นักวิจัยจีนพัฒนาเทคนิคใหม่ หนุนสำรวจ 'ดาราศาสตร์' แม่นยำ
ปักกิ่ง, 8 ธ.ค. (ซินหัว) -- บทความวิจัยล่าสุดในวารสารแอสโตรโนมิคอล เจอร์นัล (Astronomical Journal) เปิดเผยว่าคณะนักวิจัยชาวจีนได้เสนอวิธีการใหม่ในการวัดตำแหน่งทางดาราศาสตร์ของวัตถุใกล้โลกขนาดเล็ก (NEOs) อย่างแม่นยำ
การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่แม่นยำของวัตถุใกล้โลกขนาดเล็กเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ การตรวจจับและการแจ้งเตือนล่วงหน้าของวัตถุใกล้โลกขนาดเล็ก และการระบุตำแหน่งในอวกาศห้วงลึกคณะนักวิจัยจากหอสังเกตการณ์อวิ๋นหนาน (ยูนนาน) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ใช้เทคนิคการผสมภาพ ซึ่งได้ทั้งภาพซ้อนทับและภาพต้นฉบับที่มีดวงดาวอ้างอิงและเป้าหมายที่เคลื่อนที่ เพื่อจัดการกับความเลือนลางและการเคลื่อนตัวที่รวดเร็วของวัตถุใกล้โลกขนาดเล็ก รวมถึงเพิ่มความแม่นยำของการสำรวจคณะนักวิจัยได้คำนวณทางดาราศาสตร์บนภาพถ่ายของวัตถุใกล้โลกขนาดเล็กจากกล้องโทรทรรศน์ขนาด 1 เมตร และสาธิตให้เห็นว่าวิธีการนี้สามารถปรับปรุงความแม่นยำในการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของวัตถุใกล้โลกขนาดเล็กอย่างมีนัยสำคัญทั้งนี้ คณะนักวิจัยสามารถลดอิทธิพลของข้อผิดพลาดจากการติดตามของกล้องโทรทรรศน์และตารางแสดงตำแหน่งวัตถุใกล้โลกขนาดเล็กในการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ได้โดยใช้ภาพผสมรวม