รีเซต

จาก 'สภาพอากาศ' ฮอตทะลุปรอท สู่วิธีขอฝนที่ไม่ธรรมดา! แถมไม่ได้มีแค่ไทย

จาก 'สภาพอากาศ' ฮอตทะลุปรอท สู่วิธีขอฝนที่ไม่ธรรมดา! แถมไม่ได้มีแค่ไทย
TeaC
30 มิถุนายน 2564 ( 16:38 )
99
จาก 'สภาพอากาศ' ฮอตทะลุปรอท สู่วิธีขอฝนที่ไม่ธรรมดา! แถมไม่ได้มีแค่ไทย

ในขณะที่ สหรัฐฯ และแคนาดา ถูกคลื่นความร้อนถล่ม ด้วยอุณหภูมิพุ่งเกือบ 50 องศาเซลเซียส ร้อนจนสายเคเบิลละลายไปจนถึงความร้อนคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก หน่วยงานต่างพยายามหาวิธีดับร้อน รวมถึงสภาพอากาศในประเทศไทยก็ต้องยอมรับว่าร้อนอบอ้าวไม่แพ้กัน แม้ว่าหลายพื้นที่จะฝนตกให้ชื่นฉ่ำ แต่อีกหลายพื้นที่ฝนแทบไม่ตกลงมาเลยสักเม็ด ส่งผลกระทบหลายด้านทั้งคุณภาพชีวิต อาชีพ โดยเฉพาะชาวสวน ชาวไร่ ที่ต้องหาผลผลิตเพื่อจุนเจือครอบครัวให้มีรายได้ แต่เมื่อฝนไม่ตกลงมาผลผลิตที่หวังเอาไว้ก็ไม่มี

 

วันนี้ TrueID ชวนมาคุยเรื่องสภาพอากาศร้อน สู่วิธีการขอฝนที่ไม่ธรรมดา บ้างก็มาจากวัฒนธรรมในท้องถิ่น บ้างก้มาจากความเชื่อแต่โบราณ ลองมาวิเคราะหืกันดูว่า วิะีการขอฝนที่หลายคนอาจคุ้นเคย หรอืได้ยิน หรือวิธีการขอฝนที่แปลกใหม่ มีอะไรบ้าง 

 

เริ่มที่ แห่นางแมว หรือประเพณีแห่นางแมว คนไทยมักรู้จักเป็นอีกหนึ่งวิธีการขอฝนในช่วงที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล หรือฝนแล้ง หรือสภาพอากาศร้อน ฝนไม่ตกเลย เพื่ออ้อนวอนขอฝนตกลงพื้นที่ เนื่องจากประเทศไทยหลายพื้นที่ทำอาชีพเกษตรกรรม

 

โดยการแห่นางแมวนั้น คนไทยมีความเชื่อว่าฝนตกลงมาเพราะเทวดา เมื่อฝนไม่ตกจึงต้องทำพิธีขอฝนกับเทวดา ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับแมวนั้น คนไทยเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับ ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อนำมาทำพิธีแล้วจะช่วยเรียกฝนให้ตกลงมาได้ ซึ่งการทำพิธีแห่นางแมว จะนิยมเป็นแมวสีสวาทหรือแมวสีดำ ใส่กรงหามรอบหมู่บ้าน เพื่อให้คนแต่ละบ้านสาดน้ำให้แมวร้อง เพราะเชื่อว่าเมื่อแมวร้องฝนจะตกลงมา 

 

วิธีการขอฝนที่ไม่ธรรมดาเมื่อชาวบ้านจังหวัดหนึ่งปั้นดินเหนียวเป็นรูปอวัยวะเพศชาย หรือปลัดขิกวางบนถนน เพื่อเรียกฝนให้ตกลงมา จนเกิดเป็นกระแสดังบนโลกออนไลน์ กระทั่ง คุณหนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย หยิบยกประเด็นเรื่องนี้มาคุยทั้งในแง่ความเชื่อ และแง่อุปกรณ์เพิ่มความสุข ซึ่งถือได้ว่าเป็นการถกเถียงที่มีเหตุมีผล มีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป แถมยังเป็นการสร้างความเข้าใจในหลายมิติของสังคมด้วย

 

เหุตการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อชาวบ้าน ต.โยธะกา อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา ทำพิธีขอฝนตามความเชื่อ นำดินเหนียวมาปั้นรูปทรง "ปลัดขิก" ขนาดยักษ์ ก่อนกราบไหว้บูชากลางถนน โดยมีการขออนุญาตทางการแล้ว ไม่กระทบต่อการจราจรเพราะเป็นทางตัน ซึ่งเมื่อฝนตกก็จะนำออก ถือเป็นวิธีการขอฝนที่ไม่ธรรมดา

 

มาต่อกันที่ใช้ดินเหนียวปั้นเพื่อขอฝนเช่นกัน แต่เป็นการปั้นตุ๊กตาชายหญิงร่วมประเวณี ซึ่งเกิดขึ้นที่ในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อขอให้เทวดาแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล หลังจากพื้นที่แล้งจัด สภาพอากาศร้อนอย่างมาก ทั้งนี้เป็นความเชื่อมาตั้งแต่โบราณ

 

และนี่เป็นวิธีการขอฝนให้ตกหลังจากที่ฝนแล้ง หรือสภาพอากาศร้อนจัด ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ความเชื่อที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน

 

รู้หรือไม่? การขอฝนไม่ได้มีแค่ไทย

 

แม้ว่าการขอฝน เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน เกี่ยวกับสังคมเกษตรกรรม ที่ไม่ได้มีแค่ประเทศไทยที่ขอฝนตกเท่านั้น แต่ในหลายประเทศก็มีวัฒนธรรม เมื่อฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือต้องการน้ำในการทำการเกษตรก็ขอฝนด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่าง...

 

รัสเซีย หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองดอร์ปาท จากการค้นหาข้อมูลระบุว่า จะมีวัฒนะธรรมการขอฝนโดยให้ผู้ชายสามคนปีนขึ้นต้นเฟอร์ คนหนึ่งถือค้อนเคาะถังเล็ก ๆ ทำเป็นเสียงฟ้าร้อง คนที่สองถือดุ้นฟืนติดไฟสองดุ้น เคาะให้กระทบกัน ไฟจะแตกกระจาย คล้ายฟ้าแลบ คนที่สามถือที่ใส่น้ำ ขึ้นไปโปรยไปมารอบต้นไม้ คล้ายกับว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว

 

ที่ตำบลฮิตาคิ ในประเทศญี่ปุ่น ก็มีการขอฝนด้วย ผู้คนจะพากันไปขอน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลราอิชิน เอาน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่กลับหมู่บ้าน จะหยุดพักไม่ได้ เชื่อกันว่าหยุดที่ใดฝนจะตกที่นั่น บางแห่งจะตั้งขบวนไปขอไฟจากพระในวัดบนภูเขา สวดอ้อนวอนแล้ว เอาไฟไปโบกตามทุ่งนา เชื่อว่าจะทำให้ฝนจะตกเหมือนกัน และที่หมู่บ้านริมทะเลสาบรอบภูเขาฟูจี นับถือทะเลสาบว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เอาของสกปรกไปทิ้ง แต่เมื่อต้องการฝนตก จะเอาเอากระดูกวัวกระดูกควายโยนลงทะเลสาบ เชื่อกันว่าจะทำให้เทพเจ้าโกรธ บันดาลฝนให้ตก ที่หมู่บ้านนิโนเฮ ถือขวดเหล้าสาเกไปถวายพระที่ศาลเจ้าโกเงน บนภูเขาโอริซูเน เมื่อพระดื่มเหล้าสาเกแล้ว ก็จะช่วยกันจับพระไปผลักตกบ่อน้ำ เมื่อเห็นพระตะเกียกตะกายขึ้น ก็จะช่วยกันผลักให้ตกลงไปอีก เพราะเชื่อว่าเทพเจ้าไม่อยากเห็นพระทรมาน จึงจะรีบบันดาลให้ฝนตก

 

สำหรับในประเทศไทยนอกจากวิธีการขอฝนที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีหลายประเพณีและหลายความเชื่อเกี่ยวกับการขอฝน บางแห่งมีพิธีแห่ดอกไม้เจ้าพ่อ รูปอวัยวะเพศชาย เรียกว่า ขุนเพ็ด ทำด้วยต้นกล้วยหรือต้นข่อยใหญ่ แห่ขุนเพ็ดไปตามหมู่บ้านแล้วก็เอาไปเก็บไว้ที่ศาลเจ้าแม่ชายทุ่ง เชื่อว่าฝนจะตกทันที เมื่อเจ้าพ่อกับเจ้าแม่ได้อยู่ด้วยกัน ในตำราพิรุณศาสตร์ ใช้วิธีปั้นเมฆ ปั้นรูปชายหญิงเปลือยกาย แต่พิธีนี้ค่อนข้างอุจาด จึงไม่ให้ทำในพระนคร ต้องไปทำกันตามกลางทุ่งนา อีกทั้ง ยังมีพิธีขอฝนอีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจคือ การแห่ช้างแห่ม้าที่เรียกว่าช้างปัจจัยนาเคนทร์ เป็นพิธีที่จัดขึ้นเนื่องจากจุดบั้งไฟแล้วฝนก็ยังไม่ตก เป็นงานที่จัดขึ้นในระดับตำบลหรืออำเภอเพราะมีผู้มาร่วมงานอย่างล้นหลาม แต่ก็ไม่ได้จัดบ่อยนัก

 

อย่างไรก็ตาม วิธีการขอฝนเป็นความเชื่อ หรือวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ และละชนชาติ ด้วยสภาพอากาศร้อนจัด อาชีพเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาฝน เมื่อผลผลิตทางการเกษตรเสียหายเพราะความแห้งแล้ง อากาศที่ร้อนจัด แต่คนเราก็อย่าใจร้อนตามอากาศก็เป็นพอ

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย, มติชน, ข่าวสด

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง