให้ ค่าเงินบาท ลงมาอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์นั้น ไม่สามารถกำหนดได้ ต้องเป็นไปตามกลไกตลาด เพราะอ่อนค่าไปด้านหนึ่งก็ได้ประโยชน์ แต่อีกด้านก็ไม่ได้ประโยชน์ 

 

สาเหตุ "ค่าเงินบาทอ่อน" สุดในรอบ 16 ปี

ค่าเงินบาทอ่อน เป็นผลจากปัจจัยต่างประเทศทั้งจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าเดิม หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูง และ risk sentiment ของค่าเงินในกลุ่ม EM Asia ที่ปรับแย่ลงหลังค่าเงินหยวนปรับอ่อนค่าขึ้นเหนือระดับ 7 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. รวมถึงยังมีปัจจัยเฉพาะของไทยจากราคาทองคำที่ปรับลดลง ส่งผลให้มีแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากกลุ่มบริษัททองคำเพิ่มขึ้น

 

นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่องของดอกเบี้ยเฟด และความเป็นไปของค่าเงินหยวนแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญต้องจับตา คือทิศทางเศรษฐกิจโลกที่จะกระทบมายังเศรษฐกิจไทย และอาจกดดันให้เงินบาทยิ่งอ่อนค่าเพิ่มไปอีกได้ โดยธนาคารโลก (World Bank) ระบุว่าเศรษฐกิจโลกอาจกำลังเข้าใกล้สู่ภาวะถดถอย (Recession) ในปีหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อาทิ สหรัฐ จีน และสหภาพยุโรป (อียู) ได้ชะลอตัวลงอย่างรุนแรง บวกกับธนาคารกลางทั่วโลกต่างทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยพร้อมกันเพื่อสกัดเงินเฟ้อให้อ่อนตัวลง

 

ใครได้ประโยชน์จาก "ค่าเงินบาทอ่อน"

  1. กลุ่มผู้ส่งออก เพราะมีรายได้เป็นเงินสกุลต่างประเทศ สามารถแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
  2. คนทํางานในต่างประเทศ ที่มีรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศ สามารถเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
  3. ธุรกิจท่องเที่ยวที่รับเงินสกุลต่างประเทศ จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเมื่อแลกกลับมาเป็นเงินบาท

    

ใครได้เสียประโยชน์จาก "ค่าเงินบาทอ่อน"

  1. กลุ่มผู้นําเข้า ที่ต้นทุนการนําเข้าสินค้าจะสูงขึ้น เพราะราคาสินค้าจากต่างประเทศแพงขึ้น
  2. ผู้ลงทุน ที่ต้องนําเข้าสินค้าต้นทุนแพงขึ้น เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ
  3. ประชาชนต้องซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศแพงขึ้น
  4. ผู้ที่มีหนี้เป็นสกุลเงินต่างประเทศ จะมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น เพราะใช้เงินบาทมากขึ้นในการชําระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ

 

ค่าเงินบาทอ่อน เศรษฐกิจไทย จะเป็นอย่างไร

ประเทศไทยอาจยังมีมีความหวังที่จะผลักดันให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าได้ จากการท่องเที่ยวในช่วงท้ายปีที่เหลือ 4 เดือน หลังจากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) คาดการณ์ว่าภายในปีนี้ จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยราว 10 ล้านคน

 

ทั้งนี้ ภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

 

 

ข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) , TNN

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง