อินเดียไฟเขียวใช้ยาตัวใหม่ เพื่อรักษาผู้ป่วย 'โควิด-19' ในกรณีฉุกเฉิน
นิวเดลี, 9 พ.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันเสาร์ (8 พ.ค.) องค์การควบคุมยาแห่งอินเดีย (DCGI) ได้อนุมัติการใช้ยาตัวหนึ่งเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ในกรณีฉุกเฉินแก่องค์การวิจัยและพัฒนากลาโหมของอินเดีย (DRDO)
ยาดังกล่าวมีชื่อว่า "2-ดีออกซี-ดี-กลูโคส" (2-deoxy-D-glucose) หรือ "2-ดีจี" (2-DG) ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันเวชศาสตร์นิวเคลียร์และสหเวชศาสตร์ (INMAS) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการขององค์การข้างต้น ร่วมกับด็อกเตอร์เรดดี’ส แลบบอราทอรีส์ (DRL) ซึ่งเป็นบริษัทเภสัชภัณฑ์สัญชาติอินเดียในเมืองไฮเดอราบัดกระทรวงกลาโหมของรัฐบาลกลางอินเดียแถลงว่า "ผลการทดลองทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าตัวยาดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ลดการพึ่งพาออกซิเจน ทั้งยังมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวนมากที่ได้รับตัวยาดังกล่าวและมีผลการตรวจด้วยชุดทดสอบเรียลไทม์พีซีอาร์ (RT-PCR) ออกมาเป็นลบ ยาตัวนี้จึงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ที่ทุกข์ทรมานด้วยโรคโควิด-19”ยาดังกล่าวเป็นยาผงบรรจุซอง ที่สามารถรับประทานได้ด้วยการละลายในน้ำ"มันจะรวบรวมเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสเข้าด้วยกัน และป้องกันไม่ให้ไวรัสเติบโตด้วยการยับยั้งการสังเคราะห์ไวรัสและการผลิตพลังงานของไวรัส" กระทรวงระบุอินเดียกำลังเผชิญการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 2 มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ต้องพึ่งพาออกซิเจนในปริมาณสูงและจำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งกระทรวงคาดการณ์ว่าตัวยาดังกล่าวจะสามารถรักษาชีวิตอันล้ำค่าของผู้คนไว้ได้ และจะช่วยลดระยะเวลาที่พวกเขาต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเช้าวันเสาร์ (8 พ.ค.) อินเดียรายงานพบผู้ป่วยใหม่ 401,078 ราย และผู้เสียชีวิตใหม่ 4,187 รายในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา