รีเซต

จีนเตรียมสร้างสถานวิจัย 'พลังงานฟิวชัน'

จีนเตรียมสร้างสถานวิจัย 'พลังงานฟิวชัน'
Xinhua
22 ธันวาคม 2564 ( 01:26 )
64
จีนเตรียมสร้างสถานวิจัย 'พลังงานฟิวชัน'

เหอเฝย, 21 ธ.ค. (ซินหัว) -- จีนเดินหน้าก่อสร้างสถานวิจัยเพื่อบ่มเพาะเทคโนโลยีหลักต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตพลังงานฟิวชันที่ให้พลังงานแก่ดวงอาทิตย์

 

สถานวิจัยที่อยู่ระหว่างก่อสร้างดังกล่าว มีชื่อว่า "สถานวิจัยเทคโนโลยีฟิวชัน" (CRAFT) เป็นแพลตฟอร์มสำหรับวิศวกรในการพัฒนาและทดสอบส่วนประกอบหลักของเตาปฏิกรณ์พลังงานฟิวชัน

 

สถาบันฟิสิกส์พลาสมา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (ASIPP) คาดการณ์ว่าสถานวิจัยฯ จะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณปี 2024 โดยปัจจุบันจีนทำการออกแบบทางวิศวกรรมของเตาปฏิกรณ์ทดสอบพลังงานฟิวชันเสร็จแล้ว

 

การสร้างเตาปฏิกรณ์พลังงานฟิวชันเป็นความมุ่งมั่นทางวิทยาศาสตร์ครั้งใหม่ของจีน ขณะเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค (EAST) ของประเทศกำลังยกระดับการทดลองให้ดียิ่งขึ้น

 

เตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมคอาศัยวิธีการที่เรียกว่าฟิวชันกักขังแม่เหล็ก (magnetic confinement fusion) ซึ่งใช้สนามแม่เหล็กควบคุมเชื้อเพลิงฟิวชันในรูปแบบพลาสมา สำหรับการทดลองรอบใหม่ที่เริ่มต้นเดือนธันวาคมและจะใช้เวลาราว 6 เดือน

 

เฉียนจินผิง

 นักวิจัยจากสถาบันฯ ผู้จัดการการทดลองของเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค กล่าวว่าเตาปฏิกรณ์ฯ ระบายกระแสไฟฟ้ามากกว่า 100 ครั้งต่อวัน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น

 

ซ่งอวิ๋นเทา ผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวกับสำนักข่าวซินหัวว่าเขาและเพื่อนร่วมทีมมุ่งหวังจะรักษาประจุพลาสมาอุณหภูมิสูงไว้ให้ยาวนานขึ้น

 

เตาปฏิกรณ์รูปทรงโดนัท น้ำหนัก 400 ตัน หรือที่รู้จักในชื่อ "ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ของจีน" ได้สร้างสถิติโลกด้วยการปล่อยประจุพลาสมา ณ อุณหภูมิ 120 ล้านองศาเซลเซียส เป็นเวลา 101 วินาที ระหว่างการทดลองเมื่อวันที่ 28 พ.ค.

 

ความคืบหน้าดังกล่าวเป็นก้าวย่างสำคัญสำหรับการใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเหมือนดวงอาทิตย์ในการสร้างกระแสพลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพ

 

ทั้งนี้ พลังงานฟิวชันถือเป็นวิธีแก้ปัญหาทางพลังงานของโลก โดยคาดการณ์ว่าดิวเทอเรียมหรือไอโซโทปของไฮโดรเจนในน้ำทะเล 1 ลิตร สามารถผลิตพลังงานได้เทียบเท่าน้ำมันเบนซิน 300 ลิตร ผ่านปฏิกิริยาฟิวชัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง