ศึกษาพบ 'อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ-ไขมันสูง' ช่วยลดผลข้างเคียงเคมีบำบัด
เซี่ยงไฮ้, 1 ธ.ค. (ซินหัว) -- กลุ่มนักวิจัยจีนพบว่าอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำและไขมันสูงอาจช่วยบรรเทาผลกระทบไม่พึงประสงค์ในเลือดของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ผ่านวารสารไซเอนซ์ ทรานสเลชันนัล เมดิซิน (Science Translational Medicine) ในวันพฤหัสบดี (1 ธ.ค.) ระบุว่าอาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) ที่ให้แก่สัตว์ฟันแทะและมนุษย์สามารถจัดการกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำอันเกิดจากสารเคมีที่เป็นพิษได้เกล็ดเลือดเป็นเซลล์เม็ดเลือดลักษณะคล้ายแผ่นดิสก์ชนิดหนึ่งที่ทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อนจากบาดแผล โดยเกล็ดเลือดต่ำรุนแรงอาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากทำให้การผ่าตัดซับซ้อนและเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดอาหารคีโตเจนิก ซึ่งเป็นโภชนบำบัดที่ปลอดสารพิษและต้นทุนต่ำ ช่วยเพิ่มการผลิตคีโตน (ketone) ในตับซึ่งนำไปสู่การเผาผลาญในหลากหลายระดับ โดยก่อนหน้านี้พบว่าอาหารดังกล่าวยังสามารถรักษาโรคเบาหวานได้ด้วยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟู่ตั้นสังเกตว่าคีโตนที่ได้รับการกระตุ้นจากอาหารคีโตเจนิกสามารถกระตุ้นยีนที่สร้างเกล็ดเลือดได้ พวกเขาจึงให้อาหารคีโตเจนิกแก่หนูที่เป็นมะเร็งตับอ่อนหรือมะเร็งปอด และพบว่าพวกมันต้านทานต่อภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่เกิดจากเคมีบำบัดได้มากขึ้นคณะนักวิจัยพบผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันในการทดลองนำร่องขนาดเล็ก ซึ่งประกอบด้วยอาสาสมัครสุขภาพดี 5 คน และผู้ป่วย 17 คนจาก 28 คนที่ได้รับอาหารคีโตเจนิกในการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study)อย่างไรก็ดี คณะนักวิจัยกล่าวว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาทางคลินิกขนาดใหญ่ในอนาคต เพื่อตรวจสอบศักยภาพในการรักษาต่อไป