รีเซต

ดีเอสไอ ยังไม่เคาะรับ-ไม่รับคดีแตงโม เป็นคดีพิเศษ ชี้ต้องเข้า 5 เงื่อนไข

ดีเอสไอ ยังไม่เคาะรับ-ไม่รับคดีแตงโม เป็นคดีพิเศษ ชี้ต้องเข้า 5 เงื่อนไข
ข่าวสด
28 มีนาคม 2565 ( 12:01 )
72
ดีเอสไอ ยังไม่เคาะรับ-ไม่รับคดีแตงโม เป็นคดีพิเศษ ชี้ต้องเข้า 5 เงื่อนไข

ข่าววันนี้ เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 28 มี.ค. 65 นพ.ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ พร้อมด้วยคณะกรรมการ แถลงเรื่องการพิจารณาว่าจะรับคดีของคุณแตงโม นิดา เป็นคดีพิเศษหรือไม่

 

สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ที่น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา และ นายนิติธร ล้ำเหลือ หรือ “ทนายนกเขา” ทนายความและแกนนำกลุ่มประชาชนคนไทย เดินทางไปยื่นหนังสือ กับ พ.ต.ท.สุภัทธ์ ธรรมธนารักษ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อขอให้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนคดี “แตงโม-นิดา” เป็นคดีพิเศษ เนื่องจากมีการตั้งข้อสังเกตจากพฤติการณ์และพยานหลักฐานว่าน่าจะเป็นการฆาตกรรมอำพรางมากกว่าอุบัติเหตุ และน่าจะมีผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังในการปิดบังพยานหลักฐาน

 

รวมทั้งผลการพิสูจน์ทางนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อน เสมือนไม่ใช่การจมน้ำตายธรรมดา ประกอบกับเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน อาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ทางดีเอสไอจึงมีการเรียกทีมแพทย์ผ่าชันสูตรคุณแตงโมทั้ง 2 รอบ มาประชุมและให้ข้อมูลกับคณะกรรมการ เป็นครั้งแรก

 

ส่วนครั้งต่อไปจะมีการร้องขอพยานหลักฐานจาก สำงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประกอบสำนวนการประชุม ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินเดือนเมษายน 2565 ก่อนมอบให้คณะอนุกรรมการพิจารณา และส่งไปยังคณะกรรมการที่มีนายวิษณุ เครืองาม ประธานคณะกรรมการคดีพิเศษชุดใหญ่ พิจารณา ก่อนสรุปว่าจะรับหรือไม่รับเป็นคดีพิเศษ

 

หลักเกณฑ์ที่จะรับเป็นคดีพิเศษนั้นจะต้องเข้า 5 เงื่อนไข คือ คดีมีความซับซ้อน ต้องรวบรวมหลักฐานจำนวนมาก /คดีมีความกระทบต่อสังคม กระทบความมั่นคงและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง /เป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ /มีผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง /มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เกี่ยวขัองหรืออยู่เบื้องหลัง ซึ่งจะต้องประมวลจากข้อเท็จจริงที่ปรากฎ

 

กรณีที่คุณแม่ของคุณแตงโมไม่เห็นด้วยที่จะให้ดีเอสไอรับทำคดีนี้เป็นคนดีพิเศษ ไม่ถือว่าอยู่ในข้อพิจารณาเพราะ ถือว่าเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ต่อให้ญาติยอมความหรือไม่เห็นด้วยก็ต้องดำเนินการจึงต้องดูเหตุผลเป็นใหญ่

 

อย่างไรก็ตามในคดีดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หากมีการสรุปสำนวนส่งฟ้องอัยการก่อนที่ ดีเอสไอรับพิจารณาเป็นคดีก็ถือว่าตัดอำนาจการสอบสวนของดีเอสไอไปทันที เว้นมีอัยการเห็นว่าควรต้องมีการสอบสวนเพิ่มเติมใหม่ ทางดีเอสไอก็มีสิทธิรับเป็นคดีพิเศษ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง