รีเซต

รู้จัก! 'นกแก้วโม่ง' สัตว์เซเลปที่ต้อง 'รัก(ษ์)' ฝูงสุดท้ายของไทย

รู้จัก! 'นกแก้วโม่ง' สัตว์เซเลปที่ต้อง 'รัก(ษ์)' ฝูงสุดท้ายของไทย
TeaC
16 กรกฎาคม 2564 ( 15:50 )
597
1
รู้จัก! 'นกแก้วโม่ง' สัตว์เซเลปที่ต้อง 'รัก(ษ์)' ฝูงสุดท้ายของไทย

เช้า 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา ภาพครอบครัวนกหายาก "นกแก้วโม่ง" น่ารัก ๆ สีสันสวยงาม ไม่ได้พบเจอกันได้ง่าย ๆ  แถมเหลือฝูงสุดท้ายในวัดสวนใหญ่ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี นับวันใกล้จะสูญพันธุ์เต็มทีแล้ว เพราะป่าไม้ลดลงเรื่อย ๆ กลายเป็นป่าคอนกรีตของคนเมืองมากขึ้นทุกที TrueID จะพาไปรู้จัก "นกแก้วโม่ง"  สัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์ป่าสงวน  ดังนั้น อย่าทำร้ายน้อง อย่าจับน้อง ไม่อย่างนั้นลูกหลานของเราจะไม่ได้พบเห็นอีกเลย 

 

รู้จัก! นกแก้วโม่ง นกหายาก

 

 

พวกเรามีชื่อว่า "นกแก้วโม่ง" ชื่ออินเตอร์หน่อยที่เขาเรียกกันคือ Alexandrine Parakeet (Palaeornis eupatria) จะพบพวกเราในประเทศอินเดีย พรือแถว ๆ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื่น ป่าเต็งรัง และป่ารุ่น ทั้งในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง พม่า อันดามัน ลาว อินโดจีน ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ แต่ล่าสุดประชากรนกแก้วโม่งของเราเหลือน้อยลงเต็มที พวกเราจึงเป็นฝูงสุดท้ายที่ใช้ชีวิตในวัดสวนใหญ่ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

 

ส่วนลักษณะหน้าตาของ นกแก้วโม่ง อย่างพวกเรานะเหรอ ถ้าเป็นนกแก้วโมงตัวผู้จะตัวใหญ่กว่าตัวเมีย หางของเราจะเล็กเรียวยาว ลำตัวสีเขียวสวย มีจะงอยปากอวบอูมน่าดู ปลายปากงุ้มลงสีแดง ส่วนหัวปีกก็มีแถบสีแดงเด่นสง่าน่ามอง ความแตกต่างระหว่างหนุ่ม ๆ กับสาว ๆ นกแก้วโม่ง นั่นคือ นกตัวผู้มีแถบแดงเล็ก ๆ บริเวณคอด้านหลัง และมีแถบดำบริเวณคอด้านหน้า ซึ่งไม่มีในนกตัวเมีย ใต้หางสีเหลืองคล้ำ ใบหน้าและลำคอสีปนเหลือง

 

นกแก้วโม่ง อย่างพวกเราใช้ชีวิตเรียบง่าย เราหากินรวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ใครไม่ใช่นกแก้วโม่งเราจะไม่รับเข้ากลุ่ม การกินอาหารของพวกเราก็ดูเฮลตี้สักนิดนะ แค่ผลไม้ที่มีเปลืองอ่อนนุ่ม และเปลืองแข็ง เมล็ดธัญพืช เมล็ดพืช ใบไม้ และผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ เท่านี้ก็แสนอิ่มอร่อยแล้ว 

 

ส่วนเรื่องการหลับนอน เราจะนอนบนต้นไม้เป็นกลุ่มใหญ่ พวกเราบินเร็ว แต่จะบินเป็นฝูงเล็ก ๆ 8-10 ตัวมากกว่าบินเดี่ยว ยอดไม้เป็นที่ที่พวกเราชอบเกาะมาก อาจเพราะสูงดี มองได้ไกล เสียงร้องของเราก็น่าฟังนะ พิเศษหน่อยพวกเราชอบเลียนเสียงเก่ง และนกแก้วโม่งพูดได้เมื่อพวกเราถูกเลี้ยงให้เชื่อง คนเลยชอบเรามาก

 

นกแก้วโม่งผสมพันธุ์ในฤดูหนาวต่อฤดูร้อน หรือระหว่างเดือน ธันวาคม - เมษายน ทำรับอยู่ตามโพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันสร้างรัง ฟักไข่ และเลี้ยงลูกอ่อน จะเริ่มฟักไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองสุดท้ายของรัง ใช้ระยะเวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 19-21 วัน และพวกเราได้ขึ้นชื่อว่า เป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ลำตัวยาว 50-51 เซนติเมตร ในอดีตพวกเรามีจำนวนมาก แต่เดี๋ยวนี้นกแก้วโม่งเกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์แล้วล่ะ และวันนี้เรากลายเป็นเซเลปดังในพริบตา มีคนรู้จักนกแก้วโม่งมากขึ้น ดีใจจังจะได้รักษ์เรามาก ๆ ไม่ทำร้ายพวกเรา 

 

นกแก้วโม่ง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์ป่าสงวน แตกต่างกันอย่างไร?

 

อีกหนึ่งเรื่องทุกคนควรรู้ สัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์ป่าสงวน มีความหมายที่แตกต่างกันออกไป  เพื่อลดการล่า ทารุณสัตว์ หรือมีไว้ในครอบครอง เพราะอาจเข้าข่ายผิกฎหมายได้ มาทำความเข้าใจกันดังนี้

 

สัตว์ป่าคุ้มครอง คือ สัตว์ป่าตามที่กฏกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองกำหนดไว้ เช่น กระทิง กระรอกบิน กวาง เก้ง ชะมด ชะนี ไก่ป่า นกยูง นกแร้ง นกเงือก งูสิง งูเหลือม ปูเจ้าฟ้า เป็นต้น ซึ่งกฏหมายไม่อนุญาตให้ล่าได้หรือมีไว้ในครอบครอง (ซึ่งรวมถึงซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง) หรือค้า เว้นแต่การกระทำโดยทางราชการเพื่อการศึกษา วิจัย การเพาะพันธุ์หรือเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะ

 

ส่วน สัตว์ป่าสงวน เป็นสัตว์ป่าหายาก 15 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ได้แก่ แมวลายหินอ่อน พะยูน เก้งหม้อ นกกระเรียน เลียงผา กวางผา ละองหรือละมั่ง สมัน กูปรี ควายป่า แรด กระซู่ สมเสร็จ นกแต้วแล้วท้องดำ และนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

 

สรุปคือ สัตว์ป่าสงวน คือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธ์มาก ๆ และหายากมากด้วยเช่นเดียวกับนกแก้วโม่ง ให้เราเป็นนกเซเลปที่เหลือฝูงสุดท้ายในประเทศไทยที่ทุกคนร่วมรักอนุรักษ์ ดังนั้น อย่าจับพวกเราเลย ให้เราได้อยู่ตามธรรมชาติแบบเเป็นฝูงดีที่สุด 

 

แต่ถ้าอยากรู้ชีวิตสัตว์ป่าว่ามีวิถีการใช้ชีวิตอย่างไร มาม่ะ มาเลือกชมกันเลยที่ทรูไอดี คลิก >>> ตามติดชีวิตป่า

 

 

ต้องการดูออนไลน์ ตามติดชีวิตป่า คลิกเลย!

 

 

ดูแล้วจะได้รัก(ษ์) พวกเราให้มาก ๆ เพราะเราอยากอยู่นาน ๆ ไม่อยากสูญพันธุ์

 

ข้อมูล : สวนสัตว์ดุสิต

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<<

ข่าวที่เกี่ยวข้อง