ไขปริศนาแมวส้ม มีสีส้มได้อย่างไร และทำไมส่วนใหญ่เป็นตัวผู้

ไขปริศนาเจ้าแมวส้ม มีสีส้มได้อย่างไร และทำไมแมวสีเหล่านี้ ส่วนใหญ่มักเป็นเพศผู้
เรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์ให้คำตอบชี้ไปที่ยีนของพวกมัน ทีมวิจัย เผยว่า ขนสีส้มของเจ้านายตัวน้อย ๆ ของพวกเรา เป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ของโครโมโซน X ซึ่งเป็นหนึ่งในโครโมโซนเพศ 2 ชนิด ที่พบได้ทั้งมนุษย์และแมว
การกลายพันธุ์นี้ ส่งผลต่อยีนที่ชื่อว่า ARHGAP36 เป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายของแมวผลิตฟีโอเมลานินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ทำให้แมวมีขนเป็นสีเหลือง สีแดง หรือ สีส้มนั่นเอง
แมวนั้นจะมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายกับมนุษย์ เพศเมีย จะมีโครโมโซน X 2 ตัว ส่วนเพศผู้ จะมีโครโมโซน X 1 ตัว และ Y 1 ตัว ซึ่งนั่นก็จะทำให้เราเข้าใจได้ว่า ทำไมแมวสีส้มส่วนใหญ่มักเป็นตัวผู้ เพราะว่า มันมีโครโมโซน X แค่ตัวเดียวเท่านั้น
ถ้าแมวตัวผู้ มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมบนโครโมโซน X ก็จะทำให้ขนของมันกลายเป็นสีส้ม แต่สำหรับแมวตัวเมีย การจะกลายเป็นแมวส้มนั่น ต้องมีการกลายพันธุ์บนโครโมโซน X ทั้งหมด 2 ตัว เพราะถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเพียงแค่ตัวเดียว ขนของมันจะเป็นการผสมสีต่าง ๆ เช่น ส้ม, ดำ และขาว นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมแมวสีกระดองเต่า หรือ แมวสามสีส่วนใหญ่จะเป็นตัวเมียเสมอ
ผลการศึกษานี้ มาจากจากทีมวืจัยอิสระทั้งหมด 2 ทีม ทีมนึงมาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จากสหรัฐฯ ส่วนอีกทีมมาจากมหาวิทยาลัยคิวชู ของญี่ปุ่น โดยทั้ง 2 ทีมได้ข้อสรุปเดียวกัน เกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้รับการตีพิมพ์ผ่านวารสาร Current Biology เมื่อไม่วันพฤหัสบดี (15 พฤษภาคม) ที่ผ่านมา
พวกเขาค้นพบการกลายพันธุ์นี้ จากการศึกษา DNA ของแมว และทั้ง 2 ทีม ก็พบว่า แมวสีส้มมีชิ้นส่วน DNA ที่ขาดหายไปชิ้นเดียวกันในยีน ARHGAP36
ทีมวิจัยจากญี่ปุ่นตั้งชื่อเล่นของการเปลี่ยนแปลงทางพันธกรรมนี้ไว้ว่า “เหมียว-เทชั่น” และสามารถระดมทุนได้มากกว่า 70,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนการวิจัยนี้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง: