รีเซต

'อลงกรณ์' เร่ง 5 คลัสเตอร์อาหารอนาคต ผนึกสภาอุตฯ พณ. หอค้าไทย ลุยตลาดพืชศก.

'อลงกรณ์' เร่ง 5 คลัสเตอร์อาหารอนาคต ผนึกสภาอุตฯ พณ. หอค้าไทย ลุยตลาดพืชศก.
มติชน
23 ตุลาคม 2564 ( 18:09 )
56

 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.) กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ศักยภาพของไข่น้ำสำหรับเกษตรกรไทยและการส่งออก” ว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดนโยบายอาหารแห่งอนาคต(Future Food Policy)เป็นหนึ่งในนโยบายหลักเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆให้กับประเทศตลอดห่วงโซ่เกษตรและอาหารเป็นการตอบโจทย์ผู้บริโภคทั่วโลกในยุคนิวนอร์มอล (New Normal)

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภายใต้การขับเคลื่อนของ ‘กรกอ.’ เดินหน้าส่งเสริมพืชเศรษฐกิจตัวใหม่คือผำหรือไข่ผำหรือไข่น้ำ (Wolffia) ซึ่งเป็นพืชน้ำล้ำค่ามีฉายาว่า ‘คาเวียร์เขียว (Green Caviar)’ ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นสุดยอดซูเปอร์ฟู้ด (SuperFood) ของอาหารแห่งอนาคต(Future Food)โดยสนับสนุนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ


1.การวิจัยและพัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) และสวก.


2.การส่งเสริมการผลิต โดยกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมประมง สปก. วิสาหกิจชุมชน เกษตรแปลงใหญ่ และเอสเอ็มอี.เกษตร


3.การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างแบรนด์ใน5คลัสเตอร์อุตสาหกรรม


4.การตลาดออนไลน์และออฟไลน์ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศโดยกระทรวงพาณิชย์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าไทย


ตั้งเป้าเจาะตลาดมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 6 ล้านล้านบาท

 

“ผำเป็นพืชวัฒนธรรมและอาหารพื้นเมืองของไทยมาแต่โบราณกาล วันนี้กลายเป็นซูเปอร์ฟู้ดของโลกเพราะมีโภชนาการ(Nutrients)ครบถ้วนสูงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลกทั้งวิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ โปรตีน ประกอบกับเป็นพืชน้ำทรงกลมขนาดจิ๋วจึงได้ฉายาว่า Green Caviar นับเป็นพืชที่อยู่ในกลุ่มนโยบาย อาหารแห่งอนาคต (Future Food ) ซึ่งแบ่งเป็น 4 กลุ่มได้แก่ 1.อาหารอินทรีย์ 2.อาหารเสริมสุขภาพ 3.อาหารทางการแพทย์ 4. อาหารนวัตกรรมใหม่

 

เราส่งเสริมสนับสนุนโดยร่วมมือกับสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้ 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่


1. อุตสาหกรรมอาหาร และ เครื่องดื่ม
2. อุตสาหกรรมอาหารเสริม
3. อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และอาหารเสริม
4. อุตสาหกรรมยาและยาสัตว์
5. อุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์และบำรุงผิว


นับเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่มีอนาคตสามารถสร้างอาชีพใหม่ให้เกษตรกรฝ่าวิกฤติโควิด-19 เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ” นายอลงกรณ์ กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง