รีเซต

สรุปประเด็นน่าสนใจงาน ‘Tech-Verse’ ครั้งแรกของการจับมือระหว่าง ‘LINE’ และ ‘Yahoo! JAPAN’

สรุปประเด็นน่าสนใจงาน ‘Tech-Verse’ ครั้งแรกของการจับมือระหว่าง ‘LINE’ และ ‘Yahoo! JAPAN’
แบไต๋
21 พฤศจิกายน 2565 ( 16:37 )
35

LINE Corporation และ Yahoo! Japan ได้ควบรวมธุรกิจอย่างสมบูรณ์ในปี 2021 แต่ในปี 2022 นี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ทั้งสองบริษัทฯ ได้ร่วมมือจัดการประชุมออนไลน์ครั้งยิ่งใหญ่อย่าง “Tech-Verse 2022” ซึ่งมีการถ่ายทอดสดในรูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่งตลอดงานในวันที่ 17 และ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับชมงานอย่างล้นหลามเกิน 5 หมื่นคน ตอกย้ำความสําเร็จอย่างงดงามในการจัดงานร่วมกันเป็นครั้งแรก

หลังจากได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทฯ ในเครือ Z Holdings แล้ว LINE และ Yahoo! JAPAN ได้ร่วมกันจัดงานในครั้งนี้เป็นครั้งแรก โดยนำเสนอหัวข้อน่าสนใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันกว่า 86 เซสชั่น โดยมุ่งเน้นไปที่เรื่องของความท้าทายและโซลูชันที่เกี่ยวข้องกับ ดาต้า/AI, server side, mobile apps และระบบโครงสร้าง infrastructure

งาน “Tech-Verse 2022” เริ่มต้นขึ้นด้วยพิธีเปิดซึ่งได้รับเกียรติจาก มร. โทโมฮิโระ อิเคเบะ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีแห่ง LINE Corporation และ มร. มาซาฮิโกะ โคคุโบะ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีแห่ง Yahoo! JAPAN มาร่วมอภิปรายถึงความจําเป็นในการแก้ไขปัญหาอันเป็นความท้าทายที่สําคัญ อาทิ การเติบโตขึ้นของปริมาณการใช้ดาต้า ความปลอดภัยและการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ตลอดจนภาระหน้าที่ของผู้ให้บริการในการสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูล ที่นับว่ามีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องใน “ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร” ก่อนเข้าสู่เซสชั่นของการนำเสนอกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีจากทั้งสองบริษัทฯ ซึ่งสะท้อนถึงความพยายามในการ

ปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบและมุ่งสร้างความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง

มร. อิเคเบะ จาก LINE ยังได้แนะนำถึง Information Universe (IU) หรือ “จักรวาลสารสนเทศ” ดาต้าแพลตฟอร์มของ LINE ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อการจัดการข้อมูลจํานวนมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย พร้อมอัปเดตความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ของ LINE Blockchain

จักรวาลสารสนเทศ (Information Universe – IU)

LINE เริ่มให้บริการมาตั้งแต่ในปี 2011 และในปัจจุบันมีผู้ใช้งานรายเดือนทั่วโลก (MAU) เกือบ 200 ล้านคน ล่าสุด ได้สร้างดาต้าแพลตฟอร์มขึ้นมาใหม่ โดยออกแบบมาเพื่อจัดการปริมาณดาต้าขนาดใหญ่ และช่วยให้สามารถเอาข้อมูลไปวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น ซึ่ง LINE เรียกแพลตฟอร์มใหม่นี้ว่า Information Universe (IU) หรือ “จักรวาลสารสนเทศ” นอกจาก IU แล้ว บริษัทฯ ยังได้สร้างสรรค์และนำ MLU (Machine Learning Universe) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มกรรมสิทธิ์เฉพาะของ LINE มาประยุกต์ใช้กับข้อมูลที่มีสะสมไว้บนแพลตฟอร์มสำหรับ Machine learning อีกด้วย

นอกจากนี้ มร. อิเคเบะ ยังประกาศว่า LINE ได้ลงทุน ให้ความสำคัญใน Federated Learning with Differential Privacy โดยเป็นการบูรณาการความสามารถระหว่าง Federated Learning ซึ่งเป็น Machine Learning ประเภทหนึ่ง ในรูปแบบกระจายศูนย์ (Distributed Machine Learning) ด้วยวิธีการลดปริมาณข้อมูลจากอุปกรณ์ส่วนตัวแต่ละเครื่อง กับ Differential Privacy ซึ่งเป็นวิธีการทางสถิติที่ใช้เพื่อช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวโดยการเพิ่ม Noise เข้าไป การใช้วิธีการเหล่านี้ร่วมกันจะช่วยยกระดับการพัฒนาความสามารถของ Machine Learning และสร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งานได้ด้วยการปกป้องความเป็นส่วนตัวที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

LINE Blockchain และการเปิดตัว Mainnet เจนเนเรชั่นที่สาม

ในเซสชั่นพิธีเปิด มร. อิเคเบะ ได้ประกาศเพิ่มเติมถึงการเตรียมเปิดตัวเครือข่าย Mainnet เจนเนเรชั่นที่สามในช่วงปลายปีที่จะถึงนี้ โดย LINE ได้ทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนของตนเองมาตั้งแต่ปี 2018 และปัจจุบันได้มีการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับบล็อกเชนและแพลตฟอร์ม NFT ที่หลากหลาย เช่น DOSI และ LINE NFT ที่อยู่บน LINE Blockchain ซึ่งเป็นบล็อกเชนภายใต้กรรมสิทธิ์ของ LINE โดยเครือข่าย Mainnet เจนใหม่ล่าสุดนี้ได้รับการพัฒนาและจะถูกเปิดใช้งานเป็น open source พร้อมฟังก์ชัน smart contract ด้วยการใช้ WebAssembly ที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บแอปฯ

จากนั้น มร. โคคุโบะ CTO จาก Yahoo! JAPAN ได้แชร์กรณีศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นํามาใช้ในด้านดาต้า/AI และความปลอดภัย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยเขายังได้ให้คําแนะนําเกี่ยวกับ AI ในฐานะตัวอย่างเทคโนโลยียุคใหม่ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงบริการในแบบเดิม ๆ ที่มีมาอย่างยาวนานได้ ด้วยการสร้างรายการคําแนะนําอย่างเป็นหมวดหมู่ รวมถึงการจัดกลุ่มโดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ มร. โคคุโบะ ยังได้กล่าวถึงการที่ Yahoo! JAPAN ได้สร้างแพลตฟอร์มดาต้า/AI และเปิดตัวกระบวนการยืนยันตัวตนโดยไม่ต้องใช้รหัสผ่านบนโปรโตคอลแบบ FIDO (Fast Identity Online) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นและสร้างความปลอดภัยสูงสุดให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ Yahoo! JAPAN ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม FIDO Alliance เมื่อปี 2014 เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย และได้กลายเป็นบริษัทแรกของโลกที่ได้นำระบบยืนยันตัวตนที่ผ่านการรับรอง FIDO2 มาใช้กับบริการต่างๆ ในเชิงพาณิชย์สําหรับผู้บริโภค

หลังจบพิธีเปิดดังกล่าว นักพัฒนาทั้งจาก LINE, Yahoo! JAPAN และบริษัทอื่นๆ ภายใต้กลุ่ม Z Holdings ไม่ว่าจะเป็น Dely Inc., Demae-can Co. Ltd., Ikyu Corporation, ValueCommerce Co. Ltd., Z Lab Corporation และ ZOZO Inc. ได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกที่แต่ละบริษัทฯ ค้นพบมาจากการดําเนินงานและการทำโครงการวิจัยและพัฒนาต่าง ๆ

LINE และ Yahoo! JAPAN วางแผนในการเสริมสร้างความร่วมมือของทั้งสองบริษัทฯ เพื่อจัดการกับความท้าทายทางด้านเทคนิคที่ต้องเผชิญร่วมกัน และเพื่อยกระดับการให้บริการที่สะดวกยิ่งขึ้น ในอนาคต คาดว่าผู้บริโภคจะได้รับการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและความรู้จากกรณีศึกษาต่าง ๆ จากงาน Tech-Verse ครั้งต่อ ๆ ไปอย่างแน่นอน

สามารถรับชมวิดีโอและอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับงาน Tech-Verse 2022 ได้ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง