รีเซต

ดร.หลวงพ่อแดง ตั้ง 'ธนาคารวัว' แก้จน พัฒนาสุรินทร์มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

ดร.หลวงพ่อแดง ตั้ง 'ธนาคารวัว' แก้จน พัฒนาสุรินทร์มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
มติชน
19 สิงหาคม 2563 ( 15:59 )
157
ดร.หลวงพ่อแดง ตั้ง 'ธนาคารวัว' แก้จน พัฒนาสุรินทร์มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

ดร.หลวงพ่อแดง
ตั้ง ‘ธนาคารวัว’ แก้จน
พัฒนาสุรินทร์มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จพระราชดำเนินออกตรวจเยี่ยมราษฎร ทรงทราบว่า มีราษฎรผู้ยากจนในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จ.ปราจีนบุรี ตามพระราชดำริ จำนวนมาก ราษฎรต้องเช่าโค-กระบือไว้ใช้แรงงานในราคาแพงจึงทรงมีพระราชดำริให้กรมปศุสัตว์จัดตั้งธนาคารโค-กระบือขึ้นในปี 2522 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจนได้มีโอกาสมีโค-กระบือไว้ใช้แรงงานเป็นของตนเอง ประกอบกับรัฐบาลได้กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย พ.ศ.2558 – 2563 “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดย คำว่า “มั่นคง” หมายถึง การที่ประเทศจะต้องเกิดความสงบสุข คำว่า “มั่งคั่ง” หมายถึง การทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามสมควรแก่ฐานะ และคำสุดท้าย คือ “ยั่งยืน” หมายถึง การคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ใช้หลักเหตุและผล และการรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง หรือการมีภูมิคุ้มกันตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

 

 

พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ (ดร.หลวงพ่อแดงนันทิโย) ประธานมูลนิธิวัดอินทาราม รองเจ้าคณะอำเภออัมพวา เจ้าอาวาสวัดอินทาราม ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จึงสนองพระราชดำริช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในจ.สุรินทร์ จัดทำโครงการ “ธนาคารวัว ครอบครัว คุณธรรมน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงวัวสุขภาพดี ชีวีมีสุข” โดยก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดงจ.สุรินทร์ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2560 โดยส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มมีศีล 5 ประกอบอาชีพสัมมาชีพ เข้าใจเป้าหมายของการเลี้ยงวัว มีพืชอาหารเลี้ยงวัวอย่างน้อย 2 ชนิด ได้แก่ หญ้าเนเปียร์ กล้วย และปลูกพืชแบบเกษตรผสมผสานไว้รับประทานในครัวเรือน รวมทั้งต้องรับฟังข้อมูลและทำความเข้าใจในแนวคิดและอุดมการณ์ของกลุ่มธนาคารวัว

 

กระทั่งปัจจุบันประสบความสำเร็จมีจำนวน 10 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดง ส่งวัวกว่า 300 ตัว เป็นมรดกชาวสุรินทร์ ใน 150 หมู่บ้าน ทำให้ชาวสุรินทร์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

 

 

พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดงจ.สุรินทร์ได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 3 ปี ผลจากการดำเนินงานพบว่าปัญหาอุปสรรคประการหนึ่งของการเลี้ยงวัว สมาชิกจะขาดหญ้าสด ฟาง เนื่องจากหมู่บ้านส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ปลูกข้าวเพราะบ้านเรือนตั้งอยู่ริมป่าสงวนและมีภูมิศาสตร์เนินสูง ทำให้การปลูกข้าวไม่ได้ผลและต้นทุนสูง แต่เกษตรกรก็ยังนิยมเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะโคกระบือในวงจรการทำนาพบว่านอกจากการทำนาในพื้นที่สูงไม่สามารถปลูกข้าวได้อย่างมีคุณภาพการปลูกพืชผักอย่างอื่นก็ ยังขาดน้ำซึ่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญทั้งในการเกษตรและปศุสัตว์ หากโคกระบือขาดน้ำ ก็ทำให้การทำอาชีพปศุสัตว์ยิ่งยากลำบากขึ้น

 

พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการสอบถามชาวบ้านทราบว่าถ้าขาดน้ำแล้วก็ ไม่สามารถประกอบอาชีพหลักไม่ว่าจะเป็นทำนาทำสวนและการเลี้ยงสัตว์ ดังนั้นน้ำจึงมีความสำคัญต่อชีวิตคนและสัตว์ โครงการขุดหลุมดินเพื่อทำธนาคารเก็บน้ำไว้ใต้ดิน จึงมีความสำคัญต่อเกษตรกรโดยเฉพาะในฤดูนี้ฤดูฝนเมื่อปริมาณน้ำฝนตกลงมาสู่พื้นดินสภาพของทำเลชุมชนที่อยู่ในที่สูงและลักษณะธรณีวิทยาเป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำการจัดทำหลุมดินเก็บกักน้ำเพื่อเป็นธนาคารน้ำ ไว้ใต้ดินในระดับครัวเรือน จึงริเริ่มขึ้นมาก่อน

 

 

เพราะว่าน้ำบริโภคน้ำอุปโภคน้ำชักชะล้างสามารถนำไปกักเก็บในหลุมธนาคารดินในระดับบ้านเรือนได้ มูลนิธิวัดอินทาราม จึงทำโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อสมาชิกเลี้ยงวัวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดงจังหวัดสุรินทร์ เพื่อขุดหลุมดินทำธนาคารน้ำในบ้านสมาชิกธนาคารวัวหลวงพ่อแดงจังหวัดสุรินทร์ แก้ปัญหาการเกิดน้ำท่วมขังและน้ำทิ้งกลายเป็นน้ำเสียในชุมชน และสร้างพลังคนในชุมชนทำงานเป็นจิตอาสาด้วยหลักการ “บวร” (บ้าน-วัด-ราชการ) โดยมีสมาชิกที่ขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัว หลวงพ่อแดงมีธนาคารน้ำใต้ดินในครัวเรือนอย่างน้อย 1 หลุม, วัดในชุมชนมีธนาคารน้ำใต้ดินในวัดอย่างน้อย 5 หลุม โดยมีคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) บิณฑ์ และ เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ คณะศิษย์ และชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกิจกรรมสร้างธนาคารน้ำใต้ดินตามแนวพระราชดำริ ปัจจุบันมีกว่า 1,000 บ่อ

 

 

ซึ่งทำให้สมาชิกเลี้ยงวัวธนาคารวัว ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารวัวหลวงพ่อแดง มีธนาคารน้ำใต้ดินทุกครัวเรือน ไม่มีหลุมน้ำขังและยางรถยนต์ขวดขยะทิ้งจากของเหลือใช้ที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทำให้สภาพแวดล้อมในชุมชนสะอาดและลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกได้ ลดปริมาณขยะที่ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายในระยะยาวได้แก่ขยะที่มีอายุในการย่อยสลาย 10 – 20 ปี

 

“ธนาคารวัว และธนาคารน้ำใต้ดิน นอกจากจะช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจน สนองพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 ตอบสนองวิสัยทัศน์ประเทศไทย พ.ศ.2558 – 2563 “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” แล้วยังเกิดปรากฏการณ์ที่ดีงามสร้างความสามัคคีในชุมชนและความร่วมแรงของพลังบวร เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนอย่างมีทิศทางในการพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไป”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง