รีเซต

ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านแล้ว ผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนไม่ได้ เช็คที่นี่

ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านแล้ว ผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนไม่ได้ เช็คที่นี่
TeaC
9 พฤษภาคม 2566 ( 11:51 )
337
ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านแล้ว ผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนไม่ได้ เช็คที่นี่

ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านแล้ว ผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนไม่ได้ ทำอย่างไร? อีกหนึ่งปัญหาของ ผู้ที่ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 รายใหม่ ที่พบได้บ่อย วันนี้ "กระทรวงการคลัง" มีวิธีรับเงิน มาดูกันเลย 

 

เมื่อเช็คประกาศผลลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน ทำการยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนเพื่อรับสิทธิสวัสดิการจากภาครัฐ แต่ถ้าไม่มีบัญชีธนาคารเลย แล้วจะทำยังไง? วันนี้มีคำตอบมาให้แล้ว

 

 

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  2566 

 

สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ผ่านคุณสมบัติตามโครงการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 จะต้องดำเนินการยืนยันตัวตน ณ ธนาคารตามที่กระทรวงการคลังกำหนดตั้งแต่วันที่ประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติ เป็นต้นไป จึงจะสามารถใช้สิทธิสวัสดิการผ่านบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Card) ได้

 

อีกทั้งผู้ที่ได้รับสิทธิจะต้องผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขประจำตัวประชาชนกับธนาคารใดก็ได้เพื่อรับสิทธิสวัสดิการอื่น ๆ ในอนาคต สำหรับวันเริ่มใช้สิทธิจะมีการประกาศเป็นทางการอีกครั้ง

 

ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านแล้ว ผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนไม่ได้

 

ส่วนกรณีที่ผู้ผ่านเกณฑ์ ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านแล้ว แต่ไม่สามารถ ผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนไม่ได้ นั้น เรื่องนี้ นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 (โครงการฯ) รวมถึงการใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสำหรับผู้ได้รับสิทธิตามโครงการฯ และเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 

 

คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม(คณะกรรมการฯ) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ มีมติเห็นชอบให้ใช้การโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน เป็นช่องทางการโอนเงินสดให้แก่ผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ แทนการโอนเงินผ่านช่องกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 

 

เงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โอนเงินสดเข้ากรณีไหนบ้าง?

 

ซึ่งปัจจุบันการให้สิทธิสวัสดิการสำหรับผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ จะเป็นการตั้งวงเงินสิทธิในบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น โดยจะไม่มีการโอนเงินสด ยกเว้นเงินเพิ่มเติมเบี้ยความพิการเดือนละ 200 บาท เฉพาะผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ที่ได้รับเบี้ยความพิการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เดือนละ 800 บาท และจะได้รับเงินเพิ่มเติมเบี้ยความพิการเดือนละ 200 บาท ทุกวันที่ 20 ของแต่ละเดือน

 

โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ ได้มีการกำหนดแนวทางการโอนเงินสำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ (ที่ยังไม่สามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์ กับเลขประจำตัวประชาชนได้) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

1. กลุ่มผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่ได้รับเบี้ยความพิการของ อปท. เดือนละ 800 บาท และผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ

 

ซึ่งจะได้รับเงินเพิ่มเติมเบี้ยความพิการอีกเดือนละ 200 บาท จำนวนทั้งสิ้น 1,138,257 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 27 มีนาคม 2566) กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางจะดำเนินการโอนเงินเพิ่มเติมเบี้ยความพิการเดือนละ 200 บาท ผ่านช่องทาง ดังต่อไปนี้

 

1.1 โอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ (กรณีผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ มีบัญชีพร้อมเพย์ ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน ณ วันที่ 27 มีนาคม 2566) จำนวน 871,270 ราย ซึ่งกลุ่มนี้ได้รับเงินเพิ่มเติมเบี้ยความพิการตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมาแล้ว

 

1.2 โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเดิมที่ผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ใช้รับเบี้ยความพิการจาก อปท. เดือนละ 800 บาท (กรณีไม่สามารถรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ตามข้อ 1.1) มีจำนวน 233,489 ราย โดยกลุ่มนี้จะได้รับเงินเพิ่มเติมเบี้ยความพิการย้อนหลังตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 ในเดือนพฤษภาคม 2566 (รวมเงินเพิ่มเติมเบี้ยความพิการ 2 เดือน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 400 บาท)

 

1.3 ผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ที่รับเบี้ยความพิการจาก อปท. เดือนละ 800 บาท เป็นเงินสด จะโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่เปิดและผูกกับเลขประจำตัวประชาชนขึ้นมาใหม่ โดยขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 

 

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน ลงพื้นที่เพื่อเปิดบัญชีเงินฝากและผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ หรือผู้รับมอบอำนาจรับเบี้ยความพิการของ อปท. แทนผู้พิการ จำนวน 33,498 ราย ซึ่งกลุ่มนี้หากดำเนินการเปิดบัญชีและผูกบัญชีพร้อมเพย์แล้ว จะได้รับเงินเพิ่มเติมเบี้ยความพิการเดือนละ 200 บาท ย้อนหลังตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 เป็นต้นไป

 

2. กลุ่มผู้พิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถเดินทางไปเปิดบัญชีเงินฝากและผูกบัญชีพร้อมเพย์ได้

 

2.1 โอนเข้าบัญชีร่วมของผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ที่เป็นผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุ กับผู้ดูแล โดยมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

 

2.1.1 ผู้ได้รับสิทธิตามโครงการฯ ต้องกรอกข้อมูลและลงลายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีร่วมกับบุคคลอื่น (เอกสารแนบ 1)

 

2.1.2 ผู้ได้รับสิทธิตามโครงการฯ ต้องส่งหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวให้กรมบัญชีกลาง (สำหรับกรุงเทพมหานคร) หรือสำนักงานคลังจังหวัด (สำหรับต่างจังหวัด)

 

2.2 โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับความยินยอมจากผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ เป็นผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุ ให้รับโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีเงินฝาก แทน โดยมีรายละเอียดขั้นตอน ดังนี้

 

2.2.1 ผู้ได้รับสิทธิตามโครงการฯ ต้องกรอกข้อมูลและลงลายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีบุคคลอื่น (เอกสารแนบ 2)

 

2.2.2 ผู้ได้รับสิทธิตามโครงการฯ ต้องส่งหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวให้กรมบัญชีกลาง (สำหรับกรุงเทพมหานคร) หรือสำนักงานคลังจังหวัด (สำหรับต่างจังหวัด)

 

รับเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 ต้องส่งเอกสารอะไรบ้าง?

 

ทั้งนี้ การดำเนินการตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ผู้ได้รับสิทธิตามโครงการฯ จะต้องจัดส่งเอกสารทั้งหมด ให้กรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัด ดังนี้

 

  1. หนังสือให้ความยินยอมโอนเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เข้าบัญชีร่วมกับบุคคลอื่น (การดำเนินการตามข้อ 2.1) หรือหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีบุคคลอื่น (การดำเนินการตามข้อ 2.2) โดยผู้ได้รับสิทธิตามโครงการฯ สามารถดาวน์โหลดหนังสือให้ความยินยอมได้จากเว็บไซต์ของโครงการฯ ได้ที่ https:// บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https: //welfare.mof.go.th หรือติดต่อขอรับจากหน่วยงานรับลงทะเบียนทุกหน่วยทั่วประทศ

  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับสิทธิตามโครงการฯ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัญชีร่วม (การดำเนินการตามข้อ 2.1) หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน

  4. โอนสวัสดิการแทน (การดำเนินการตามข้อ 2.2) พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

  5. เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ได้รับสิทธิตามโครงการฯ และผู้ถือบัญชีร่วม (การดำเนินการตามข้อ 2.1) หรือผู้รับเงินโอนสวัสดิการแทน (การดำเนินการตามข้อ 2.2) เช่น สำเนาสูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาเอกสารทางราชการอื่นที่สามารถแสดงความสัมพันธ์ได้ เป็นต้น พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

  6. สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์/สะสมทรัพย์/เผื่อเรียก/กระแสรายวัน (ยกเว้นประเภทเงินฝากประจำ/ออมทรัพย์พิเศษ/บัญชีที่มีเงื่อนไข) ที่จะรับเงินสวัสดิการ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

  7. ใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)

 

3. กลุ่มบุคคลล้มละลาย

หากกระทรวงการคลังมีมาตรการหรือโครงการที่ชัดเจนที่จะต้องโอนเงินสวัสดิการให้บุคคลล้มละลายที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ บุคคลล้มละลายที่ได้รับสิทธิตามโครงการฯ จะต้องติดต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อขอเปิดบัญชีเงินฝากสำหรับการรับเงินสวัสดิการตามโครงการฯ ต่อไป ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 67 (1) และมาตรา 67 (2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

 

โฆษกกระทรวงการคลังเน้นย้ำว่า แนวทางการโอนเงินสำหรับผู้ได้รับสิทธิตามโครงการฯ ตามข้อ 2 และข้อ 3 จะเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับมาตรการหรือโครงการใด ๆ ที่ภาครัฐอาจจะให้ความช่วยเหลือเป็นเงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในอนาคตเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิสามารถติดตามข่าวสารโครงการฯ สำหรับสวัสดิการต่าง ๆ ในอนาคต ได้จากเว็บไซต์ของโครงการฯ ได้ที่ https:// บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https: //welfare.mof.go.th

 

ตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้ที่นี่

ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บไซต์ https:// บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https: //welfare.mof.go.th ได้ตั้งแต่เวลา 6.00 น. ถึง 23.00 น. ของทุกวัน

 

 

ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน ขอเปิดบัญชีฟรี-ผูกพร้อมเพย์ ที่ไหน?

หากตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 รายใหม่ผ่านแล้ว แต่ไม่มีบัญชีธนาคารเลย สามารถใช้สิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เปิดบัญชีฟรี ผู้พร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน ฟรี ได้ที่ 16 ธนาคารที่ร่วมโครงการ บัญชีเงินฝากพื้นฐาน บัญชีเพื่อคนไทย ตามนี้

  1. ธนาคารกรุงเทพ โทร.1333
  2. ธนาคารกรุงไทย โทร.02-111-1111
  3. ธนาคารกรุงศรี โทร. 1572
  4. ธนาคารกสิกรไทย โทร.02-888-8888
  5. ธนาคารเกียรตินาคิน โทร.02-111-1111
  6. ธนาคารกรุงไทย โทร.02-165-5555
  7. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยโทร.02-626-7777
  8. ธนาคารทิสโก้ โทร.02-633-6000
  9. ธนาคารทีทีบี โทร. 1568
  10. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย โทร.02-694-5454
  11. ธนาคารไทยพาณิชย์ โทร.02-777-7777
  12. ธนาคารธนชาต โทร.1770
  13. ธนาคารยูโอบี โทร.02-285-1555
  14. ธนาคารแลนด์ แอน เฮ้าส์ โทร.02-359-0000
  15. ธนาคาร ธ.ก.ส. โทร.02-555-0555
  16. ธนาคารออมสิน โทร.1115

 

 

 

ข้อมูลจาก กระทรวงการคลัง

 

อย่าลืมติดตามข่าวล่าสุด  เกาะติดข่าวด่วน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ล่าสุด

 

บทความที่เกี่ยวกับ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ล่าสุด

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง