รีเซต

นักไวรัสวิทยา ชี้ยังไม่มีสัญญาณ "โควิดโอไมครอน" กลายเป็นโรคประจำถิ่น

นักไวรัสวิทยา ชี้ยังไม่มีสัญญาณ "โควิดโอไมครอน" กลายเป็นโรคประจำถิ่น
TNN ช่อง16
7 ธันวาคม 2564 ( 15:29 )
82
นักไวรัสวิทยา ชี้ยังไม่มีสัญญาณ "โควิดโอไมครอน" กลายเป็นโรคประจำถิ่น

วันนี้ (7 ธ.ค.64) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อธิบายคำว่า "โรคประจำถิ่น" คือ เราอยู่กับโรคได้ โดยที่โรคไม่สร้างความเดือดร้อน หรือความเสียหาย 

ต่างจาก "โรคระบาด" ที่มีการติดเชื้อจนมีการเสียชีวิต ดังนั้นโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ที่หลายคนมองว่าจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น เพราะมีความรุนแรงน้อย ซึ่งเป็นข้อมูลในแอฟริกาใต้ ที่อาการของโรคดูรุนแรงน้อยในกลุ่มอายุน้อยเท่านั้น 

แต่ยังไม่มีข้อมูลในกลุ่มอายุมากว่าติดเชื้อแล้ว จะมีอาการหนักหรือเสียชีวิตเหมือนสายพันธุ์เดลตาหรือไม่ และแม้ว่าโอไมครอนจะมีมีโอกาสกลายเป็นสายพันธุ์ประจำถิ่น แต่เชื่อว่ายังไม่ใช่เวลานี้ 

เพราะยังมีข้อมูลเรื่องของการหนีภูมิคุ้มกันได้ดีมาก คนส่วนใหญ่ที่รับวัคซีนไปแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อโอไมครอนไม่มาก เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น 

ขณะเดียวกัน เมื่อติดสายพันธุ์โอไมครอนแล้ว ยังบอกไม่ได้ว่าสายพันธุ์เดลต้าจะหายไป จึงยังไม่มีข้อมูลว่า ถ้าคนส่วนใหญ่ติดโอไมครอน จะสามารถป้องกันตัวเองจากเดลตาได้ 

เพราะทั้งสองมีความแตกต่างกันมาก คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ ที่มีทั้ง H1N1 , H3N2 และ H5N1 เป็นต้น ซึ่งอยู่ในบริบทที่อยู่ด้วยกัน ไม่มีการมาแข่งกันจนยึดครองพื้นที่สายพันธุ์เดียว 

ดังนั้น สิ่งที่กังวลตอนนี้ คือ โอไมครอนกระจายเร็ว ความสามารถกระจายตัว 2 เท่า มีการแพร่ตัวเข้าไปในเซลล์ของร่างกายได้อย่างดี และสามารถผ่านเข้าร่างกายเราได้ง่ายโดยที่ไม่มีภูมิคุ้มกันมาป้องกัน 

ขณะที่ เดลต้ามีแค่ความสามารถในการแพร่กระจาย แต่วัคซีนสามารถชะลอการกระจายตัวได้ระดับหนึ่ง ถ้าหากโอไมครอนมีความรุนแรงกว่าเดลตาครึ่งหนึ่งจริง คนที่ติดโอไมครอนต่อไปนี้จะสูงกว่าเดลตามากกว่าครึ่ง ทำให้ความรุนแรงอาจมากกว่าเดลต้าได้ ดังนั้นจึงยังไม่ควรประมาทกับสายพันธุ์นี้


ภาพจาก AFP , Anan Jongkaewwattana

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง