ทำไมทหารกัมพูชา ละเมิดข้อตกลงทุ่นระเบิด? ฝังทุ่นระเบิดใหม่ในพื้นที่พิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา

กัมพูชา...คือหนึ่งในประเทศที่รู้จัก "ความสยดสยองของทุ่นระเบิด" ดีกว่าใครในโลก
มรดกจากยุคเขมรแดง เปลี่ยนทุ่งนาให้กลายเป็นทุ่งสังหาที่ทุกย่างก้าว อาจแลกมาด้วยแขน ขา หรือแม้แต่ชีวิต
กัมพูชามีจึงผู้พิการจากกับระเบิดมากที่สุดอันดับต้น ๆ ของโลก และจนถึงปี 2022 ยังมีพื้นที่เสี่ยงทุ่นระเบิดกว่า 2,000 ตารางกิโลเมตร
รายงานของ Landmine Monitor ระบุว่า ณ ปี 2022 พื้นที่เสี่ยงจากกับระเบิดในกัมพูชายังเหลือกว่า 2,000 ตารางกิโลเมตร และมีเหยื่อเพิ่มขึ้นราว 40 คนต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนาและเด็กในพื้นที่ชนบท
นั่นจึงทำให้กัมพูชาเข้าร่วมสนธิสัญญา Ottawa ปี 1997 ซึ่งเป็นอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิด มีเป้าหมายเพื่อขจัดทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (APL) ทั่วโลก
แต่เสียงระเบิดเมื่อ 16 กรกฎาคม 2568 กลับบอกเล่าเรื่องราวอีกแบบ
เมื่อพลทหาร 3 นาย ต้องบาดเจ็บจากการเหยียบกับระเบิด โดยหนึ่งในนั้นต้องสูญเสียอวัยวะ ขณะลาดตระเวนที่บริเวณเนิน 481 อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี
ที่น่าแปลก คือ คำยืนยันจากหน่วยปฏิบัติการต่อต้านทุ่นระเบิด (นปท.) ที่ระบุว่า ในพื้นที่สีเขียวคือแนวสนามทุ่นระเบิด ที่กวาดล้างทำลายหมดแล้ว และ จากการพิสูจน์ด้วยภาพรายงานว่า คือทุ่นระเบิด PMN-2 ที่เป็นทุ่นใหม่ นั่นหมายความว่ามีการเข้าวางทุ่นระเบิดใหม่ ในแนวที่มีการเก็บกู้ร่วมกันโดยทหารกัมพูชา ซึ่งผิดต่อหลักการของสนธิสัญญา Ottawa
รายงานจาก วาสนา นาน่วม นักข่าวสายทหาร เปิดเผยว่ากัมพูชาได้ติดตั้งสนามทุ่นระเบิดใหม่ด้วยกับระเบิด PMN รุ่นล่าสุดจากรัสเซียรวมแล้ว กว่า 335 ลูก และยังมีข้อมูลระบุว่าทหารกัมพูชาเพิ่งได้รับทุ่นระเบิดใหม่อีก 106 ลูก และยังมีการฝังเพิ่มที่ เนินโนเนม อีก 120 ลูก
ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เคยมีข้อพิพาทและแนวปะทะเดิม เช่น บริเวณสามเหลี่ยมมรกต ช่องบก และใกล้ ปราสาทพระวิหาร
ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับ พล.ต.วันชนะ สวัสดี ผู้อำนวยการสำนักงานประสานภารกิจด้านความมั่นคงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (ผอ.สน.ปร.มน) ที่ออกมาเปิดเผยกาอนหน้านี้ว่ามีรายงานหลายครั้งว่ากองทัพกัมพูชา แอบวางกับระเบิดใหม่ตามแนวชายแดนไทย โดยเฉพาะบริเวณใกล้ปราสาทพระวิหาร
พล.ต.วันชนะ ตั้งข้อสังเกตว่าทำไมกัมพูชาจึงยังฝังทุ่นระเบิดใหม่ทั้งที่เคยให้คำมั่นว่าจะเลิกใช้ โดยอาจเกี่ยวกับการทุจริตภายในของกัมพูชา โดยมีรายงานว่า ในปี 1999 องค์กร Cambodian Mine Action Center (CMAC) ถูกเปิดโปงว่ามีการยักยอกเงินและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีคุณสมบัติเหมาะสม ทำให้ผู้บริจาคตะวันตกระงับการสนับสนุนชั่วคราว และกระทบต่อการกู้กับระเบิดอย่างรุนแรง
แม้เวลาจะผ่านมานาน แต่ปัญหาคอร์รัปชันก็ยังฝังลึกและแผ่ขยาย โดยเฉพาะในโครงการที่เกี่ยวข้องกับเงินสนับสนุนจากนานาชาติ เช่น โครงการกู้กับระเบิดจากสหภาพยุโรป (EU) และ UNDP ซึ่งหลายหน่วยงานยังไม่มีระบบตรวจสอบการใช้จ่ายที่โปร่งใส
แม้หน่วยความมั่นคงไทย และ กัมพูชา ยังไม่ยืนยันว่ามีการวางทุ่นระบเดใหม่ในบริเวณจุดเกิดเหตุกับทหารไทบหรือไม่ แต่จากข้อมูลทั้งหมดกำลังชี้ให้เห็นว่ากัมพูชาอาจกำลังละเมิดสนธิสัญญา Ottawa อย่างเงียบ ๆ และเหยื่อรายต่อไปอาจไม่ใช่แค่ทหาร แต่อาจเป็นเด็กตัวเล็ก ๆ ในหมู่บ้านห่างไกล ที่ไม่รู้อะไรเลยด้วยซ้ำว่า ใต้ฝ่าเท้าเขา คือกับระเบิด
Tag
ยอดนิยมในตอนนี้
