รีเซต

เปิดรายชื่อ "นายกรัฐมนตรีของไทย" ดำรงตำแหน่งนานแค่ไหน มีผลงานสำคัญอะไรบ้าง?

เปิดรายชื่อ "นายกรัฐมนตรีของไทย" ดำรงตำแหน่งนานแค่ไหน มีผลงานสำคัญอะไรบ้าง?
TNN ช่อง16
18 พฤษภาคม 2566 ( 17:00 )
228
เปิดรายชื่อ "นายกรัฐมนตรีของไทย" ดำรงตำแหน่งนานแค่ไหน มีผลงานสำคัญอะไรบ้าง?

เปิดรายชื่อ "นายกรัฐมนตรีของไทย" ตั้งแต่คนแรกจนถึงปัจจุบัน แต่ละคนดำรงตำแหน่งนานแค่ไหน มีผลงานสำคัญอะไรบ้าง?


ณ วันนี้ประเทศไทยได้มีนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น รวม 29 คน และ กำลังจะมีนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ซึ่งจะมีใครบ้าง และ ท่านใดดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียาวที่สุดในประเทศไทย ไปดูกันเลย



พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (วันเข้ารับตำแหน่ง 09 มิถุนายน 2562 - ปัจจุบัน)

ประวัติ

เกิดวันที่ 21 มีนาคม 2497  ณ ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน คนหนึ่งคือ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก สมรสกับ รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา อาจารย์ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรสาวฝาแฝด 2 คน


การศึกษา
พ.ศ. 2514 – โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12
พ.ศ. 2519 – โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23
พ.ศ. 2519 - หลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 51
พ.ศ. 2524 – หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 34
พ.ศ. 2528 – หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 63
พ.ศ. 2550 – หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2533 – ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน 2 รอ.)
พ.ศ. 2541 – ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 รอ.)
พ.ศ. 2546 – ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล. ร 2 รอ.)
พ.ศ. 2549 – แม่ทัพภาคที่ 1 (มทภ. 1 )
พ.ศ. 2551 – เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.)
พ.ศ. 2552 – รองผู้บัญชาการทหารบก (รอง ผบ.ทบ.)
พ.ศ. 2553 – ผู้บัญชาการการทหารบก (ผบ.ทบ.)
พ.ศ. 2557 – หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2529 – เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
พ.ศ. 2533 – เหรียญรามมาลา เข็มกล้ากลางสมร
พ.ศ. 2542 – ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว)
พ.ศ. 2548 – ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2551 – มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2553 – มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)


เครื่องราชอิสริยาภรณ์/เครื่องอิสริยาภรณ์ ต่างประเทศ
พ.ศ. 2554 – Honorary Malaysian Armed Forces Order for Valour (First Degree)
Gallant Commander of Malaysian Armed Forces (มาเลเซีย)
พ.ศ. 2555 – Pingat Jasa Gemilang (Tentera) (สาธารณรัฐสิงคโปร์)
พ.ศ. 2555 – Bintanng Kartika Eka Pakci Utama (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย)
พ.ศ. 2556 – Region of Merit (Degree of Commander) (สหรัฐอเมริกา)

ราชการพิเศษ ถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท
พ.ศ. 2530 – มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ราชองครักษ์เวร
พ.ศ. 2542 – ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารเสริมกำลังพิเศษ
พ.ศ. 2444 – ปฏิบัติหน้าที่ รองหัวหน้านายทหารเสริมกำลังพิเศษ
พ.ศ. 2552 – มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ราชองรักษ์พิเศษ
พ.ศ. 2555 – มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ตุลาการศาลทหารสูงสุด

ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายทหารพิเศษฯ ประจำหน่วย
พ.ศ. – 2545 นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
พ.ศ. – 2547 นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
พ.ศ. – 2549 นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ
พ.ศ. – 2554 นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ฯ

รางวัลทางสังคม
พ.ศ. 2548 – ได้รับรางวัลคนดีสังคมไทย สาขาส่งเสริมและพัฒนาความมั่นคงของชาติ
พ.ศ. 2549 – รางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาการทหาร
พ.ศ. 2553 – รางวัลมหิดลวรานุสรณ์ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. 2554 – ได้รับการลงคะแนนให้เป็นอันดับ 1 สุดยอดซีอีโอของภาคราชการและเจ้าหน้าที่รัฐแห่งปี 2554



 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (วันเข้ารับตำแหน่ง 05 สิงหาคม 2554 - 07 พฤษภาคม 2557)


ประวัติ

เกิดวันนี้  21 มิถุนายน 2510 เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 และนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ด้วยวัย 44 ปีถือเป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่อายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปี


ประวัติการศึกษา     

2533 Master of Public Admin Kentucky State University , U.S.A.
2531 ปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ประวัติการทำงาน     

2549 : ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในประเทศไทยและได้รับการจัด อันดับจากคณะกรรมการบรรษัทภิบาล ของตลาดหลักทรัพย์ ให้อยู่ในกลุ่ม"ดีเลิศ" ของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภาพลักษณ์และสินค้า ประสบความสำเร็จในการ Re-Branding จากภาพลักษณ์บริษัทเทเลคอม เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างชัดเจน รวมทั้งปรับรูปแบบสินค้าและบริการของบริษัทให้ตรงต่อ ความต้องการของลูกค้าซึ่งสามารถทำให้ผลประกอบการของบริษัทเพิ่มขึ้นถึง 30% อย่างต่อเนื่องทุกปี ประสบความสำเร็จในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ส่งเสริมให้พนักงานมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยม และนำค่านิยมสู่การปฏิบัติงานทุกจุดบริการ การบริหารจัดการ ปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความเหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจ เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ เปิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อบริษัท ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจ เช่น ระบบ SC System (กระบวนการก่อสร้างและต้นทุนการก่อสร้าง) กระบวนการ CRM และกระบวนการบริการ
ประสบการณอื่นๆ : มีประสบการณ์ในธุรกิจบริหารทรัพย์สิน และธุรกิจกอล์ฟ
2545 : ประธานกรรมการ บริษัท แอ็ดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
2544 : กรรมการผู้อำนวยการอาวุโส-สายงานการวางแผนธุรกิจโทรคมนาคมไร้สาย บริษัท แอ็ดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
2542 : กรรมการผู้อำนวยการ - สายงานปฏิบัติการ สินค้าและบริการ บริษัท แอ็ดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
2540 : Vice President - Shinawatra Directories Production บริษัท ชินวัตร ไดเร็คทอรี่ส์ จำกัด
2538 : General Manager - Shinawatra Directories Production
2537 : บริษัท เรนโบว์ มีเดียส์ จำกัด ผู้จัดการทั่วไป
2536 : บริษัท ชินวัตร ไดเร็คทอรี่ส์ จำกัด Production Director
การฝึกอบรมและสัมมนา 2554 : Capital Market Academy (วตท.) รุ่นที่ 12
2550 : New Culture on Brand
2549 : Executive Committee Program
- Director Accreditation Program- Finance for Non
- Finance Director- Director Certification Program
2548 : Mastery Development Program
: Executive Shared Learning Forum
2547 : Leadership Through TQM
2546 : Continuous Process Quality Improvement for Executive
2545 : Program for Management Development Harvard Business School ( USA )
: Executive Coaching Program
2544 : The 4 Roles of Leadership
: Balanced Scorecard for Executive Program
: Broadening the Manager's skill
2542 : Problem Solving & Decision Making
2540 : Financial Management for Executive Program
2539 : The Managerial Grid
2538 : Financial Management Program
: Mini MBA ( Chulalongkorn University )
2537 : Leadership Personality in Global Business
2536 : Effective Presentation Skill
2535 : Objective Setting Workshop
2534 : Advanced Marketing




นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (วันเข้ารับตำแหน่ง 17 ธันวาคม 2551 - 05 สิงหาคม 2554)


ประวัติ

เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 สถานภาพ     สมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ  เวชชาชีวะ มีบุตรจำนวน 2 คน


ประวัติการศึกษา    

ประถมศึกษา : โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์
มัธยมศึกษา : โรงเรียนอีตัน ประเทศอังกฤษ
ปริญญาตรี : สาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดประเทศอังกฤษ : สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญาโท : สาขาเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ดประเทศอังกฤษ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


ประวัติการทำงาน 

ปี 2535 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 6 (สาธร, ยานนาวา, บางคอแหลม พ.ศ.2535/1, 2535/2) กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
ปี 2538 และปี 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 (ดินแดง, ห้วยขวาง, พระโขนง, คลองตัน) กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
ปี 2544 และ ปี 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
ปี 2550 (23 ธ.ค.50) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วนกลุ่ม 6 พรรคประชาธิปัตย์
ปี 2535-2537 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปี 2537-2538 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ปี 2538-2539 ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
ปี 2538-2540 โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ปี 2540-2544 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบ
- กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวง
ราชการ
- กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
- กำกับสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปี 2541 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ปี 2542 รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปี 2548 – 23 กุมภาพันธ์ 2549 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ปี 2548 - ปัจจุบัน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
27 กุมภาพันธ์ 2551 -16 ธันวาคม 2551 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
17 ธันวาคม 2551 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ปี 2541
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ปี 2542




นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

 


นายกรัฐมนตรีคนที่ 26 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (วันเข้ารับตำแหน่ง 18 กันยายน 2551 - 02 ธันวาคม 2551)


ประวัติ

วันเกิดวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 จังหวัดนครศรีธรรมราช สถานภาพ ครอบครัว สมรสกับ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ มีบุตร 3 คน


ประวัติการศึกษา

2513 นิติศาสตร์บัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2516 เนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
2539 ปริญญาบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38
2545 รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิตสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


ประวัติการทำงาน     

18 กันยายน 2551 นายกรัฐมนตรี
6 กุมภาพันธ์ 2551 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน กรรมการเนติบัณฑิตไทยสภาในพระบรมราชูปถัมภ์
มี.ค. - ก.ย.49 ปลัดกระทรวงแรงงาน
พ.ย.42 - มี.ค.49 ปลัดกระทรวงยุติธรรม
ปี 2541 รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
ปี 2540 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 2
ปี 2536 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
ปี 2533 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี
ปี 2532 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี
ปี 2531 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี
ปี 2530 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง
ปี 2529 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพังงา
ปี 2526 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย
ปี 2520 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่
ปี 2519 ผู้พิพากษาศาลแขวงเชียงใหม่
ปี 2518 ผู้พิพากษาประจำกระทรวง
ปี 2517 ผู้ช่วยผู้พิพากษา กระทรวงยุติธรรม
ปี 42 - 49 ประธานกรรมการ สภาวิจัยแห่งชาติสาขานิติศาสตร์
ประธานการมการ ตรวจสอบทรัพย์สินผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ
กรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
กรรมการ บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
กรรมการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
กรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
กรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.)
กรรมการ คณะกรรมการกฤษฎีกา
กรรมการ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
กรรมการ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
กรรมการ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
กรรมการ คณะกรรมการอัยการ (กอ.)
กรรมการ คณะกรรมการตุลาการ
กรรมการ คณะกรรการข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ
กรรมการ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

ปี 2542 เหรียญจักรพรรติมาลา (จ.ม.ร.)
ปี 2540 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
ปี 2535 มหาวชิรมงกุฎไทย(ม.ว.ม.)
ปี 2532 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
ปี 2529 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
ปี 2527 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
ปี 2523 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)



นายสมัคร สุนทรเวช

 


นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 นายสมัคร สุนทรเวช (วันเข้ารับตำแหน่ง 29 มกราคม 2551 - 09 กันยายน 2551)


ประวัติ

เกิดวันที่ 13 มิถุนายน 2478 เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (2550) เป็นหัวหน้าพรรคประชากรไทย (2522-2543) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (เขต1) ดุสิต บิดา คื  เสวกเอกพระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช)
มารดา คือ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน – สกุลเดิม จิตรกร)

สถานภาพ สมรสกับคุณหญิงสุรัตน์ (นาคน้อย)เมื่อพ.ศ. 2511 มีบุตรีฝาแฝด 2 คน
1. นางกาญจนากร (สุนทรเวช)ไชยสาส์น จบมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ABAC / MBA. มหาวิทยาลัยฮาร์ทฟอร์ด USA. CONN.ปัจจุบันทำงานอยู่ฝ่ายการเงินของ ป.ต.ท. (สผ.)
2. นางสาวกานดาภา สุนทรเวช จบคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / MBA.


การศึกษา     

ก่อนประถม - โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม
ประถม - โรงเรียนเทเวศร์ศึกษา
มัธยม - โรงเรียนเซ็นต์คาเบรียล
อาชีวะ - โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
อุดมศึกษา - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศึกษาเพิ่มเติม - คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- BRYANT &STRATTON INSTITUTE, CHICAGO, U.S.A.
ประกาศนียบัตร - ประกาศนียบัตร A.C.C. (โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์)
และปริญญา - นิติศาสตร์บัณฑิต
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพมัคคุเทศก์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)


งานด้านการเมือง    

 - สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2511-2519)
- กรรมการผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มหนุ่มพรรคประชาธิปัตย์
- สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพ (ได้รับเลือกตั้งเมื่อ 15 ส.ค. 2519)
- สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 10 ธ.ค. 2516)
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 23 ธ.ค. 2516)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (ได้รับเลือกตั้งเมื่อ 25 ม.ค. 2518, 4 เม.ย. 2519 , 22 เม.ย.2522 ,
18 เม.ย. 2526 , 27 ก.ค. 2529 , 24 ก.ค. 2531 , 22 มี.ค. 2535 , 13 ก.ย. 2535 , 2 ก.ค. 2538 และ
17 พ.ย. 2539)
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2518)
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519-2520)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2526-2529)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2533-2534)
- รองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2535)
- รองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2538-2539)
- รองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2539-2540)
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2543-2547)
- สมาชิกวุฒิสภา กทม. (พ.ศ. 2549)
- นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2551)
และเคยเป็น
- กรรมาธิการตรวจรายงานการประชุม (พ.ศ. 2516-2518)
- ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน (พ.ศ. 2523-2526)
- ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง (พ.ศ. 2529-2531)
- ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2531-2533)
- ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ. 2535-2538)
- กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ. 2518, 2519, 2520, 2521,
2523, 2524, 2526, 2527 และ 2528

การปฏิบัติหน้าที่และดูงานต่างประเทศ
- เป็นรัฐมนตรีขึ้นกล่าวปราศรัยในที่ประชุม I.L.O. ณ ที่ประชุมองค์การสหประชาชาติ กรุงเจนีวา ในการประชุม
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2520
- ดูงานทั่วไปในอิสลาเอล พ.ศ. 2517
- ดูงานด้านการเกษตรและอาวุธในอิสลาเอล พ.ศ. 2520
- ดูงานด้านการตำรวจและโครงการผันน้ำ SNOWY MOUNTAIN ในประเทศออสเตรเลีย
- ผู้แทนประทศไทยร่วมประชุม รมต.แรงงานอาเซี่ยนที่ นครมนิลา-ฟิลิปปินส์
- ดูงานบริษัท การบินของประเทศญี่ปุ่น
- ผู้แทนรัฐบาลไทยร่วมประชุม รมต.สังคม ณ กรุงจาการ์ต้า อินโดนีเซีย
- ดูงานการเคหะแห่งชาติ-สิงค์โปร์
- ผู้แทนรัฐบาลไทยร่วมประชุม และดูงานประเทศแคนาดา
- ผู้แทนรัฐบาลไทยร่วมประชุมสหภาพไปรษณีย์สากล ณ นครฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมันนี
- ร่วมประชุมกับ รมต.พาณิชย์ฝรั่งเศส และดูงานบริษัท แอร์บัสอินดัสตรี้ ประเทศฝรั่งเศส
- ร่วมประชุมกับ รมต.คมนาคมที่กรุงสอนดอน ประเทศอังกฤษ
- ร่วมประชุม และดูงานด้านโทรคมนาคม กับหลายหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา และทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุม
ในการประชุมด้านการคมนาคม และขนส่ง ของแอสแคปในประเทศไทย
- ดูงานด้านการเศรษฐกิจใน 5 รัฐ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ดูงานด้านการคมนาคม และโทรคมนาคมในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมันนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ
- เป็นผู้แทนประเทศไทย (แทนนายกรัฐมนตรี) ปราศรัย ณ ที่ ประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติ (ในการประชุม
EARTH SUMMIT เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540)
- ประชุมและดูงานในประเทศเมื่อเป็นผู้ว่าฯ กทม. 4 ปี


เครื่องราชอิสริยาภรณ์     

- ตริตาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ.2517
- ตริตาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ.2519
- ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ.2519
- รัตนาภรณ์ (ขั้นที่2) พ.ศ.2520
- ประถมาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ.2522
- ประถมภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. 2524)
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. 2526)
- ทุติยจุลจอมเกล้า (พ.ศ. 2527)
- มหาวชิรมงกุฎ (พ.ศ. 2527)
- ประถมดิเรกคุณาภรณ์ (พ.ศ. 2540)
- ทุติยจุลจอมเกล้าฯวิเศษ (พ.ศ. 2545) อ่านเพิ่มเติมคลิกที่นี่





พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ (วันเข้ารับตำแหน่ง 01 ตุลาคม 2549 - 29 มกราคม 2551)

ประวัติ

วันที่เกิด/สถานที่ 28 สิงหาคม 2486  สถานภาพ สมรสกับ พ.อ.หญิง คุณหญิง จิตรวดี จุลานนท์ (สกุลเดิม "สันทัดเวช")


การศึกษา     

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์
โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
โรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 1
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 12
- โรงเรียนศูนย์การทหารราบ
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา
- หลักสูตรการบริหารทรัพยากร กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 36 (2536)


ประวัติการทำงาน     

พ.ศ. 2508 ประจำศูนย์การทหารราบ
พ.ศ. 2509 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 1 กรมผสมที่ 31
พ.ศ. 2513 ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยรพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่ 2
พ.ศ. 2515 ครูโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ
พ.ศ. 2521 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมผสมที่ 23
พ.ศ. 2526 ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 กองพลรบพิเศษที่ 1
พ.ศ. 2532 ผู้บัญชาการกองรบพิเศษที่ 1
พ.ศ. 2535 ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
พ.ศ. 2537 แม่ทัพภาคที่ 2
พ.ศ. 2540 ที่ปรึกษาพิเศษ กองทัพบก
พ.ศ. 2540 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
พ.ศ. 2541–2545 ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2545–2546 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี
พ.ศ. 2546 กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล


ตำแหน่งพิเศษ 

พ.ศ. 2526 ราชองค์รักษ์เวร
นายทหารคนสนิท นายกรัฐมนตรี (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)
พ.ศ. 2531 นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2535 และ 2539 สมาชิกวุฒิสภา ครั้งที่ 1 และ 2
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกล้าหาญ
พ.ศ. 2517 เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
พ.ศ. 2533 เหรียญกล้าหาญ รามาธิบดี (รามมาลา)
พ.ศ. 2535 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2538 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2539 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
พ.ศ. 2544 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ




พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

 


นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (วันเข้ารับตำแหน่ง 09 กุมภาพันธ์ 2544 - 19 กันยายน 2549 )

ประวัติ   

วันเกิด 26 กรกฏาคม 2492 ที่ จังหวัดเชียงใหม่ สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ


การศึกษา 

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
อุดมศึกษา
- พ.ศ. 2512 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10
- พ.ศ. 2516 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 โดยสอบได้คะแนน เป็นที่ 1
ปริญญาโท
- ได้รับทุนรัฐบาล (ทุน ก.พ.) Eastern Kentucky University สหรัฐอเมริกา สาขา Criminal Justice
ปริญญาเอก
- Sam Houston State University สหรัฐอเมริกา สาขา Criminal Justice


ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่ 54 : นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 9 มีนาคม 2548 โดยอายุสภาฯสิ้นสุดครบวาระ 4 ปี5 ม.ค.2548 วันแถลงนโยบาย 26 กุมภาพันธ์ 2544
ครม.คณะที่ 55 : นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 มีนาคม 2548 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยรัฐประหารนำโดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน วันแถลงนโยบาย 23 มีนาคม 2548


ประวัติการทำงาน     

พ.ศ. 2541 - 2543 ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยและดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคไทยรักไทย
พ.ศ. 2539 - 2540 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี (ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ)
- เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานด้านจราจร (ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชา)
- เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม
พ.ศ. 2537 - 2538 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ
พ.ศ. 2530 - 2537 ลาออกจากราชการเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว ประธานกรรมการ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด
พ.ศ. 2516 - 2530 รองผู้กำกับการนโยบายและแผนงาน/ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล


บทบาททางสังคม    

 รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิสภามหาวิทยาลัย 6 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
เป็นผู้ก่อตั้ง มูลนิธิไทยคม และ เป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดที่จะนำ ดาวเทียมสื่อสาร "ไทยคม" มาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษา ผ่านดาวเทียม เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กชนบทผู้ยากไร้ที่ไม่สามารถ เรียนต่อ ได้มีโอกาสเรียนต่อในท้องถิ่นของตนเอง ทั้งนี้โดยได้ รับความร่วมมือจากกรม การศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการอำนวยการ สถาบันเอเชียการศึกษา
ปี 2538 - ปัจจุบัน
- กรรมการสภาที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- กรรมการที่ปรึกษา BANGKOK CLUB
- กรรมการอำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รางวัลเกียรติคุณ
2539 - ได้รับรางวัล "Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards" จาก Criminal Justice Center, Sam Houston State University และได้รับรางวัล "Distinguished Alumni Award" จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2539 - 2538
- ได้รับคัดเลือกไปเป็น 1 ใน 3 คนไทยดีเด่นซึ่งมีบทบาท สำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและฟิลิปปินส์ เข้ารับรางวัลจากสถานฑูตฟิลิปปินส์
2537
- ได้รับรางวัล "บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคมเพื่อ สังคมของประเทศไทย ประจำปี 2536" จากสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย
- ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times ให้ เป็น 1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย
- ได้รับคัดเลือกจากนิตยสาร Financial World ที่มีชื่อเสียงของ สหรัฐอเมริกาให้เป็นหนึ่งใน Asian CEO of the Year ได้รับพระราชทานปริญญา วารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ได้รับคัดเลือกให้เป็นคนไทยคนแรกและเป็นบุคคลที่ 3 ที่ ได้รับทุน "Lee Kuan Yew Exchange Fellowship" จากประเทศสิงคโปร์
2535
- ได้รับรางวัล "1992 Asean Business Man of the Year" จาก Asean Institute ประเทศอินโดนีเซีย
- ได้รับรางวัล "เกียรติยศจักรดาว" ด้านพัฒนาเศรษฐกิจจาก คณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียนเตรียมทหาร

พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 22 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (วันเข้ารับตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน 2539 - 08 พฤศจิกายน 2540)

ประวัติ 

วันเกิด 15 พฤษภาคม 2475 ที่ จังหวัดนนทบุรี สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2531 นาวิกโยธิน กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียน นายเรืออากาศ, กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองพันอากาศโยธิน, รักษาพระองค์ กรมอากาศโยธิน


การศึกษา     

พ.ศ. 2496 โรงเรียนนายร้อยพระจุลอมเกล้า
พ.ศ. 2505 หลักสูตรผู้บังคับกองพัน โรงเรียนทหารสื่อสาร
พ.ศ. 2506 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2507 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
ฟอร์ท ลีเวนเวินร์ธ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2511 สำเร็จหลักสูตรกระโดดร่มชั้น Novice ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2511 สำเร็จหลักสูตรกระโดดร่มนายทหาร ชั้นผู้ใหญ่ (รุ่นที่ 2)


ประวัติการทำงาน     

พ.ศ. 2531 นาวิกโยธิน กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียน
นายเรืออากาศ, กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองพันอากาศโยธิน, รักษาพระองค์ กรมอากาศโยธิน
พ.ศ. 2530 ตุลาการทหารสูงสุด, นายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน
- นายทหารพิเศษ กองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
- นายทหารพิเศษ กองบัญชาการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์
- นายทหารพิเศษ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
พ.ศ. 2530 รักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการทหารสูงสุดกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2529 ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2529 นายทหารพิเศษ กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
- นายทหารพิเศษ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- นายทหารพิเศษ กรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าฯ
พ.ศ. 2528 เสนาธิการทหารบก (พลเอก)
พ.ศ. 2526-2533 สมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. 2526 กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2526 รองเสนาธิการทหารบก, ผู้อำนวยการศูนย์ยุทธการ กองทัพบก
- หัวหน้าฝ่ายยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ
- ราชองครักษ์พิเศษ
- นายทหารพิเศษ กรมมหาดเล็กที่ 31
- นายทหารพิเศษ กรมทหารราบที่ 1
พ.ศ. 2525 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
พ.ศ. 2524 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2524 ประธานกรรมการ คณะกรรมการศึกษาเรื่องพลังงานทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2524 หัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองอำนวยการร่วมรักษาความสงบแห่งชาติ
พ.ศ. 2524 เจ้ากรม กรมยุทธการทหารบก
พ.ศ. 2522 นายทหารคนสนิทรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก เปรม ติณสูลานนท์) และประจำกองบัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2512-2515 ปฏิบัติราชการพิเศษปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
พ.ศ. 2511 นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกรม กรมยุทธการทหารบ
พ.ศ. 2510 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กรมทหารอาสาสมัคร
พ.ศ. 2510 ปฏิบัติราชการสงครามเวียดนาม
พ.ศ. 2503 ผู้บังคับกอง กองร้อยซ่อมบำรุงเครื่องสื่อสารเขต
พ.ศ. 2494 ปฏิบัติราชการพิเศษกรณีปราบจลาจล
- ปฏิบัติราชการพิเศษในการยับยั้งการรุกรานของฝ่ายคอมมิวนิสต์


บทบาททางการเมือง 

- 30 มี.ค 2533 -21 มิ.ย 2533 รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม (สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย)
- 25 ต.ค. 2535 - ปัจจุบัน หัวหน้าพรรคความหวังใหม่
- 2535/1-2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นนทบุรี เขต 1 พรรคความหวังใหม่
- 15 พ.ค. 2535 - 12 ก.ย.2535 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
- 29 ก.ย. 2535 - 11 ธ.ค. 2537 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (สมัยรัฐบาล ชวน 1-2)
- 23 ก.ย.2536 - 7 ม.ค.2537 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม
- 14 ก.ค. 2537 - 25 ต.ค. 2537 รองนายกรัฐมนตรี
- ผู้รับกระแสพระราชดำรัสให้ดำเนินการโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือโครงการอีสานเขียว โครงการพัฒนาดอยตุง โครงการฮารับปันมารู
- ก.ค. 2538 - ก.ย. 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นครพนม เขต 1 พรรคความหวังใหม่
- 18 ก.ค. 2538 - ก.ย. 2539 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม (สมัยรัฐบาลนายบรรหาร)
- 2538 - ปัจจุบัน ประธานการกีฬาแห่งประเทศไทย
- 17 พ.ย. 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นครพนม เขต 1 พรรคความหวังใหม่
- 25 พ.ย. 2539 นายกรัฐมนตรีคนที่ 22 ของประเทศไทย
- 29 พ.ย. 2539 - พ.ย. 2540 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม




นายบรรหาร ศิลปอาชา

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 นายบรรหาร ศิลปอาชา (วันเข้ารับตำแหน่ง 13 กรกฎาคม 2538 - 25 พฤศจิกายน 2539)

ประวัติ 

วันเกิด 19 สิงหาคม 2475 ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ ครม.คณะที่ 51 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 13 กรกฎาคม 2538 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 โดยรัฐบาลยุบสภา 27 ก.ย.2539 เลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 26 กรกฎาคม 2538 


การศึกษา     

- พ.ศ.2517 ปริญญาโททางด้านกฏหมาย มหาวิทยาลัยรามคำแหง


ประวัติการทำงาน     

พ.ศ.2538 นายกรัฐมนตรี
พ.ศ.2536 - 2538 หัวหน้าพรรคชาติไทย
พ.ศ.2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
พ.ศ.2533 - 2534 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
พ.ศ.2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.2531 - 2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ.2529 -2531 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
พ.ศ.2523-2524 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ.2523 เลขาธิการพรรคชาติไทย
พ.ศ.2519 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. 2518 วุฒิสมาชิก



นายชวน หลีกภัย

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 20 นายชวน หลีกภัย (วันเข้ารับตำแหน่ง 23 กันยายน 2535 - 13 กรกฎาคม 2538)

ประวัติ 

เกิดวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ครม.คณะที่ 50 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 23 กันยายน 2535 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 13 กรกฎาคม 2538 โดยรัฐบาลยุบสภา 19 พ.ค.2538 เลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 21 ตุลาคม 2535


การศึกษา     

ประถมศึกษา โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง
มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตสภา สมัยที่ 17
พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร


ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่ 50 : นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 23 กันยายน 2535 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 13 กรกฎาคม 2538 โดยรัฐบาลยุบสภา 19 พ.ค.2538 เลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 21 ตุลาคม 2535
ครม.คณะที่ 53 : นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 โดย รัฐบาลยุบสภา 9 พ.ย.2543 เลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 20 พฤศจิกายน 2540


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 50 : 23 กันยายน 2535 - 12 กรกฎาคม 2538
สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 53 : 9 พฤศจิกายน 2540 - 17 พฤศจิกายน 2543


ประวัติการทำงาน 

ทนายความ


บทบาททางการเมือง 

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2523 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2524 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
พ.ศ. 2525-2526 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2526-2529 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2529-2531 ประธานสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2531-2532 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2533 รองนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2535-2538 นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2539 - 2540 ผู้นำฝ่ายค้าน
9 พฤศจิกายน 2540 - 2544 นายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

พ.ศ. 2522 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2523 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2524 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2525 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2539 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
พ.ศ. 2541 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต่างประเทศ 

พ.ศ. 2536 Order of Sukatuna (Special Class), Raja สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2542 Order of the Sun (Grand Cross) สาธารณรัฐเปรู
พ.ศ. 2542 Grand Cross of the Order of Christ สาธารณรัฐโปรตุเกส
พ.ศ. 2543 Jose Dolores Estrada, Batalla de San Jacinto (Gran Cruz) สาธารณรัฐนิการากัว
พ.ศ. 2543 Romania's Star - The High Cross ประเทศโรมาเนีย


 พลเอกสุจินดา คราประยูร

นายกรัฐมนตรีคนที่ 19 พลเอกสุจินดา คราประยูร (วันเข้ารับตำแหน่ง 07 เมษายน 2535 - 10 มิถุนายน 2535)


ประวัติ
เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2476 ต.บ้านช่างหล่อ อ.บางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นบุตรของนายจวงกับนางสมพงษ์ คราประยูรสมรสกับ คุณหญิงวรรณี คราประยูร(หนุนภักดี)


การศึกษา     

โรงเรียนวัดราชบพิธ
โรงเรียนอำนวยศิลป์
เตรียมแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หลักสูตรเวสท์ปอยต์รุ่นที่ 5
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
สำเร็จหลักสูตรเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 44 จากฟอร์ท ลีเวนเวิร์ธ สหรัฐอเมริกา


ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่ 48 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 7 เมษายน 2535 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 10 มิถุนายน 2535 โดยลาออก เพราะเกิดจลาจลพฤษภาทมิฬ วันแถลงนโยบาย 6 พฤษภาคม 2535


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 48 : 7 เมษายน 2535 - 9 มิถุนายน 2535


ประวัติการทำงาน 

พ.ศ. 2505 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21
พ.ศ. 2513 หัวหน้าฝ่ายยุทธการกองทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
พ.ศ. 2524 รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก
พ.ศ. 2525 เจ้ากรมยุทธการทหารบก
พ.ศ. 2529 รองเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2530 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2532 รองผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2533 ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2534 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด


บทบาททางการเมือง 

2 กรกฎาคม 2524 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
24 เมษายน 2524 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
23 กุมภาพันธ์ 2534 รองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
7 เมษายน 2535 ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนที่ 19
24 พฤษภาคม 2535 ลาออกจากตำแหน่ง



นายอานันท์ ปันยารชุน

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 18 นายอานันท์ ปันยารชุน (วันเข้ารับตำแหน่ง 02 มีนาคม 2534 - 07 เมษายน 2535)

ประวัติ 

นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดวันที่ 9 สิงหาคม 2475 สมรสกับ ม.ร.ว. สดศรี(จักรพันธุ์) ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2498 เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2502-2507 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ


การศึกษา     

กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
โรงเรียนดัลลิชคอลเลจ ประเทศอังกฤษ
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ปริญญาตรี (เกียรตินิยม)
สาขากฎหมายในปี 2498
โรงเรียนกฏหมายกระทรวงยุติธรรม


ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่ 47 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 2 มีนาคม 2534 โดยประธาน รสช.เห็นชอบ นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 7 เมษายน 2535 โดยมีการเลือกตั้งทั่วไปตาม รธน.2534 วันแถลงนโยบาย 4 เมษายน 2534  
ครม.คณะที่ 49 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 10 มิถุนายน 2535 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 23 กันยายน 2535 โดย รัฐบาลยุบสภา 30 มิ.ย.2535 เลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 22 มิถุนายน 2535


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 47 : 2 มีนาคม 2534 - 22 มีนาคม 2535
สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 49 : 10 มิถุนายน 2535 - 22 กันยายน 2535


ประวัติการทำงาน 

พ.ศ. 2498 เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. 2502-2507 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. 2503 ได้รับตำแหน่งเลขานุการเอกคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ค
พ.ศ. 2510-2515 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ และเอกอัครราชทูตประจำประเทศแคนาดา
พ.ศ. 2515-2518 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา และผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ค
พ.ศ. 2519 รับตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศและตำแหน่งสุดท้ายทางราชการคือ เอกอัครราชทูตประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
พ.ศ. 2520-2521 และตำแหน่งสุดท้ายทางราชการคือ เอกอัครราชทูตประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
พ.ศ. 2522 เข้าร่วมงานกับกลุ่มบริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด
พ.ศ. 2523 รับตำแหน่งอุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมไทย
พ.ศ. 2525-2526 เป็นประธาน ASEAN TASK FORCE
พ.ศ. 2525-2527 ดำรงตำแหน่งสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน
พ.ศ. 2530-2533 รับเลือกตั้งเป็นรองประธานสภาฯ
พ.ศ. 2533 ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ THE WORLD MANAGEMENT COUNCIL (CLOS)
พ.ศ. 2534 รับเป็นกรรมการ THE BUSINESS COUNCIL FOR SUSTAINABLE DEVELOPMENT (BCSD)
พ.ศ. 2535 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2535


บทบาททางการเมือง 

2 มีนาคม 2534 ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 18
10 มิถุนายน 2535 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง


ผลงานที่สำคัญ 

- การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
- การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบข้าราชการ
- การริเริ่มที่จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน
- การส่งเสริมตลาดทุน
- การส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีในอุตสาหกรรม นโยบายการค้าเสรี ภายใต้การแข่งขันอย่างเป็นธรรม
- การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า
- การปรับปรุงการสรรพสามิตให้สอดคล้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุน การเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ประจำปี 2534
- การให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนารัฐวิสาหกิจมากขึ้น
- การพัฒนาชนบท การเกษตร และการปฏิรูปที่ดิน
- การเร่งรัดโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรศัพท์และโทรคมนาคม
- การปรับปรุงท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2
- การพัฒนาระบบอุดมศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว
- การดำเนินงานการขยายโอกาสทางการศึกษา
- การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
- การสำรวจผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- การแยกรัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
- การจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 โดยริเริ่มจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อสอดส่องดูแลการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ ยุติธรรม




พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 17 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ(วันเข้ารับตำแหน่ง 04 สิงหาคม 2531 - 23 กุมภาพันธ์ 2534 )


ประวัติ 

เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2463 ที่ตำบลพลับพลาไชย จังหวัด พระนคร เป็นบุตรของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ กับคุณหญิง วิบุลลักสม์ ชุณหะวัณ สมรสกับท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541


การศึกษา     

โรงเรียนเทพศิรินทร์
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนนายร้อยทหารม้า
โรงเรียนยานเกราะกองทัพบก
(อาร์เมอร์สคูล) มลรัฐเคนตั๊กกี้ สหรัฐอเมริกา


ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่ 45 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 4 สิงหาคม 2531 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 9 ธันวาคม 2533 โดยลาออกแล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่ วันแถลงนโยบาย 25 สิงหาคม 2531  
ครม.คณะที่ 46 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 ธันวาคม 2533 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยรสช.ยึดอำนาจนำโดยพล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ วันแถลงนโยบาย 9 มกราคม 2534


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 45 : 4 สิงหาคม 2531 - 9 ธันวาคม 2533
สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 46 : 9 ธันวาคม 2533 - 23 กุมภาพันธ์ 2534


ประวัติการทำงาน 

พ.ศ. 2483 ผู้บังคับหมวด กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2492 ตำแหน่งรองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2501 ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบัวโนสไอเรส
พ.ศ. 2503 เอกอัครราชทูตวิสามัญ ประจำสาธารณรัฐอาร์เจนตินา
พ.ศ. 2506 เอกอัครราชทูตวิสามัญ ประจำออสเตรีย และตุรกี
พ.ศ. 2510 เอกอัครราชทูตวิสามัญ ประจำสมาพันธ์สวิส
พ.ศ. 2512 เอกอัครราชทูตวิสามัญ ประจำสมาพันธ์สาธารณรัฐโซเซียลลิสต์ยูโกสลาเวีย
พ.ศ. 2513 เอกอัครราชทูตวิสามัญ ประจำรัฐวาติกัน
พ.ศ.2515 ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการเมืองกระทรวงต่างประเทศ


บทบาททางการเมือง 

พ.ศ. 2515 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ
พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
พ.ศ. 2518 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา รวม 5 สมัย
พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2529 รองนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2531 หัวหน้าพรรคชาติไทย
พ.ศ. 2531 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2534 ถูกยึดอำนาจการปกครองโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติภายใต้การนำของพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ พลเอกสุจินดา คราประยูร พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิลและพลเอก อิสระพงษ์ หนุนภักดี


ผลงานที่สำคัญ 

- การดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอินโดจีนโดยการเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า
- ดำเนินการประสานงานให้มีการเจรจาร่วมระหว่างเขมร 4 ฝ่าย เพื่อยุติการสู้รบ
- อนุมัติโครงการเพื่อให้เอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หลายโครงการได้แก่ โครงการขยายบริการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร โครงการทางด่วนยกระดับ และโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนในกรุงเทพมหานคร





พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (วันเข้ารับตำแหน่ง 03 มีนาคม 2523 - 04 สิงหาคม 2531)

ประวัติ 

เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2463 ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 6 ของอำมาตย์โท หลวงวินิจ ฑัณทกรรม กับนางอ๊อด ติณสูลานนท์ ครม.คณะที่ 42 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 3 มีนาคม 2523 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 30 เมษายน 2526 โดยรัฐบาลยุบสภา19 ม.ค.2526 เลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 28 มีนาคม 2523


การศึกษา     

โรงเรียนวัดบ่อยาง
โรงเรียนวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
โรงเรียนเทคนิคทหารบก
โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
โรงเรียนยานเกราะ กองทัพบกสหรัฐอเมริกา ฟอร์ทน๊อกซ์ เคนตักกี้ สหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยกองทัพบท
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 9


ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่ 42 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 3 มีนาคม 2523 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 30 เมษายน 2526 โดยรัฐบาลยุบสภา19 ม.ค.2526 เลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย  28 มีนาคม 2523  
ครม.คณะที่ 43 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 30 เมษายน 2526 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 5 สิงหาคม 2529 โดยรัฐบาลยุบสภา 1 พ.ค.2529 เลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 20 พฤษภาคม 2526
ครม.คณะที่ 44 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 5 สิงหาคม 2529 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 4 สิงหาคม 2531 โดยรัฐบาลยุบสภา 29 เมษายน 2531 เลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย  27 สิงหาคม 2529


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42 : 3 มีนาคม 2523 - 19 มีนาคม 2526
สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43 : 30 เมษายน 2526 - 4 สิงหาคม 2529
สมัยที่ 3 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 44 : 5 สิงหาคม 2529 - 3 สิงหาคม 2531


ประวัติการทำงาน 

พ.ศ. 2484 ผู้บังคับหมวดประจำกรมรถรบอินโดจีน
พ.ศ. 2498 ผู้บังคับกองร้อยที่ 2 กองพันที่ 1 กรมรถรบ
พ.ศ. 2493 รองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์
พ.ศ. 2497 ผู้บังคับกองพันที่ 5 กรมทหารม้าที่ 2
พ.ศ. 2501 รองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า
พ.ศ. 2506 รองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า และรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี
พ.ศ. 2511 ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี
พ.ศ. 2516 รองแม่ทัพภาคที่ 2
พ.ศ. 2517 แม่ทัพภาคที่ 2
พ.ศ. 2520 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2521 ผู้บัญชาการทหารบก ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีและรัฐบุรุษ


บทบาททางการเมือง 

พ.ศ. 2502 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
พ.ศ 2511 สมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ 2516 สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
พ.ศ 2520 สมาชิกสภานโยบาย
พ.ศ 2520-2522 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ 2523-2531 นายกรัฐมนตรี 5 สมัย
วันที่ 28 เมษายน 2531 ยุบสภา


ผลงานสำคัญ 

- การปรับปรุงประมวลกฏหมายรัษฎากรและกฏหมายสรรพสินค้า
- การสร้างงานตามโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.)
- การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชน (กรอ.) เพื่อส่งเสริมบทบาททางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศ
- การดำเนินการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ภายในประเทศ โดยนำนโยบายการใช้ "การเมืองนำการทหาร"





พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 15 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (วันเข้ารับตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน 2520 - 03 มีนาคม 2523 )


ประวัติ 

เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ที่ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรของนายแจ่ม กับนางเจือ ชมะนันทน์ สมรสกับคุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์ อสัญกรรม : วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546


การศึกษา     

โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย
โรงเรียนปทุมคงคา
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยกองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 5


ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่ 40 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 11 พฤศจิกายน 2520 โดยมติคณะปฏิวัติ นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 12 พฤษภาคม 2522 โดยมีการเลือกตั้งทั่วไปตาม รธน.2521 วันแถลงนโยบาย 1 ธันวาคม 2520  
ครม.คณะที่ 41 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 12 พฤษภาคม 2522 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 3 มีนาคม 2523 โดยลาออกเพราะวิกฤตการณ์น้ำมัน และผู้ลี้ภัย วันแถลงนโยบาย 7


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

รัฐบาลที่ 41 : 12 พฤศจิกายน 2520 - 29 กุมภาพันธ์ 2523


ประวัติการทำงาน 

พ.ศ. 2493 ฝ่ายเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3
พ.ศ. 2495 ผู้บังคับกองพันทหารราบ กรมผสมที่ 21
พ.ศ. 2498 อ.หัวหน้าวิชา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2500 หัวหน้ากรมการวางแผนสำนักงานวางแผนทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียอาคเนย์(สปอ)
พ.ศ. 2502 หัวหน้ากองการทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียอาคเนย์(สปอ)
พ.ศ. 2506 รองเสนาธิการ กองอำนวยการกลาง สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2516 รองเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2517 เสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2518 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2520 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด


บทบาททางการเมือง 

พ.ศ. 2511 สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการต่างประเทศ
พ.ศ. 2515 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พ.ศ. 2520 เลขาธิการสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2520 ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
พ.ศ. 2520 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2521 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523


ผลงานที่สำคัญ 

-การปรับปรุงสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านอันประกอบด้วย ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า
-ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียตเพื่อ กระชับความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ ทางการทูตและการค้ากับทั้งสอง ประเทศแน่นแฟ้นขึ้น
- จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- จัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน
- จัดตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช





นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (วันเข้ารับตำแหน่ง 08 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)


ประวัติ 

วันเกิด 5 เมษายน 2470 ที่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ ประวัติการทำงาน รองประธานกรรมการมูลนิธิ ส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ รองประธานกรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์


การศึกษา     

- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
- พ.ศ. 2491 ศึกษาวิชากฏหมายต่อที่ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
- พ.ศ 2496 เนติบัณฑิตอังกฤษจาก สำนักอบรมศึกษากฏหมายของเนติบัณฑิตยสภา


ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่ 39 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 8 ตุลาคม 2519 โดยมติคณะปฏิรูปฯ นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 20 ตุลาคม 2520 โดยรัฐประหารนำโดยพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ วันแถลงนโยบาย 29 ตุลาคม 2519


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

- รองประธานกรรมการมูลนิธิ ส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- รองประธานกรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์
- รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
- พ.ศ. 2520 กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
- กรรมการบริหารสภากาชาดไทย
- กรรมการบริหารศิริราชมูลนิธิ
- 8 สิงหาคม 2515 ศาสตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศาสตราจารย์สอนวิชากฏหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักอบรมศึกษากฏหมายของเนติบัณฑิตยสภา
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
- 15 ธันวาคม 2520 องคมนตรี
- พ.ศ. 2521 - 2528 กรรมการตุลาการ
- กรรมการร่างกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ประธานกรรมการปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง


บทบาททางการเมือง 

- 6 ตุลาคม 2519 เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ภายหลังจากที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยการนำของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
- 20 ตุลาคม 2520 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินซึ่งนำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหารอีกครั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


ผลงานที่สำคัญ 

- การสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชในท้องถิ่นทุรกันดาร 20 แห่ง
เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยาม
มกุฎราชกุมาร ทรงอภิเษกสมรส
- การจัดให้มีโครงการอาสาพัฒนาท้องถิ่นของตนเองในฤดูแล้ง และ
โครงการอาสาปลูกป่าในฤดูฝน


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

พ.ศ. 2499 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
พ.ศ. 2504 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
พ.ศ. 2507 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
พ.ศ. 2510 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
พ.ศ. 2512 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
พ.ศ. 2515 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2518 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2520 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2521 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2522 เหรียญรัตนาภรณ์ (ภ.ป.ร.)
พ.ศ. 2523 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
พ.ศ. 2537 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)




พลตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 13 พลตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (วันเข้ารับตำแหน่ง 14 มีนาคม 2518 - 20 เมษายน 2519)


ประวัติ 

วันเกิด 20 เมษายน 2454 ที่ จังหวัดสิงห์บุรี สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ ครม.คณะที่ 36 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 14 มีนาคม 2518 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 20 เมษายน 2519 โดยรัฐบาลยุบสภา 12 ม.ค.2519 เลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 19 มีนาคม 2518


การศึกษา     

- โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย(วังหลัง)
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- โรงเรียน Trent College
- ศึกษาวิชาปรัชญาเศรษฐศาสตร์และการเมืองที่ The Queen's College มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม
- ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
- ปริญญาวารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่ 36 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 14 มีนาคม 2518 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 20 เมษายน 2519 โดยรัฐบาลยุบสภา 12 ม.ค.2519 เลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 19 มีนาคม 2518


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

รัฐบาลที่ 37 : 17 มีนาคม 2518 - 12 มกราคม 2519


ประวัติการทำงาน

- รับราชการที่กรมสรรพากร
- เลขานุการที่ปรึกษากระทรวงการคลัง
- ผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ สาขาลำปาง
- รับราชการทหาร[ เมื่อเกิดสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา]
- หัวหน้าฝ่ายสำนักผู้ว่าการและหัวหน้าฝ่ายออกบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
- ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การจำกัด
- เขียนบทความลงในคอลัมน์ "ซอยสวนพลู"
- พ.ศ. 2531 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศเป็นพลตรี (ทหารราชองครักษ์พิเศษ)


บทบาททางการเมือง 

- พ.ศ. 2488-2489 เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งพรรคการเมืองพรรคแรกในเมืองไทย ชื่อ "พรรคก้าวหน้า"
- ได้ร่วมในคณะผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์
- ได้ริเริ่มจัดตั้งพรรคกิจสังคม
- พ.ศ. 2518 ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น และได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2519 ได้ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร บริหารประเทศประมาณ 9 เดือนเศษ

ผลงานที่สำคัญ 

- ได้ดำเนินการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่ง ตามนโยบายการอยู่ร่วมกันอย่างปกติ และเป็นมิตรกับทุกประเทศที่มีเจตนาดีต่อประเทศไทยโดยไม่คำนึงถึง ความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองในด้านการพัฒนาประเทศ
- เริ่มโครงการผันเงินชนบท เพื่อปรับปรุง และสร้างสิ่งสาธารณูปโภค ที่จำเป็นในชนบทเพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ และสร้างงานชนบท โดยการสร้างในงบประมาณรายจ่ายเพื่อปรับปรุงและสร้างสิ่งสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อชนบท มีผลให้ประชาชนในชนบทมีงานทำ และมีรายได้ เป็นการยกฐานเศรษฐกิจของชาวชนบทให้ดีขึ้น
- ส่งเสริมการพัฒนาสภาตำบลอย่างจริงจัง รวมทั้งจัดให้มีโครงการช่วยเหลือ ผู้มีรายได้น้อย
- ดำเนินการซื้อสัมปทานเดินรถของเอกชนรวมเป็นของรัฐบาล ภายใต้การดำเนินงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ




นายสัญญา ธรรมศักดิ์

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 12 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ (วันเข้ารับตำแหน่ง 14 ตุลาคม 2516 - 15 กุมภาพันธ์ 2518)


ประวัติ 

เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2450 ที่บ้านข้างวัดอรุณราชวราราม บางกอกใหญ่ ธนบุรี เป็นบุตรของมหาอำมาตย์พระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี (ทองดี ธรรมศักดิ์) กับคุณหญิงชื้น ธรรมศักดิ์ สมรสกับท่านผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2545


การศึกษา     

โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก
โรงเรียนปทุมคงคา
พ.ศ. 2471 โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม จนสำเร็จเนติบัญฑิตไทย
พ.ศ. 2475 ศึกษาวิชากฎหมายต่อที่สำนัก Middle Temple ประเทศอังกฤษ จนสำเร็จเนติบัณฑิตอังกฤษ
พ.ศ. 2498 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร


ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่  33 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 14 ตุลาคม 2516  โดยพระบรมราชโองการ นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 22 พฤษภาคม 2517  โดยลาออกอ้างเหตุร่าง รธน.ไม่เสร็จ วันแถลงนโยบาย 25 ตุลาคม 2516
ครม.คณะที่ 34 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 27 พฤษภาคม 2517 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2518 โดยมีการเลือกตั้งทั่วไปตาม รธน. 2517 วันแถลงนโยบาย 7 มิถุนายน 2517

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

รัฐบาลที่ 34 15 ตุลาคม 2516 - 22 พฤษภาคม 2517
รัฐบาลที่ 35 27 พฤษภาคม 2517- 26 มกราคม 2518


ประวัติการทำงาน 

พ.ศ. 2478 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดอยุธยา
พ.ศ. 2478 ผู้พิพากษาผู้ช่วยศาลฎีกา
พ.ศ. 2491 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
พ.ศ. 2494 ข้าหลวงยุติธรรมภาค 4 (จังหวัดเชียงใหม่)
พ.ศ. 2496 ปลัดกระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2501 ผู้พิพากษาศาลฎีกา
พ.ศ. 2505 อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
พ.ศ. 2506 ประธานศาลฎีกา
พ.ศ. 2511 - 2516 และ 26 มีนาคม 2518 - 4 ธันวาคม 2518 องคมนตรี
พ.ศ. 2511 คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2514 อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5 ธันวาคม 2518 - 3 กันยายน 2541 ประธานองคมนตรี


บทบาททางการเมือง 

14 ตุลาคม 2516 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
22 พฤษภาคม 2517 ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
26 มกราคม 2518 คณะรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้สิ้นสุดลง


ผลงานที่สำคัญ 

- จัดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่างรัฐธรรมนูญจนเสร็จสิ้น


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

พ.ศ. 2489 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
พ.ศ. 2484 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
พ.ศ. 2491 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
พ.ศ. 2497 เหรียญรัตนาภรณ์ (ภ.ป.ร. 3)
พ.ศ. 2497 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2499 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2500 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
พ.ศ. 2502 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2504 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2505 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
พ.ศ. 2511 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)
พ.ศ. 2512 เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ).)
พ.ศ. 2514 เหรียญรัตนาภรณ์ (ภ.ป.ร. 1)
พ.ศ. 2539 นพรัตน์ราชวราภรณ์


จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (วันเข้ารับตำแหน่ง 09 กุมภาพันธ์ 2502 - 08 ธันวาคม 2506 )


ประวัติ 

เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2451 บ้านปากคลองตลาด ต.พาหุรัด กรุงเทพฯ เป็นบุตรของ พันตรี หลวงเรืองเดชอนันต์ - นางจันทิพย์ ธนะรัชต์ สมรสกับท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2506 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า รวมอายุได้ 55 ปี


การศึกษา     

โรงเรียนประจำจังหวัดมุกดาหาร
โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
โรงเรียนทหารราบพระนคร
โรงเรียนนายร้อยทหารบก


ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่ 29 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 8 ธันวาคม 2506 โดยอสัญกรรม วันแถลงนโยบาย 12 กุมภาพันธ์ 2502


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

รัฐบาลที่ 29  9 กุมภาพันธ์ 2502 - 8 ธันวาคม 2506


ประวัติการทำงาน 

พ.ศ. 2475 ประจำกองทัพทหารราบที่ 4
พ.ศ. 2481 ผู้บังคับกองร้อยปืนใหญ่ทหารราบ ลพบุรี
พ.ศ. 2484 ผู้บังคับกองโรงเรียนนายสิบ ทหารราบ ลพบุรี
พ.ศ. 2487 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารราบลำปาง
พ.ศ. 2489 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
พ.ศ. 2491 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1
พ.ศ. 2493 แม่ทัพกองทัพที่ 1 และผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 1
พ.ศ. 2497 ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2500 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2502 ผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ


บทบาททางการเมือง 

พ.ศ. 2494 - 2495 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2500 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2502 เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจาก การทำรัฐประหารรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร
พ.ศ. 2506 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึงแก่อสัญกรรม


ผลงานที่สำคัญ 

- การปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาประเทศไว้มากมาย
- การออกกฏหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด
- กฏหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล
- กฏหมายปรามการค้าประเวณี
- การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ





จอมพล ถนอม กิตติขจร

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 จอมพล ถนอม กิตติขจร (วันเข้ารับตำแหน่ง 01 มกราคม 2501 - 14 ตุลาคม 2516 )


ประวัติ 

เกิดวันที่ 11 สิงหาคม 2454 ที่บ้านหนองหลวง อ.เมือง จ.ตาก เป็นบุตร ขุนโสภิตบรรณลักษณ์(อำพัน กิตติขจร) กับนางลิ้นจี่ กิตติขจร สมรสกับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร ปัจจุบันท่านพำนักอยู่ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร และได้ยุติบทบาททางการเมือง ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2547 ที่ โรงพยาบาลกรุงเทพ รวมอายุได้ 93 ปี


การศึกษา     

โรงเรียนประชาบาลวัดโคกพลู จังหวัดตาก
โรงเรียนนายร้อยทหารบก
โรงเรียนแผนที่ทหาร กองทัพบก
โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก

ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่ 28 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 1 มกราคม 2501 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 20 ตุลาคม 2501 โดยรัฐประหารนำโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ วันแถลงนโยบาย 9 มกราคม 2501
ครม.คณะที่ 30 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 ธันวาคม 2506 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร รม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 7 มีนาคม 2512 โดยมีการเลือกตั้งทั่วไปตาม รธน.2511 วันแถลงนโยบาย 19 ธันวาคม 2506
ครม.คณะที่ 31 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 7 มีนาคม 2512 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 โดยรัฐประหารนำโดย จอมพล ถนอม กิตติขจร วันแถลงนโยบาย 25 มีนาคม 2512
คณะปฏิวัติ นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 18 พฤศจิกายน 2514 นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 17 ธันวาคม 2515
ครม.คณะที่ 32 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 18 ธันวาคม 2515 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 14 ตุลาคม 2516 โดยลาออก เพราะเกิดจลาจลวันมหาวิปโยค วันแถลงนโยบาย 22 ธันวาคม 2515


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 28 : 1 มกราคม 2501 - 20 ตุลาคม 2501
สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 30 : 9 ธันวาคม 2506 - 7 มีนาคม 2512
สมัยที่ 3 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 31 : 7 มีนาคม 2512 - 17 พฤศจิกายน 2514
สมัยที่ 4 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 32 : 18 พฤศจิกายน 2514 -17 ธันวาคม 2515
สมัยที่ 5 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 33 : 18 ธันวาคม 2515 - 14 ตุลาคม 2516


ประวัติการทำงาน 

พ.ศ 2477 ประจำแผนกโครงหลักฐาน กรมแผนที่ทหาร
พ.ศ. 2490 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21
พ.ศ. 2491 ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11
พ.ศ. 2492 ตำแหน่งรองผู้บัญชาการกองพลที่ 1
พ.ศ. 2493 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 1 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ
พ.ศ. 2494 รองแม่ทัพ กองทัพที่ 1
พ.ศ. 2497 แม่ทัพกองทัพที่ 1 และผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 1
พ.ศ. 2500 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2502 รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2506 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก


บทบาททางการเมือง 

พ.ศ.2494 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
พ.ศ. 2498 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์
พ.ศ. 2500 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[รัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม]
พ.ศ.2500 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[รัฐบาลของนายพจน์ สารสิน]
พ.ศ. 2501 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
20 ตุลาคม 2501 ลาออกจากตำแหน่ง
พ.ศ 2506 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
พ.ศ. 2514 ได้ทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง และได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติ
พ.ศ. 2515 สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครอง ได้มีมติให้จอมพล ถนอม กิตติขจร เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อันเนื่องมาจากเหตุการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญของกลุ่มนิสิตนักศึกษา


ผลงานที่สำคัญ 

- บริหารประเทศได้สร้างทางหลวงสายต่าง ๆ ทั่วประเทศหลายสาย
- สร้างเขื่อน อาทิ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์
- ได้ทำการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาประเทศ
- ได้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนามด้วย
- ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร



นาย พจน์ สารสิน 

 

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 9 นาย พจน์ สารสิน (วันเข้ารับตำแหน่ง 21 กันยายน 2500 - 01 มกราคม 2501)

ประวัติ 

เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2448 ที่บ้านพักถนนสุรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้) กับคุณหญิงสุ่น สมรสกับคุณหญิงศิริ สารสิน ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2543 สิริรวมอายุได้ 95 ปี ครม.คณะที่ 27 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 กันยายน 2500 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 1 มกราคม 2501 โดยมีการเลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 24 กันยายน 2500


การศึกษา    

ศึกษาที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่วัยเยาว์
ศึกษาวิชากฏหมายในประเทศไทย จนสอบได้เป็นเนติบัณฑิต
ศึกษาวิชากฏหมายในประเทศอังกฤษ


ครม.คณะที่  

ครม.คณะที่ 27 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 กันยายน 2500 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 1 มกราคม 2501 โดยมีการเลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 24 กันยายน 250


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 27 : 21 กันยายน 2500 - 26 ธันวาคม 2500


ประวัติการทำงาน 

พ.ศ. 2495-2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอเมริกา ผู้แทนของประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
พ.ศ. 2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกัน แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.)


บทบาททางการเมือง 

พ.ศ. 2490 เป็นสมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. 2491 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
วันที่ 21 กันยายน 2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากการทำ รัฐประหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
วันที่ 26 ธันวาคม 2500 ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากที่ได้ดำเนินการ จัดการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว


ผลงานที่สำคัญ     

- จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้บริสุทธิ์ และยุติธรรมอันเป็นสิ่งที่ ประชาชนเรียกร้อง



พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) 

 


 นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) วันเข้ารับตำแหน่ง 23 สิงหาคม 2489 - 08 พฤศจิกายน 2490

ประวัติ 

เกิด เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2444 ที่ตำบลหัวรอ อำเภอรอบกรุง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายอู๋ กับ นางเงิน ธารีสวัสดิ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2531 รวมอายุ ได้ 87 ปี

การศึกษา     

โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์
โรงเรียนนายเรือ กรุงเทพ
ศึกษาวิชากฏหมายจนสำเร็จได้เป็นเนติบัณฑิตไทย


ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่ 17 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 23 สิงหาคม 2489 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 30 พฤษภาคม 2490   โดยลาออก หลังจากการอภิปรายทั่วไป7 วัน 7 คืน(รัฐบาลชนะ) วันแถลงนโยบาย 26 สิงหาคม 2489
ครม.คณะที่ 18 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 30 พฤษภาคม 2490 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร  นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยรัฐประหารนำโดยพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ วันแถลงนโยบาย 5 มิถุนายน 2490


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 17 : 23 สิงหาคม 2489 - 30 พฤษภาคม 2490
สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 18 : 30 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490


ประวัติการทำงาน 

รับราชการอยู่ในกองทัพเรือได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ และราชทินนามเป็นหลวงธำรงนาวาสวัสดิ


บทบาททางการเมือง 

พ.ศ. 2475 ได้เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ.2476 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนประเภท 2 และได้เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรีครั้งแรกในสมัยรัฐบาลของพันเอก พระยาพหลพลหยุหเสนา
พ.ศ. 2479-2481 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในสมัยรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์
พ.ศ. 2489 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากนายปรีดี พนมยงค์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2489
พ.ศ. 2490 เกิดการรัฐประหาร โดยการนำของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ และพันเอกกาจ กาจสงคราม


ผลงานที่สำคัญ 

- แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังทรุดหนัก ด้วยการจัดตั้ง "องค์การสรรพาหาร" ขึ้น โดยการซื้อของแพงมาขายถูกให้แก่ประชาชน เพื่อตรึงราคาสินค้าไม่ให้สูง
- เรียกเก็บธนบัตรที่ฝ่ายสัมพันธมิตรนำเข้ามาใช้จ่ายจากประชาชนด้วยการออกบัตร ใหม่ ให้แลก รวมทั้งนำเอาทองคำซึ่งเป็นทุนสำรองของชาติออกขายแก่ประชาชน



นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) 

 

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) วันเข้ารับตำแหน่ง 24 มีนาคม 2489 - 23 สิงหาคม 2489

ประวัติ 

เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายเสียง กับ นางลูกจันทร์ พนมยงค์ สมรสกับท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย ที่บ้านพักชานกรุงปารีส เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 รวมอายุได้ 83 ปี ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2469 เข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม เลขานุการกรมร่างกฏหมาย


การศึกษา     

พ.ศ. 2463 ศึกษาวิชากฏหมายที่ประเทศฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยกอง (Lycee Caen)
ได้รับปริญญาทางกฏหมายและได้ "ลิซองซิเอ ทางกฏหมาย"
ได้ดุษฎีบัณฑิตทางกฏหมาย (Docteur en Droit) ฝ่ายเนติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยปารีส
ในระหว่างศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ได้รับเลือกเป็น สภานายกแห่งสมาคมนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศส


ครม.คณะที่     

ครม.คณะที่ 15 นรม.ดำรง ตำแหน่งวันที่ 24 มีนาคม 2489 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 11 มิถุนายน 2489
โดยลาออก เพราะประกาศใช้รธน.2489 วันแถลงนโยบาย 25 มีนาคม 2489
ครม.คณะที่ 16 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 11 มิถุนายน 2489 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 23 สิงหาคม 2489 โดยลาออก เพราะตรากตรำงานหนัก วันแถลงนโยบาย 13 มิถุนายน 2489


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง     

สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 15 : 24 มีนาคม 2489 - 8 มิถุนายน 2489
สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 16 : 11 มิถุนายน 2489 - 21 สิงหาคม 2489


ประวัติการทำงาน 

พ.ศ. 2469 เข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม
เลขานุการกรมร่างกฏหมาย
อาจารย์สอนกฏหมายปกครองในโรงเรียนกฏหมาย
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์อำมาตย์ตรีหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
พ.ศ. 2472 เป็นบุคคลสำคัญในการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ. 2475 ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว
ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และดำรงตำแหน่งผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นคนแรก


บทบาททางการเมือง 

พ.ศ. 2476 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
พ.ศ. 2484 ในขณะที่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์
พ.ศ. 2489 เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 7
วันที่ 21 สิงหาคม 2489 ลาออกจากตำแหน่ง


ผลงานที่สำคัญ 

- ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยในประเทศ ติดต่อประสานงานกับขบวนการเสรีไทยในประเทศ ติดต่อประสานงานกับขบวนการเสรีไทยภายนอกประเทศ ภายใต้การนำของหม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช จนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐบุรุษอาวุโส และร่วมกับรัฐบาลหม่อม ราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช
- ดำเนินการประกาศว่า การที่รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับอเมริกาและอังกฤษเป็นโมฆะ
- ได้หาทางผ่อนคลายสัญญาสมบูรณ์แบบที่ผูกมัดไทย เนื่องจากผลของการแพ้สงคราม


หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 

 

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 6 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (วันเข้ารับตำแหน่ง 17 กันยายน 2488 - 06 ตุลาคม 2519)

ประวัติ     

เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2448 เวลา 04.00 น. เป็นโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) สมรสกับท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ถึงแก่อสัญญากรรม 28 กรกฏาคม 2540 รวมอายุ 92 ปี


การศึกษา โรงเรียนราชินี
โรงเรียนอัสสัมชัญ
โรงเรียนเทพศิรินทร์
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
โรงเรียนเทร้นท์ ประเทศอังกฤษ
วูซเตอร์ คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้รับปริญญาตรีด้านกฏหมาย เกียรตินิยมอันดับ 2
ศึกษาต่อที่สำนักเนติบัณฑิตอังกฤษ ณ สำนักเกรย์อินน์ ลอนดอน สอบไล่เนติบัณฑิตอังกฤษได้คะแนนยอดเยี่ยม ชั้น 1 จึงได้รับพระราชทานรางวัลจากพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ
ศึกษาวิชากฏหมายไทย ได้รับเนติบัณฑิตไทย


ครม.คณะที่    

ครม.คณะที่ 13 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 17 กันยายน 2488 นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 31 มกราคม 2489 วันแถลงนโยบาย 19 กันยายน 2488
ครม.คณะที่ 35 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2518 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 14 มีนาคม 2518 โดยไม่ได้รับความไว้วางใจจากส.ส. ในการแถลงนโยบาย วันแถลงนโยบาย 6 มีนาคม 2518
ครม.คณะที่ 37นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 20 เมษายน 2519 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 25 กันยายน 2519 โดยลาออก เพราะวิกฤตการณ์เกี่ยวกับจอมพล ถนอมฯกลับมาอุปสมบท วันแถลงนโยบาย 30 เมษายน 2519
ครม.คณะที่ 38 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 25 กันยายน 2519 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยรัฐประหารนำโดยพล.ร.อ. สงัดฯ


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง    

สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 13 : 17 กันยายน 2488 - 31 มกราคม 2489
สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 36 : 15 กุมภาพันธ์ 2518 - 14 มีนาคม 2518
สมัยที่ 3 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 38 : 21 เมษายน 2519 - 23 กันยายน 2519
สมัยที่ 4 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 39 : 5 ตุลาคม 2519 - 6 ตุลาคม 2519


ประวัติการทำงาน 

เข้าฝึกงานที่ศาลฎีกาเป็นเวลา 6 เดือน จึงได้เป็นผู้พิพากษา
เป็นผู้พิพากษาศาลแพ่ง
เป็นผู้ช่วยกรรมการศาลฎีกา
เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา


บทบาททางการเมือง 

พ.ศ. 2488 รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2488
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หมุนเวียนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 ครั้ง
วันที่ 6 ตุลาคม 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเข้ายึดอำนาจ โดยการนำของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ร.น.


ผลงานที่สำคัญ 

- พ.ศ. 2484 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเข้าสู่ประเทศไทย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ประกาศนโยบายเป็นอิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาลในประเทศไทย และได้รวบรวมคนไทยต่างประเทศจัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ
-การเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งครั้งแรกอังกฤษได้ยื่นสัญญาให้ประเทศไทยเป็นเมืองในอาณัติของอังกฤษ แต่หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ดำเนินการเจรจาให้ไทยได้หลุดพ้นจากการเป็นเมืองในอาณัติได้
-ประกาศพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม

 

นายทวี บุณยเกตุ 

 

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 นายทวี บุณยเกตุ (วันเข้ารับตำแหน่ง 31 สิงหาคม 2488 - 17 กันยายน 2488)


ประวัติ 

เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2447 เวลา 13.20 น. จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุณยเกตุ) กับคุณหญิงรณชัยชาญยุทธ์ (ทับทิม) สมรสกับคุณหญิงอำภาศรี บุณยเกตุ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2514 รวมอายุได้ 67 ปี ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2475 ได้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการบำรุงพันธุ์สัตว์ชั้น 2 กรมเพาะปลูก กระทรวงเกษตราธิการ


การศึกษา 

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
โรงเรียนราชวิทยาลัย
คิงส์คอลเลจ ประเทศอังกฤษ
ศึกษาต่อด้านวิชากสิกรรม ที่มหาวิทยาลัยกรีนยอง ประเทศฝรั่งเศส
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 รัฐบาลที่ 12 31 สิงหาคม 2488 - 17 กันยายน 2488
ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2475 ได้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการบำรุงพันธุ์สัตว์ชั้น 2 กรมเพาะปลูก กระทรวงเกษตราธิการ


ครม.คณะที่ 

ครม.คณะที่ 12 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 31 สิงหาคม 2488 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 17 กันยายน 2488 โดยลาออก เพื่อให้ผู้เหมาะสมมาแทน วันแถลงนโยบาย 1 กันยายน 2488


บทบาททางการเมือง
พ.ศ. 2475 เข้าร่วมกับคณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้รับแต่งตั้งเป็น
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี(รัฐบาลของ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม)
ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(สมัยรัฐบาลของพันตรี ควง อภัยวงศ์)
วันที่ 31 สิงหาคม 2488 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หลังจากสงครามครั้งที่ 2 จึงลาออก ระยะเวลาในการบริหารประเทศของท่านจึงสั้นเพียง 17 วัน
ได้เข้าดำรงตำแหน่งในสภาร่างรัฐธรรมนูญในสมัยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยทำหน้าที่เป็นประธานสภา


ผลงานที่สำคัญ 

- การต้อนรับคณะนายทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่เดินทางเข้ามาสำรวจความเสียหาย ในประเทศไทย



พันตรี ควง อภัยวงศ์ 

 

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 พันตรี ควง อภัยวงศ์ (วันเข้ารับตำแหน่ง 01 สิงหาคม 2487 - 08 เมษายน 2491)


ประวัติ 

เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2445 ณ เมืองพระตะบอง ประเทศเขมร (ขณะนั้นเป็นจังหวัดหนึ่งในมณฑลบูรพาของไทย) เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการจังหวัดพระตะบอง กับคุณหญิงรอด สมรสกับคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2511 รวมอายุได้ 66 ปี ประวัติการทำงาน รับราชการเป็นนายช่างผู้ช่วยโท แผนกกองช่างโทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลข จนได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข


การศึกษา 

เริ่มศึกษาหนังสือกับขุนอุทัยราชภักดี
โรงเรียนเทพศิรินทร์
โรงเรียนอัสสัมชัญ
ศึกษาต่อวิชาวิศวกรรมโยธาที่เอกอล ซังตรัล เดอ ลียอง ประเทศฝรั่งเศส


ครม.คณะที่ 

ครม.คณะที่ 11 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 1 สิงหาคม 2487 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 31 สิงหาคม 2488 โดยลาออก เพื่อให้ผู้เหมาะมาแทนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 วันแถลงนโยบาย 3 สิงหาคม 2487
ครม.คณะที่ 14 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 31 มกราคม 2489 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 24 มีนาคม 2489 โดยลาออก เพราะแพ้มติสภาที่เสนอพ.ร.บ.ที่รัฐบาลรับไม่ได้ วันแถลงนโยบาย 7 กุมภาพันธ์ 2489
ครม.คณะที่ 19 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 10 พฤศจิกายน 2490 โดยมติคณะอภิรัฐมนตรี นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2491 โดยมีการเลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 27 พฤศจิกายน 2490
ครม.คณะที่ 20 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2491 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 8 เมษายน 2491 โดย ลาออก โดยถูกคณะรัฐประหาร (8 พ.ย.2490) บังคับให้ลาออก วันแถลงนโยบาย 1 มีนาคม 2491

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 

1. รัฐบาลที่ 11 1 สิงหาคม 2487 - 31 สิงหาคม 2488
2. รัฐบาลที่ 14 31 มกราคม 2489 - 24 มีนาคม 2489
3. รัฐบาลที่ 19 10 พฤศจิกายน 2490 - 6 กุมภาพันธ์ 2491
4. รัฐบาลที่ 20 21 กุมภาพันธ์ 2491 - 8 เมษายน 2491


ประวัติการทำงาน 

รับราชการเป็นนายช่างผู้ช่วยโท แผนกกองช่างโทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลข จนได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข
พ.ศ. 2484 ได้รับพระราชทานยศพันตรี และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงโกวิทอภัยวงศ์ แต่ได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2484


บทบาททางการเมือง 

พ.ศ. 2487 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา และจอมพลแปลก พิบูลสงคราม
วัน ที่ 1 สิงหาคม 2487 เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและลาออก หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎร ไม่ผ่านร่างพระราชบัญญัติกำหนดระเบียบบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ และพระราชกำหนด จัดสร้างพุทธมณฑลของรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
พ.ศ. 2489 ร่วมจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก
วันที่ 6 มกราคม 2489 ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเสียงข้างมากในสภา
พ.ศ. 2491 คณะนายทหารบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


ผลงานที่สำคัญ 

- การประกาศสันติภาพ โดยก่อนหน้านั้นรัฐบาลชุดก่อนมีความจำเป็นต้องประกาศสงคราม กับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ครั้นเมื่อท่านดำรงตำแหน่งก็ได้ประกาศให้การประกาศสงครามดังกล่าวเป็นโมฆะไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย ทำให้สัมพันธภาพของประเทศไทย กับเหล่าพันธมิตรดีขึ้น



จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) 

 

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 3 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) วันเข้ารับตำแหน่ง 16 ธันวาคม 2481 - 16 กันยายน 2500

ประวัติ 

ชื่อเดิม แปลก ขีดตะสังคะ เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2440 ณ บ้านแพ ปากคลองบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรของนายขีด กับนางสำอาง ขีดตะสังคะ สมรสกับท่านผู้หญิงละเอียด (พันธุ์กระวี) ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย ณ บ้านพักที่ตำบลซากามิโอโน ซานกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2507 รวมอายุได้ 67 ปี ประวัติการทำงาน พ.ศ.2462 ประจำกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ พ.ศ.2466 ประจำกรมยุทธศาสตร์ทหารบก


นายกรัฐมนตรี 

ครม.คณะที่ 9 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 16 ธันวาคม 2481 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 7 มีนาคม 2485 โดยลาออก เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงครม.ใหม่ วันแถลงนโยบาย 26 ธันวาคม 2481
ครม.คณะที่ 10 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 7 มีนาคม 2485 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 1 สิงหาคม 2487 โดยลาออก เพราะสภาไม่รับ พรก.นครบาลเพ็ชรบูรณ์ วันแถลงนโยบาย 16 มีนาคม 2485
ครม.คณะที่ 21 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 8 เมษายน 2491 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 25 มิถุนายน 2492 โดยสิ้นสุดลงเมื่อมีการเลือกตั้งส.ส. เพิ่มวันแถลงนโยบาย 21 เมษายน 2491
ครม.คณะที่ 22 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 25 มิถุนายน 2492 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 โดยรัฐประหารนำโดยพล.อ.ผิน ชุณหะวัณ วันแถลงนโยบาย 6 กรกฎาคม 2492
ครม.คณะที่ 23 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 โดยมติคณะรัฐประหาร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 6 ธันวาคม 2494 โดยมีการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ขึ้นใหม่
ครม.คณะที่ 24 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 6 ธันวาคม 2494 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 24 มีนาคม 2495 โดย มีการเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ 1 (ส.ส.) วันแถลงนโยบาย 11 ธันวาคม 2494
ครม.คณะที่ 25 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 24 มีนาคม 2495 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 21 มีนาคม 2500 โดยส.ส.ครบวาระมีการเลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 3 เมษายน 2495
ครม.คณะที่ 26 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 มีนาคม 2500 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 16 กันยายน 2500 โดย รัฐประหารนำโดย จอมพล สฤษดิ์ธนะรัชต์ วันแถลงนโยบาย 1 เมษายน 2500

การศึกษา

โรงเรียนกลาโหมอุทิศ วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี
โรงเรียนนายร้อยทหารบก
โรงเรียนเสนาธิการ
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศฝรั่งเศส

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 

1. รัฐบาลที่ 9 16 ธันวาคม 2481 - 6 มีนาคม 2485
2. รัฐบาลที่ 10 7 มีนาคม 2485 - 1 สิงหาคม 2487
3. รัฐบาลที่ 21 8 เมษายน 2491 - 24 มิถุนายน 2492
4. รัฐบาลที่ 22 25 มิถุนายน 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494
5. รัฐบาลที่ 23 29 พฤศจิกายน 2494 - 6 ธันวาคม 2494
6. รัฐบาลที่ 24 6 ธันวาคม 2494 - 23 มีนาคม 2495
7. รัฐบาลที่ 25 24 มีนาคม 2495 - 26 กุมภาพันธ์ 2500
8. รัฐบาลที่ 26 21 มีนาคม 2500 - 16 กันยายน 2500

ประวัติการทำงาน 

พ.ศ.2462 : ประจำกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
พ.ศ.2466 : ประจำกรมยุทธศาสตร์ทหารบก
พ.ศ.2475 : รองผู้บังคับการทหารปืนใหญ่
พ.ศ.2476 : รองผู้บัญชาการทหารบก และรองผู้บังคับการมณฑลทหารราบที่ 1
พ.ศ.2483 : ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ.2483 : ผู้บัญชาการหารสูงสุดและแม่ทัพบก
พ.ศ.2490 : ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย

บทบาททางการเมือง 

พ.ศ. 2476 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2
พ.ศ. 2477 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2481 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2482 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. 2484 : ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในประเทศไทย จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทย และในที่สุดได้ทำสัญญาพันธมิตรทางการทหารและเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผลให้ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงต้องตกเป็นผู้ต้องหาอาชญากรสงคราม และถูกจับกุมขังเป็นเวลาหลายเดือน
พ.ศ. 2485 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ .2491 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2492 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. 2494 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 5
พ.ศ. 2494 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 6
พ.ศ. 2495 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 7 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
พ.ศ. 2497 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
พ.ศ. 2498 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2500 : นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 8

ผลงานที่สำคัญ 

- นโยบายสร้างชาติและการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมให้แก่ประชาชนอย่างมากมาย เช่น การเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย การเรียกร้องดินแดนทางด้านอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศส การปลูกฝังความนิยมไทย และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยบางอย่าง เช่น การให้สตรีเลิกนุ่งโจงกระเบนแล้วหันมาสวมกระโปรงแทนการให้ประชาชนเลิกกิน หมากพลู การตั้งชื่อผู้ชายให้มีลักษณะเข้มแข็ง ผู้หญิงให้แสดงถึงความอ่อนหวาน
- การส่งเสริมการศึกษาวิชาการแก่ประชาชน โดยเฉพาะได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเฉพาะวิชา เช่น มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (มหิดล) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น




พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) 

 

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) วันเข้ารับตำแหน่ง 21 มิถุนายน 2476 - 16 ธันวาคม 2481

ประวัติ 

ชื่อเดิมว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2430 เวลา 03.30 น. ณ บ้านหน้าวัดบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (ถิ่น พหลโยธิน) กับ คุณหญิงจับ สมรสกับ ท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา ถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2490 รวมอายุได้ 60 ปี ประวัติการทำงาน พ.ศ.2453 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ประเทศเยอรมัน พ.ศ. 2457 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี


การศึกษา 

โรงเรียนวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส (วัดสามปลื้ม)
โรงเรียนสุขุมาลวิทยาลัย
โรงเรียนนายร้อยทหารบก
โรงเรียนนายร้อยทหารบกในเมืองโกรสลิสเตอร์ เฟล เด ประเทศเยอรมันนี
ศึกษาต่อวิชาช่างแสงที่ประเทศเดนมาร์ก เรียนได้เพียงปีเดียว


นายกรัฐมนตรี 

ครม.คณะที่ 4 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 มิถุนายน 2476 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 16 ธันวาคม 2476 โดยลาออกเพราะมีการเลือกตั้ง ส.ส.ประเภท 1 วันแถลงนโยบาย 26 มิถุนายน 2476
ครม.คณะที่ 5 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 16 ธันวาคม 2476 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 22 กันยายน 2477 โดยลาออก เพราะสภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล วันแถลงนโยบาย 25 ธันวาคม 2476
ครม.คณะที่ 6 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 22 กันยายน 2477 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 9 สิงหาคม 2480 โดยลาออก เพราะกระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่ วันแถลงนโยบาย 24 กันยายน 2477
ครม.คณะที่ 7 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 สิงหาคม 2480 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 21 ธันวาคม 2480 โดยสภาครบวาระมีการเลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 11 สิงหาคม 2480
ครม.คณะที่ 8 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 ธันวาคม 2480 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 16 ธันวาคม 2481 โดยรัฐบาลยุบสภา11 กันยายน 2481 เลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 23 ธันวาคม 2480

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 

1. รัฐบาลที่ 4 21 มิถุนายน 2476 - 16 ธันวาคม 2476
2. รัฐบาลที่ 5 16 ธันวาคม 2476 - 22 กันยายน 2477
3. รัฐบาลที่ 6 22 กันยายน 2477 - 9 สิงหาคม 2480
4. รัฐบาลที่ 7 9 สิงหาคม 2480 - 21 ธันวาคม 2480
5. รัฐบาลที่ 8 21 ธันวาคม 2480 - 11 กันยายน 2481

ประวัติการทำงาน 

พ.ศ.2453 : ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ประเทศเยอรมัน
พ.ศ. 2457 : ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี
พ.ศ. 2458 : ผู้บังคับการกองร้อยที่ 2
พ.ศ. 2460 : ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา
พ.ศ. 2461 : ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2
พ.ศ.2469 : ผู้อำนวยการแผนกโรงเรียนทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี
พ.ศ. 2473 : จเรทหารปืนใหญ่
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2474 : ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพลพยุเสนา
พ.ศ. 2475 : ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2487: แม่ทัพใหญ่มีอำนาจสิทธิ์ขาด บังคับบัญชาแม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ และตำรวจสนามตามกฏอัยการศึก

บทบาททางการเมือง 

พ.ศ.2475 : ได้ร่วมกับคณะราษฎรโดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎรทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
วันที่ 24 มิถุนายน 2476 : ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1 โดยการทำรัฐประหารรัฐบาลของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
วันที่ 16 ธันวาคม 2476 : ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2
วันที่ 22 กันยายน 2477 : ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 3
พ.ศ.2477 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ.2478 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
วันที่ 9 สิงหาคม 2480 : ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 4 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
วันที่ 21 ธันวาคม 2480 : ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 5
พ.ศ. 2481 : ยุบสภาและลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี




พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)

 

 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 1 พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) วันเข้ารับตำแหน่ง 28 มิถุนายน 2475 - 20 มิถุนายน 2476

ประวัติ 

ชื่อเดิมว่า "ก้อน หุตะสิงห์" เกิด วันที่ 15 กรกฎาคม 2427 ที่จังหวัดพระนคร บุตรของนายฮวด กับ นางแก้ว หุตะสิงห์ สมรสกับคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา (นิตย์ สามเสน) ถึงอสัญกรรม ณ ที่นั้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2491 รวมอายุได้ 64 ปีเศษ


นายกรัฐมนตรี คนที่ 1 พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
ครม.คณะที่ 1 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 28 มิถุนายน 2475 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 10 ธันวาคม 2475 โดยประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร (10 ธันวาคม 2475) วันแถลงนโยบายไม่มีการแถลง
ครม.คณะที่ 2 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่10 ธันวาคม 2475 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 1 เมษายน 2476 โดยพระราชกฤษฎีกาให้ปิดสภาผู้แทนและตั้ง ครม. ชุดใหม่ วันแถลงนโยบาย 20 ธันวาคม 2475
ครม.คณะที่ 3 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 1 เมษายน 2476 โดยพระราชกฤษฎีกา นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 21 มิถุนายน 2476 โดยรัฐประหารนำโดยพ.อ.พระยาพหลพลพยุเสนา วันแถลงนโยบาย 1 เมษายน 2476

การศึกษา วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
โรงเรียนอัสสัมชัญวิทยาลัย
โรงเรียนกฏหมายกระทรวงยุติธรรม(เนติบัณฑิตสยาม)
The Middle Temple(เนติบัณฑิต )ประเทศอังกฤษ

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 รัฐบาลที่ 1 28 มิถุนายน 2475 - 9 ธันวาคม 2475
2 รัฐบาลที่ 2 10 ธันวาคม 2475 - 1 เมษายน 2476
3 รัฐบาลที่ 3 1 เมษายน 2476 - 20 มิถุนายน 2476

บทบาททางการเมือง 

27-28 มิ.ย.2475 : ได้มีมติแต่งตั้งพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นประธานคณะกรรมการราษฎร ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในการบริหารเทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน
9 ธ.ค. 2475 : ลาออก
10 ธ.ค. 2475 : พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง
1 เม.ย.2476 : แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
20 มิ.ย. 2476 : พันเอก พระยาพหลพลพยุเสนาได้เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ผลงานที่สำคัญ
พ.ศ. 2461 ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาราชการในพระองค์







ที่มา thaigov

ภาพจาก TNN Online


ข่าวที่เกี่ยวข้อง