รีเซต

คำต่อคำ "รองอธิบดีควบคุมโรค"ตอบทุกคำถามสถานการณ์โควิด-19

คำต่อคำ "รองอธิบดีควบคุมโรค"ตอบทุกคำถามสถานการณ์โควิด-19
TNN ช่อง16
5 เมษายน 2563 ( 18:47 )
75
คำต่อคำ "รองอธิบดีควบคุมโรค"ตอบทุกคำถามสถานการณ์โควิด-19

 

- สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19

 

นพ. ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า ผู้เสียชีวิตในประเทศ ยังคงเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง มีโรคประจำตัว และโรคเรื้อรัง โดยยอดผู้ป่วยติดเชื้อในวันนี้ (5เมษายน) 102 คน ครึ่งหนึ่งอยู่ในพื้นที่กทม. และปริมณฑล ส่วนจำนวนที่ลดลง มาจากในพื้นที่ กทม.และต่างจังหวัด แต่ถือว่ายังคงลดลงในจำนวนที่ช้าอยู่ จาก 120-130 ราย มาอยู่100 ราย ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

สำหรับผู้ติดเชื้อที่เพิ่ม ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เฝ้าระวังจากการสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้านี้ ทำให้กลุ่มนี้เมื่อป่วยแพทย์ สามารถนำเข้าสู่การรักษาได้เร็ว ส่วนผู้ป่วยรายใหม่ในวันนี้ เป็นกลุ่มที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ซึ่งถือว่ายังคงสูงอยู่ และจำเป็นต้องกักตัวเอง14 วัน เพื่อเฝ้าระวังโรค เพราะ เป็นช่วงการแพร่เชื้อสูงมาก

 

ส่วนตัว เห็นว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศ ยังไม่พอใจ และปริมาณการลดลงของผู้ป่วยติดเชื้อยังช้าอยู่ โดยเป้าหมาย ต้องการให้ผู้ป่วยลดลงไปเรื่อยๆ 

 

*****************

 

- การประเมินสถานการณ์ผู้ติดเชื้อกับมาตรการที่รัฐประกาศในกทม.ยังไม่น่าพอใจ

 

สำหรับ โรคโควิด-19 มีระยะฟักตัวอาการ 5-7วัน เวลาลงมาตรการแต่ละอย่างๆ ผลประเมินกว่าจะออกประมาณ1 สัปดาห์ว่าทิศทางของผู้ป่วยจะลดลงหรือไม่ 

 

" ถึงแม้จะมีมาตรการ ปิดกรุงเทพมหานคร แต่ตัวเลขผู้ป่วยจะยังไม่ลดทันที แต่อาจจะใช้เวลาประมาณ7-14 วันจำนวนผู้ป่วยถึงจะค่อยๆลง มาตรการที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น และเข้มข้นมากขึ้น ตอนนี้ใน กทม. มาตรการถือว่า อ่อนกว่า ในต่างจังหวัด ตัวอย่างเช่น ในหลายจังหวัด มีการประกาศ ในการพยายามกระตุ้นให้คนในจังหวัดไม่ให้ออกจากบ้านเลย และเป็นมาตรการภาคบังคับ เพราะฉะนั้นในพื้นที่ต่างจังหวัดมีมาตรการเข้มข้นต่างกัน ซึ่งในพื้นที่ที่มีความเข้มข้นสูงในมาตรการ ต้องรอดูอีก5-7วันว่าจะได้ผลหรือไม่"

 

ส่วนมาตรการเคอร์ฟิว มาตรการปิดร้านอาหาร ปิดสถานที่แออัด เป็นมาตรการเฉพาะ ที่ไม่ให้รวมตัวในตอนกลางคืนเป็นหลัก แต่การรวมตัวในตอนกลางวัน ความรู้สึกส่วนตัว ยังมองว่า ไม่ไปไกลเท่าที่ควร เช่น มาตรการทำงานที่บ้าน ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ถึงแม้จะเห็นว่าปริมาณลดลงบนท้องถนน แต่ถือว่ายังไม่ลดลง อย่างที่ควรจะเห็นจริงๆ อยากจะย้ำเตือน ทุกกระทรวง ทุกกรม บริษัท ห้างร้านต่างๆ ที่ยังสามารถสนับสนุนให้คนทำงานที่บ้านได้ อยากให้สนับสนุนให้มากกว่าเดิม

 

อีกส่วน คือ มาตรการเหลื่อมเวลาทำงาน หากเป็นไปได้อยากให้เหลื่อมเวลาการทำงาน เช่น 6โมงเช้า ถึง 12.00 น. เพื่อที่จะกระจายคนออกไป แทนที่จะแน่นในช่วงเวลาเดียวกัน บนรถเมล์ รถตู้ รถไฟฟ้า อยากให้รถไฟฟ้าคนน้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้ ลดความแออัดของคน ในพื้นที่สาธารณะในตอนกลางวันให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

****************

 

-มาตรการคุมโรคตอนนี้ในต่างจังหวัด 

 

" ยุทธสาสตร์สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข คือ ลงไปจัดการในจังหวัดที่มีผู้ป่วยน้อยๆ ให้เข้มข้นมากที่สุด เพื่อจะทำให้ผู้ป่วยรายใหม่ ในจังหวัดที่มีผู้ป่วย 1คน2คนต่อวัน เหลือผู้ป่วยให้ได้ ศูนย์คนให้ได้โดยเร็วที่สุด จากนั้นก็มาจัดการจังหวัดต่อไป ตอนนี้ยังยืนยัน มาตราสาธารณสุข เรื่องของการสอบสวนโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังคงสอบสวนโรคทุกราย ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร หรือ ต่างจังหวัด เรามีทีมสอบสวนโรคเพียงพอ"

 

มาตรการสาธารณสุข จะต้องควบคู่ไปกับ มาตรการทางสังคม มาตรการเพิ่มระยะห่างทางสังคม ต่อเนื่องไปอย่างเข้มข้น เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยให้เหลือน้อยที่าดเท่สที่จะเป็นไปได้ เป็นศูนย์ได้ยิ่งดี

 

****************

 

-ถึงแม้ผู้ป่วยติดเชื้อในไทยคงที แต่ยังไม่พอใจ

 

"หากถามว่าตอนนี้พอใจกับสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศ ที่คงที่แล้วรึยัง ตอบตรงนี้เลย ว่าไม่ เราต้องการให้ผู้ป่วยลดลงไปเรื่อยๆ เป็น หลักสิบ หลักหน่วย และเป็นศูนย์คนในที่สุด ซึ่งถ้าเราได้รับความร่วมมือ และทำในมาตรการที่ขอความร่วมมือได้ จำนวนผู้ติดเชื้อคงจะลดลงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ"

 

********************

 

- เราจะพ้นวิกฤตโควิด-19 นี้ไปเมื่อไหร่

 

"หากจะถามว่า เราจะพ้นวิกฤตเมื่อไหร่ คำถามนี้คงต้องให้คนไทยตอบ จะให้บุคลากรทางการแพทย์ ตอบฝ่ายเดียวคงไม่ได้ หากจะให้พ้นวิกฤตเร็วๆ ต้องร่วมมือกันทุกคน ทั้งคนในประเทศ และคนที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ เราทุกคนต้องช่วยกัน เพราะเราอยู่ทีมเดียวกัน"

 

 

รองอธิบดีกรมควบคุมโรคระบุเพิ่มเติมว่า โรคโควิด-19 เป็นโรค ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยผู้ป่วย1ราย สามารถแพร่เชื้อให้กับคนอื่นมากกว่า 2 ราย และจะทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น.

 

 

#CP​ร่วมจับมือสู้​Covid 

 

“CP group news for Covid support 

 

 

Jump back and forth by name of CPF , true , Makro ,CPall  , and there are other private sectors who do good as well , I think their should be some common campaign ie “ Fighting Covid together “ from TNN and for CP group we always wrap with “ CP join hand fight Covid “ , “ CP ร่วมจับมือสู้ Covid “

 

เกาะติดข่าวที่นี่ 

website: www.TNNThailand.com  

facebook : TNNThailand 

twitter : @TNNThailand 

Line : @TNNThailand 

 

Youtube Official : TNNThailand

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง