รีเซต

ดึงสติก่อนเชื่อ! ข่าวปลอมโควิดทำคนตาย 800 ราย

ดึงสติก่อนเชื่อ! ข่าวปลอมโควิดทำคนตาย 800 ราย
TNN ช่อง16
13 สิงหาคม 2563 ( 11:52 )
93

 วันนี้ ( 13 ส.ค. 63 )ผลการศึกษาใหม่ล่าสุดพบว่า ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จเกี่ยวกับโควิด19 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 800 คนทั่วโลก ในช่วงเวลาเพียง 3 เดือนแรกของปีนี้ และยังทำให้คนอีก 5,800 คนต้องบาดเจ็บเข้าโรงพยาบาล 

โดยผู้เสียชีวิตจำนวนมาก มีสาเหตุมากจากการดื่มแอลกอฮอล์ชนิดเมธานอล ซึ่งเป็นชนิดที่รับประทานไม่ได้ หรือผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่มีแอลกอฮอล์ เป็นส่วนผสม โดยข่าวปลอมทำให้พวกเขาเชื่อว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ สามารถรักษาโควิด19 ได้ 

ผลการศึกษาล่าสุดนี้ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Tropical Medicine and Hygiene (อเมริกัน เจอร์นัล ออฟ ทรอปิคอล เมดิซีน แอนด์ ไฮยีน) ระบุต่อไปว่า ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ คือผู้ที่ทำตามคำแนะนำทางการแพทย์ ที่ดูเหมือนเชื่อถือได้ เช่นให้รับประทานวิตามิน หรืออาหารที่เป็นสมุนไพร เช่นกระเทียม ในปริมาณมากๆ จะป้องกันโควิด-19 ได้ มีการแนะนำกระทั่งว่า ให้ดื่มน้ำปัสสาวะของวัว โดยข้อมูลที่ผิดๆ เหล่านี้ ล้วนผลร้ายต่อสุขภาพของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ 

ก่อนหน้านี้ องค์การอนามัยโลก หรือดับเบิลยูเอชโอ เคยเตือนว่า ข้อมูลข่าวสารแบบผิดๆ เกี่ยวกับโควิด19 ซึ่งดับเบิลยูเอชโอเรียกว่าเป็น “การระบาดของข่าวปลอม” เกี่ยวกับโควิด19 นั้น แพร่ระบาดไปรวดเร็วเสียยิ่งกว่าการระบาดของโควิด19 เอง ข่าวปลอมเหล่านี้ได้แก่ ทฤษฎีสมคบคิดต่างๆ เกี่ยวกับต้นตอการระบาดของโควิด19 , ข่าวลือต่างๆ รวมไปถึงวัฒนธรรมการตีตราทางสังคม ได้ทำให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บ ไม่ต่างจากตัวเชื้อโควิด19 เองด้วย

ข่าวปลอมยังนำไปสู่การทำร้าย การวางเพลิง และร้ายแรงที่สุด ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ยกตัวอย่างเช่น ข่าวลือทางออนไลน์ทำให้เกิดการรุมทำร้ายในอินเดีย และทำให้ประชาชนจำนวนมากได้รับพิษในอิหร่าน ในอังกฤษ วิศวกรของบริษัทโทรคมนาคมถูกคุกคามและทำร้าย เสาโทรศัพท์ถูกวางเพลิงในอังกฤษและอีกหลายประเทศ 

เมื่อเริ่มมีการพัฒนาวัคซีนโควิด19 กลุ่มคนที่ต่อต้านวัคซีน ได้ชักชวนคนผ่านทางเว็บโซเชียล มีเดีย ให้หยุดป้องกันตนเองจากโควิด19 

แม้แต่ “บิล เกตส์” เจ้าพ่อ “ไมโครซอฟต์” ยังไม่วายถูกเล่นงานด้วยทฤษฎีสมคบคิด และทำให้ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในสหรัฐพบว่า คนอเมริกัน 28 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่า บิล เกตส์ แอบฝังไมโครชิป ลงไปในวัคซีนโควิด19 ทั้งนี้ บิล เกตส์ได้ให้เงินทุนสนับสนุนการพัฒนาวัคซีน ผ่านทางมูลนิธิของเขา

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง