รีเซต

ทำความรู้จัก “วัดพระเขี้ยวแก้ว” สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองศรีลังกา

ทำความรู้จัก “วัดพระเขี้ยวแก้ว” สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองศรีลังกา
TNN ช่อง16
3 กรกฎาคม 2566 ( 14:45 )
137
ทำความรู้จัก “วัดพระเขี้ยวแก้ว” สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองศรีลังกา

“วัดพระเขี้ยวแก้ว” หรือ วัดศรีทัลฒามัลลิกาววิหาร  เป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (สยามวงศ์) ตั้งอยู่ริมทะเลสาบกัณฏิ เมืองกัณฏิ หรือ แคนดี  ประเทศศรีลังกา เป็นวัดที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวาของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้รับขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก 

 

 

วัดพระเขี้ยวแก้ว สร้างโดยพระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ 1 พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์สุดท้ายของประเทศศรีลังกา ในปี พ.ศ. 2138 โดยตัววัดตั้งอยู่ในพื้นที่ ๆ เคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังโบราณ เนื่องจากความเชื่อของชาวสิงหลที่เชื่อว่าผู้ที่รักษาพระเขี้ยวแก้วไว้ย่อมถือว่ามีสิทธิชอบธรรมในการเป็นปกครองอาณาจักรมาแต่โบราณ

 

ปัจจุบันวัดพระเขี้ยวแก้ว เป็นวัดที่อยู่ในความดูแลของพระมหาสังฆนายก สยามวงศ์ ซึ่งมีอยู่สองฝ่าย คือ ฝ่ายมัลลวัตตะ (คามวาสี) และอัสคิริยะ (อรัญวาสี) ซึ่งจะแบ่งกันปกครองรักษาพระเขี้ยวแก้วสลับกันทุกปี โดยพระเขี้ยวแก้วประดิษฐานในพระสถูปประดับอัญมณีขนาดใหญ่ซ้อนกันหลายชั้น 

ความสำคัญของวัดนี้ เนื่องจาก เป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว พระทันตธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลังกา พระเขี้ยวแก้ว เพียงองค์เดียวที่ปรากฏบนโลกมนุษย์โดยมีหลักฐานรองรับความถูก ต้องตรงตามพระคัมภีร์มหาวังศา ด้วยว่าพระทันตธาตุหลังจากการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ และ นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9

พระเขี้ยวแก้วได้ประดิษฐานอยู่บนแผ่นดินแห่งนี้มาโดยตลอด ไม่เคยถูกนำออกนอกดินแดนเลยตั้งแต่ถูกอัญเชิญมาจากชมพูทวีปเมื่อ กว่า 1,700 ปีก่อน ชาวศรีลังกาต่างถวายเคารพต่อพระทันตธาตุอย่างสูงสุด โดยเชื่อกันว่าหากเมื่อใดพระเขี้ยวแก้วถูกนำออกนอกเกาะลังกาแล้ว จะนำภัยพิบัติมาสู่ประเทศชาติและยังเชื่อว่าหากเมื่อใดที่เกิดทุกข์ภัยขึ้น การเปิดอัญเชิญ พระเขี้ยวแก้ว ออกให้ผู้คนสักการบูชาจะสามารถขจัดเภทภัยต่างๆ ได้

 

เทศกาลแห่พระเขี้ยวแก้วคืออะไร?

 

เทศกาลแห่พระเขี้ยวแก้ว หรือ  ขบวนแห่พาราเฮร่า เป็นการนํา พระเขี้ยวแก้ว ออกมาแห่ให้พุทธศากนิกชน ท่ัวสารทิศได้กราบสักการะบูชาบูชา จุดเด่นของการแห่พระเขี้ยวแก้ว  ขบวนแห่ท่ีมีช้างจํานวน 100 กว่าเชือก 

ภายในขบวนยังมีการแสดงระบำแคนเดี้ยน (KANDYDANCE) เป็นการแสดงทางวัฒนธรรมท่ีมีชื่อเสียง ในรูปแบบศิลปะการเต้นระบําต้นตํารับของศรีลังกา โดยพิธีนี้จะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคมของทุกปี นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ว่าหากฝนแล้งจะมีการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วเพื่อมาแห่ขอฝน เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากอีกด้วย 

 

ข้อมูลจาก  : รวบรวมโดย TNN ONLINE 

ภาพจาก :  เพจ Sri Dalada Maligawa

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง