รีเซต

ครูบาบุญชุ่ม คือใคร? ประวัติ ครูบาบุญชุ่ม ญาณสัวโร

ครูบาบุญชุ่ม คือใคร? ประวัติ ครูบาบุญชุ่ม ญาณสัวโร
TeaC
31 กรกฎาคม 2565 ( 08:11 )
4.9K
ครูบาบุญชุ่ม คือใคร? ประวัติ ครูบาบุญชุ่ม ญาณสัวโร

ข่าววันนี้ ครูบาบุญชุ่ม คือใคร? หากใครยังจำได้ก่อนหน้านี้ "ครูบาบุญชุ่ม" ญาณสัวโร จรณวาสีภิกขุ ได้เข้าปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ปิดวาจา 3 ปี 3 เดือน 3 วัน ที่ถ้ำหลวงเมืองแก๊ด มหานุมีธรรมเรือง ประเทศเมียนมาร์ ตั้งแต่วันที่ 29 เม.ย.2562 นั้น

 

ประวัติ ครูบาบุญชุ่ม 

 

ทั้งนี้ ข่าวครูบาบุญชุ่ม ล่าสุด โดยพระมหาทองสุข สุขธัมโม รักษาการเจ้าอาวาส สถานปฎิบัติธรรมวัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ได้แปลธรรมะจากถ้ำ ของ "ครูบาบุญชุ่ม" ที่เขียนเป็นภาษาไทใหญ่เป็นฉบับสุดท้าย และมีการเขียนกำหนดการออกจากถ้ำ ได้ระบุว่า "ครูบาบุญชุ่ม" จะออกจากถ้ำในวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ปลงผมที่เกาะน้ำรูนั้นแล ให้สร้างหอกุฏิที่พักไว้ จะไปฉันภัตตาหารที่กุฏิมุงคาริมน้ำสิ่ม 5 โมง จะไปที่ถ้ำเล็ก หอ 7 ชั้นนั้นแล วันนี้จะพาเปิดประวัติ ครูบาบุญชุ่ม

 

ประวัติ ครูบาบุญชุ่ม

สำหรับ ประวัติ ครูบาบุญชุ่ม ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2508 เวลา 09.00 น. ที่หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนโตของนายคำหล้าและนางแสงหล้า ทาแกง แม้ครอบครัวจะยากจนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่โยมมารดาก็ปลูกฝังท่านให้ทำบุญ สวดมนต์ ทำสมาธิอยู่เสมอ ทำให้ท่านสนใจออกบวช

 

ประวัติด้านการศึกษา ครูบาบุญชุ่ม

  • หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ขณะอายุได้ 11 ปี ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2526

  • ต่อมาได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เวลา 919 น. ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ (ปัจจุบันรวมกับวัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่)) โดยมีพระราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ ธมฺมทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูศรีปริยัตินุรักษ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์

  • นับแต่ออกบวช ครูบาบุญชุ่มมุ่งเน้นเรียนกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายองค์ ได้จาริกไปหลายท้องที่ทั้งภาคเหนือของไทย พม่า เนปาล อินเดีย ภูฏาน ฯลฯ

 

เมื่อครูบาบุญชุ่มพบเห็นวัดใดทรุดโทรมก็เป็นผู้นำในการบูรณะ และได้สร้างพระธาตุเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป ไว้หลายแห่งในภาคเหนือ รัฐชาน สิบสองปันนา และประเทศลาว

 

ลำดับการจำพรรษาตอนเป็น สามเณรบุญชุ่ม ทาแกง

พ.ศ. ๒๕๑๙

  • พรรษาที่ ๑ จำที่วัดบ้านด้ายธรรมประสิทธิ์ ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน
  • พรรษาที่ ๒ จำที่วัดบ้านด้ายธรรมประสิทธิ์ ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน
  • พรรษาที่ ๓ จำที่วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน
  • พรรษาที่ ๔ จำที่วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
  • พรรษาที่ ๕ จำที่วัดจอมแจ้งบ้านกวดขี้เหล็ก อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
  • พรรษาที่ ๖ จำที่วัดจอมแจงที่เดิม
  • พรรษาที่ ๗ จำที่วัดเมืองหนอมป่าหมากหน่อ บ้านห้วยน้ำราก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
  • พรรษาที่ ๘ จำที่วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง วัดพระนอนเมืองพง พม่า
  • พรรษาที่ ๙ จำที่วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง วัดพระนอนเมืองพง พม่า
  • พรรษาที่ ๑๐ จำที่วัดอนันทกุฏีวิหาร กรุกัฏมันฑุ ประเทศเนปาล รวมปีที่บรรพชาเป็นสามเณรทั้งหมด ๑๐ พรรษา

 

ลำดับการจำพรรษาหลังการอุปสมบท

  • พ.ศ. ๒๕๒๙ พรรษาที่ ๑ จำที่วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง วัดพระนอน เมืองพง พม่า
  • พ.ศ. ๒๕๓๐ พรรษาที่ ๒ จำที่วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง พม่า
  • พ.ศ. ๒๕๓๑ พรรษาที่ ๓ จำที่วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง พม่า
  • พ.ศ. ๒๕๓๒ พรรษาที่ ๔ จำที่วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง พม่า
  • พ.ศ. ๒๕๓๓ พรรษาที่ ๕ จำ ณ สวนพุทธอุทยาน ใกล้พระธาตุดอนเรือง
  • พ.ศ. ๒๕๓๔ พรรษาที่ ๖ จำ ณ ห้วยดอนเรือง ใกล้พระธาตุดอนเรือง
  • พ.ศ. ๒๕๓๕ พรรษาที่ ๗ จำ ณ ดอยป่าไม้เปา ใกล้พระธาตุดอนเรือง
  • พ.ศ. ๒๕๓๖ พรรษาที่ ๘ จำ ณ ถ้ำห้วยรัง บ้านมูเซอ จ่ากู่
  • พ.ศ. ๒๕๓๗ พรรษาที่ ๙ จำ ณ ถ้ำห้วยรัง บ้านมูเซอ จ่ากู่
  • พ.ศ. ๒๕๓๘ พรรษาที่ ๑๐ จำ ณ ถ้ำห้วยรัง บ้านมูเซอ จ่ากู่
  • พ.ศ. ๒๕๓๙ พรรษาที่ ๑๑ จำ ณ ถ้ำพระพุทธบาทผาช้าง ระหว่างเมืองแฮะ-เมืองขัน
  • พ.ศ. ๒๕๔๐ พรรษาที่ ๑๒ จำ ณ ถ้ำพระพุทธบาทผาช้าง ระหว่างเมืองแฮะ-เมืองขัน เขตหว้าแดง
  • พ.ศ. ๒๕๔๑ พรรษาที่ ๑๓ จำ ณ ถ้ำผาจุติง ประเทศภูฏาน
  • พ.ศ. ๒๕๔๒ พรรษาที่ ๑๔ จำ ณ ถ้ำพระพุทธบาทผาช้าง ระหว่างเมืองแฮะ-เมืองขัน เขตหว้าแดง
  • พ.ศ. ๒๕๔๓ พรรษาที่ ๑๕ จำ ณ ถ้ำน้ำตก เมืองแสนหวี สีป้อ ชายแดนพม่า กับประเทศจีน
  • พ.ศ. ๒๕๔๔ พรรษาที่ ๑๖ จำ ณ ถ้ำน้ำตก เมืองแสนหวี สีป้อ ชายแดนพม่า กับประเทศจีน
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ พรรษาที่ ๑๗ จำ ณ ถ้ำผาจุติง ประเทศภูฏาน
  • พ.ศ. ๒๕๔๖ พรรษาที่ ๑๘ จำ ณ กองร้อยทหารตระเวณชายแดน เมืองปูนาคา
  • พ.ศ. ๒๕๔๗ พรรษาที่ ๑๙ จำ ณ กองร้อยทหารตระเวณชายแดน เมืองปูนาคา
  • พ.ศ. ๒๕๔๘ พรรษาที่ ๒๐ จำ ณ ถ้ำผาแดง บ้านล่อม ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

รวมจำนวนพรรษาที่บวชเป็นพระภิกษุทั้งหมด ๒๐ พรรษา

 

การสร้างและบูรณะพระธาตุ

ครูบาบุญชุ่ม ญาณสัวโร ได้สร้างศาสนสถานไว้ดังต่อไปนี้

  1. พระวิหารวัดบ้านด้ายและกุฏิสงฆ์ 1 หลัง
  2. พระธาตุดอยเวียงแก้ว ตำบลศรีดอนมูล
  3. พระธาตุงำเมืองท้าววังนั่ง ตำบลเมืองพง พม่า
  4. พระธาตุดอยดอกคำ ตำบลเมืองพง พม่า
  5. พระธาตุจอมยอง เมืองยอง พม่า
  6. ศาลาและแท่นแก้วพระธาตุจอมพง พม่า
  7. พระธาตุจอมศรีดับเภมุง เมืองพง พม่า
  8. พระธาตุวัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
  9. ศาลาเก้าห้องและกุฏิสงฆ์ วัดพระนอน วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุง พม่า
  10. วิหารพระเจ้านอน เมืองพง พม่า และสร้างแท่นแก้ววัดแม่คำบัว แท่นแก้ว พระเจ้านอนวัดพระธาตุ จอมศรีดับเภมุงเมือง บ้านทุง พม่า
  11. พระวิหารพระธาตุดอนเรือง พม่า และสร้างแท่นแก้ว วัดปากว๋าว ตำบลห้วยไคร้

 

ข้อมูล : มติชน, วิกิพีเดีย

ภาพ : มูลนิธิดอยเวียงแก้ว พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร อรัญวาสีภิกขุ

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง