รีเซต

ผิวหนังดูอ่อนเยาว์ลงอีก 30 ปี !! ด้วยเทคโนโลยี "ย้อนวัย" สุดอัศจรรย์

ผิวหนังดูอ่อนเยาว์ลงอีก 30 ปี !! ด้วยเทคโนโลยี "ย้อนวัย" สุดอัศจรรย์
TNN ช่อง16
17 เมษายน 2565 ( 21:55 )
168

กระบวนการ "ย้อนวัย" ให้แก่ร่างกายของมนุษย์ ยังคงเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พยายามพัฒนามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากสหราชอาณาจักรได้คิดค้นวิธีการย้อนวัยให้แก่เซลล์ผิวหนังจนเป็นผลสำเร็จ ทำให้ผิวดูอ่อนกว่าวัยถึง 30 ปี !!

ที่มาของภาพ Unsplash

 


ทั้งนี้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการย้อนวัยแก่เซลล์ผิวหนังนั้นมีมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์นามว่า ชินยะ ยามานากะ (Shinya Yamanaka) ซึ่งเขาได้ทำการเปลี่ยนย้อนกลับเซลล์ผิวหนังของหนูทดลอง ให้กลายเป็นเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ชนิดพลูริโพเทนต์ (Pluripotent stem cell) และสเต็มเซลล์นี้สามารถเจริญเติบโตไปเป็นเซลล์ชนิดใดก็ได้


จนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบาบราฮัม เมืองเคมบริดจ์ ได้นำเทคนิคของยามานากะมาปรับปรุง แทนที่จะเปลี่ยนเซลล์ผิวหนังให้กลายเป็นสเต็มเซลล์ กลับเปลี่ยนให้เซลล์มีความอ่อนเยาว์แต่ไม่ถึงกลับกลายเป็นเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Maturation phase transient reprogramming


จากผลการทดลองพบว่า ตัวอย่างเซลล์ผิวหนังของอาสาสมัครชาย อายุประมาณ 50 ปี จำนวน 3 ราย สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นเซลล์ผิวหนังที่มีอายุเทียบเท่ากับผู้ชายอายุ 20-22 ปี ไม่เพียงแต่รูปลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น แต่คุณสมบัติการทำงานต่าง ๆ ของเซลล์ยังมีประสิทธิภาพเทียบเท่าคนวัยหนุ่มสาวอีกด้วย


การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ จะเห็นได้ว่าหลังผ่านไป 13 วัน เซลล์อายุ 50 ปีที่ได้รับการเปลี่ยนย้อนกลับ (Transiently reprogrammed) มีลักษณะเหมือนกับเซลล์วัยหนุ่มสาวอายุ 20-22 ปี (Young)
ที่มาของภาพ eLife

 


หากเปรียบเทียบแล้วเทคนิคของยามานากะจะใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงเซลล์นานประมาณ 50 วัน ในขณะที่กระบวนการ Maturation phase transient reprogramming จะใช้เวลาเพียง 13 วันเท่านั้น


ดิลจีต จิล (Diljeet Gill) หนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบาบราฮัม รู้สึกตื่นเต้นกับผลลัพธ์อันน่าทึ่งนี้ เขายังกล่าวอีกว่ากระบวนการที่คิดค้นขึ้นยังมีประโยชน์นอกเหนือจากด้านความสวยความงาม มันอาจช่วยย้อนวัยให้แก่เซลล์อื่น ๆ ที่เสื่อมสภาพเพื่อช่วยรักษาโรคบางชนิด เช่น โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคต้อกระจก เป็นต้น


ที่มาของภาพ Unsplash

 

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษานี้ยังเป็นงานวิจัยในลำดับต้นที่ทดลองในเซลล์นอกร่างกายเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องศึกษาผลลัพธ์ในหลากหลายรูปแบบให้มากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง โดยเฉพาะการพัฒนาให้เกิดเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่างานวิจัยนี้จะสามารถนำมาทดลองในมนุษย์ได้


ขอขอบคุณข้อมูลจากLive Science

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง