รีเซต

'กรมชลฯ' เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ เดินหน้า 3 โครงการขนาดใหญ่ ห้วยน้ำรี-นฤบดินทรจินดา-คลองหลวง

'กรมชลฯ' เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ เดินหน้า 3 โครงการขนาดใหญ่ ห้วยน้ำรี-นฤบดินทรจินดา-คลองหลวง
มติชน
14 กุมภาพันธ์ 2565 ( 13:07 )
63
'กรมชลฯ' เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ เดินหน้า 3 โครงการขนาดใหญ่ ห้วยน้ำรี-นฤบดินทรจินดา-คลองหลวง

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปี 2565-2566 กรมชลประทาน ยังเดินหน้า 3 โครงการขนาดใหญ่ ได้แก่ 1.โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งแล้วเสร็จภายในปี 2568 โดยโครงการจะใช้ประโยชน์ได้ 100% ซึ่งอ่างเก็บน้ำมีความจุเก็บกัก 73.70 ล้าน ลบ.ม. เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสามารถบรรเทาปัญหาอุทกภัยในลุ่มน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ชลประทานฤดูฝน 53,500 ไร่ ฤดูแล้ง 39,920 ไร่ ในพื้นที่ 9 ตำบล 60 หมู่บ้าน

 

2.โครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ห้วยโสมง) จ.ปราจีนบุรี โดยอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดาฯ เป็นเขื่อนดิน แบบแบ่งโซน ความสูง 32.75 เมตร ความยาว 3,967.51 เมตร ความจุ 295 ล้าน ลบ.ม พร้อมก่อสร้างระบบชลประทาน มีลักษณะเป็นคลองส่งน้ำคอนกรีต และถนนบนคันคลองผิวจราจรลูกรัง สามารถส่งน้ำครอบคลุม พื้นที่ชลประทานในเขตพื้นที่ อ.นาดี และอ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี จํานวนรวม 111,300 ไร่ และช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรีและลุ่มน้ำสาขาในเขตพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของราษฎรและการประปา และช่วยรักษาระบบนิเวศ ผลักดันน้ำเค็มและน้ำเน่าเสีย อีกทั้งอ่างเก็บน้ำจะเป็นแนวกันชนหรือแนวป้องกันการบุกรุกทําลายพื้นที่ป่าไม้ รวมทั้งช่วยเพิ่มระดับความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่าไม้ และลดโอกาสการเกิดไฟไหม้ป่า

 

3.โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร จ.ชลบุรี เป็นเขื่อนเก็บกักน้ำความจุ 98 ล้าน ลบ.ม โดยโครงการฯ เป็นเขื่อนและมีการก่อสร้างระบบชลประทาน พื้นที่ฝั่งขวา 26,103 ไร่ และฝั่งซ้าย 14,487 ไร่ สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานในฤดูฝน 40,590 ไร่ และยังช่วยป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ครอบคลุมพื้นที่ในเขต อ.เกาะจันทร์และอ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

 

ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายโครงการที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างได้แก่ โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ ,โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี- พุมดวง จ.สุราษฎร์ธานี,โครงการบรรเทาอุทกภัย อ.หาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จ.สงขลา, โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.พะเยา ,โครงการประตูระบายนํ้าศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อ.เชียงคาน จ.เลย, โครงการอ่างเก็บนํ้าลํานํ้าชีอันเนื่องมาจากพระราชดําริ จ.ชัยภูมิ,โครงการประตูระบายน้ำลำน้ำพุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร ,โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา หากดำเนินโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทาน เพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อให้ราษฎรได้มีน้ำกินน้ำใช้ รวมไปถึงน้ำทำการเกษตรอย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง