รีเซต

รู้จัก "พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดฯ" สำหรับบุคลากร สธ. รักษาโควิด19 คืออะไร พร้อมรายละเอียด

รู้จัก "พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดฯ" สำหรับบุคลากร สธ. รักษาโควิด19 คืออะไร พร้อมรายละเอียด
Ingonn
10 สิงหาคม 2564 ( 12:22 )
260
รู้จัก "พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดฯ" สำหรับบุคลากร สธ. รักษาโควิด19 คืออะไร พร้อมรายละเอียด

 

ในสถานการณ์ที่โรคโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วพื้นที่ในประเทศไทย ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัคร หรือหน่วยงานที่ทำงานด้านสาธารณสุขต่างๆ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่แน่นอนว่าในภาวะฉุกเฉิน ความจำกัดต่างๆ ย่อมมีเรื่องที่ดูแลได้ไม่ทั่วถึง จึงทำให้เกิด ร่าง พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดบุคลากรสาธารณสุขรักษาผู้ป่วยโควิด19 ที่เป็นกฎหมายคุ้มครองบุคลากรสาธารณสุขทุกคน ให้ได้รับการดูแล ปฏิบัติงานได้เต็มที่ ไม่ต้องกังวลถูกฟ้องร้อง

 


จากกระแสร่าง พ.ร.ก. ฉบับนี้ ในข้อหนึ่งของกฎหมายระบุว่า จะคุ้มครองบุคคล / คณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหาหรือบริหารวัคซีน ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของการคุ้มครอง 

 

 

วันนี้ TrueID จึงพาทุกคนเปิดรายละเอียด ร่าง พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดบุคลากรสาธารณสุขรักษาผู้ป่วยโควิด19 ว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

 

 

 

ร่าง พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดบุคลากรสาธารณสุขรักษาผู้ป่วยโควิด19


ร่าง พ.ร.ก. จำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาผู้ป่วยโควิด19 ว่า มาจากการระบาดของโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้เข้ามาดำเนินการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ จึงจำเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้อง มีสบส. เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งวิชาชีพ ทั้งกฎหมาย เพื่อให้มีกลไกคุ้มครองผู้ทำงานในช่วงโควิดระบาด

 

 

มีเจตนารมณ์ที่จะให้ผู้รับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดการ การจัดบริการทางแพทย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานโควิด-19 ทั้งหมด ได้ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ในภาวะวิกฤตด้านสาธารณสุขของประเทศ โดยไม่ต้องกังวลกับความรับผิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเจตนาดีของผู้ปฏิบัติงาน 

 

 

หากเป็นการกระทำโดยสุจริต ไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม บุคลากรดังกล่าวก็ไม่ต้องรับผิด รวมถึงหากผู้ที่ได้รับมอบหมายในการเจรจาหรือจัดหาวัคซีน มีเจตนาสุจริต การตัดสินใจดำเนินการเป็นไปตามหลักวิชาการที่สนับสนุนในขณะนั้น 

 

 

กฎหมายนี้จึงเห็นควรให้ความคุ้มครองบุคคลหรือคณะบุคคลเหล่านั้นด้วย ซึ่งเป็นขวัญกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 

 

 

ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนที่เตรียมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ยังไม่ได้มีการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด ซึ่งจะดำเนินการให้เร็วที่สุด และจะมีผลตั้งแต่มีพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในสถานการณ์โควิด

 

 


บุคคลที่ได้รับการคุ้มครองไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย

 

บุคลากรสาธารณสุข 


บุคลากรที่จะได้รับการคุ้มครอง คือ บุคลากรสาธารณสุข ทั้งผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบโรคศิลปะแขนงต่างๆ อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆที่มาช่วย บุคคลหรือคณะบุคคลต่างๆที่มีส่วนในการจัดหาวัสดุทางการแพทย์ วัคซีน เพราะมองว่า กระบวนการรักษามาตั้งแต่ต้นทางการจัดหาเครื่องมือเครื่องไม้ การเตรียมสถานที่ การรักษาด้วยยา การบำบัดต่อไป เป็นต้น ได้แก่

 

 

1.ผู้ประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ

 


2.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุข

 


3.ผู้ปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์

 


4.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

 


5.อาสาสมัครเฉพาะกิจ

 


6.บุคคลที่ได้รับการร้องขอจากผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อให้ปฏิบัติงานตามพระราชกำหนด

 


7.บุคคล / คณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหาหรือบริหารวัคซีนฉุกเฉิน

 

 

 

สถานพยาบาล


สถานพยาบาลที่จะได้รับการคุ้มครอง คือ สถานพยาบาลทั้งรัฐ และเอกชน การปฏิบัติงานนอกสถานที่ เช่น รพ.สนาม รถฉุกเฉินที่ต้องออกไปรับผู้ป่วย หรือการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่เฉพาะ เป็นต้น ได้แก่

 

 

1.สถานพยาบาลซึ่งดำเนินการโดยกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจสถาบันการศึกษาของรัฐ หน่วยงานอื่นของรัฐ สภากาชาดไทย

 


2.สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และให้หมายความ

 


3.สถานที่ซึ่งบุคลากรสาธารณสุขปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

 


ความรับผิดตามกฎหมาย


1.ความรับผิดทางแพ่ง

 


2.ความรับผิดทางอาญา

 


3.ความรับผิดทางทางวินัย

 


4.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

 

ภาพจาก เพจ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

 

 

 

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กล่าวว่า  ร่างพ.ร.ก.ดังกล่าว ยังเป็นเพียงร่างกฎหมาย ซึ่งทางคณะทำงานยินดีรับผิดความคิดเห็นจากทุกฝ่าย จากนั้นก็จะนำข้อคิดเห็นต่างๆมาปรับปรุงตัวร่าง และเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุขพิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป  จะดำเนินการให้เร็วที่สุด และจะมีผลตั้งแต่มีพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในสถานการณ์โควิด

 

 

เมื่อถามว่ากลุ่มบุคลากรใดจะไม่เข้าข่ายร่างกฎหมายนี้ นพ.ธเรศ กล่าวว่า ต้องไปดูตามเงื่อนไข แต่หลักๆต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างสุจริต ซึ่งหากมีใครร้องเรียนมาก็จะเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย และมีการตั้งทีมสอบสวน หากพบว่าไม่เข้าข่ายเงื่อนไขคุ้มครอง ก็จะไม่ได้อยู่ในกรอบของกฎหมายที่จะออกในอนาคต

 


แม้ประชาชน นักวิชาการบางส่วน ไม่เห็นด้วยในการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ในรูปแบบของ พ.ร.ก. เนื่องจากเนื้อหาไม่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญ หรือไม่มีความจำเป็นฉุกเฉินถึงขนาดหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนด้วยว่า เพื่อรักษาความปลอดภัยสาธารณะ เรื่องนี้จึงต้องติดตามต่อไปว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้ จะได้ถูกใช้จริงหรือไม่

 

 

 

 

ข้อมูลจาก hfocus , ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อ.คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , เพจ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ.จุฬาฯ ไม่เห็นด้วย พรก.นิรโทษบุคลากรสาธารณสุข ชี้ข้อ 7 สะท้อน ผู้เสนอร่างกม."มีเจตนาเช่นไร"

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง