รีเซต

นักวิจัยออสเตรเลีย ค้นพบยารักษาโควิด-19 ทุกสายพันธุ์!

นักวิจัยออสเตรเลีย ค้นพบยารักษาโควิด-19 ทุกสายพันธุ์!
TNN ช่อง16
19 พฤษภาคม 2564 ( 19:05 )
240

นักวิทยาศาสตร์ จากสถาบันสุขภาพเมนซีส์แห่งรัฐควีนส์แลนด์ (MHIQ) มหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ร่วมกับ สถาบันวิจัย ซิตี้ ออฟ โฮป ในสหรัฐอเมริกา พัฒนากระบวนการบำบัดที่อาศัยหลักการทางด้านสารพันธุกรรมชนิด RNA ซึ่งมีเป้าหมายทำลายเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ด้วยการค้นหาและทำลายสารพันธุกรรมดังกล่าวของไวรัส ส่งผลให้ไวรัสสูญเสียความสามารถในการเพิ่มจำนวน 

ผลการทดสอบระยะที่หนึ่ง ซึ่งทดสอบในสัตว์ทดลอง (clinical trial phase I) ให้ผลทดสอบออกมาเป็นน่าพอใจอย่างยิ่ง เพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กับหนูทดลองที่ติดเชื้อได้สูงอย่างน่าประทับใจ สามารถลดปริมาณไวรัส (ไวรัล โหลด) ในปอดของสัตว์ทดลองได้ถึงร้อยละ 99.9

รายงานระบุว่า ยาดังกล่าวอาศัยหลักการการควบคุมการแสดงออกของลักษณะทางพันธุกรรม ที่เรียกว่า RNA interference (RNAi) โดยนักวิจัยนำมาพัฒนาต่อเป็นยีนส์ที่มีคุณลักษณะพิเศษกลายเป็นเทคโนโลยีหยุดยั้งลักษณะทางพันธุกรรมเป้าหมาย (gene-silencing RNA technology) เรียกว่า small-interfering RNA (siRNA) 

ซึ่งออกแบบมาให้เชื่อมต่อเข้ากับ RNA ของไวรัสก่อโรคโควิด-19 โดยเมื่อเชื่อมต่อกันแล้วจะกลายเป็นยีนส์ที่ส่งสัญญาณให้เซลล์ร่างกายทำลายสารพันธุกรรมดังกล่าวทันที ส่งผลให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้

ศาสตราจารย์ ไนเจล แม็กมิลแลน หนึ่งในผู้นำคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ กล่าวว่า ยาดังกล่าวมีเป้าหมายแบบจำเพาะเจาะจงเฉพาะกับไวรัสก่อโรคโควิด-19 เท่านั้น จึงไม่มีผลต่อเซลล์ชนิดอื่นๆ ในร่างกาย เนื่องจากทางผู้พัฒนาออกแบบชุดคำสั่งที่จำเพาะอย่างยิ่งด้วยหลักการทางพันธุกรรม ให้ยาค้นหาและทำลายเซลล์หรืออนุภาคไวรัสชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น

ถ้าเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ยาตัวนี้เหมือนจรวดนำวิถี มีเป้าหมายพุ่งเข้าทำลายสารพันธุกรรมของไวรัสโดยตรงเลย และ ถือเป็นตัวอย่างของยาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสารพันธุกรรมของไวรัสเป้าหมาย ไม่ได้ออกฤทธิ์อะไรกับเซลล์อื่น ถ้าหาเป้าหมายไม่เจอ ยาก็อยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไรร่างกายเรา ใช้ได้ผลกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ซาร์ส 1 และ 2 (โควิด-19) รวมถึงชนิดใหม่ๆ ที่อาจเกิดมาจากการกลายพันธุ์ในอนาคตได้ เนื่องจากเป้าหมายหลักของยาเป็นพื้นที่ยีนส์ถาวรในจีโนมของไวรัส

ทั้งนี้ คาดว่าการทดลองระยะต่อไปจะราบรื่นและนำมาใช้จริงได้ภายในไม่เกิน 2 ปีข้างหน้า อย่าไรก็ตาม นักไวรัสวิทยา ยังมีข้อกังวลกับการทดลองในคน เพราะคนตัวใหญ่กว่าหนูทดลอง ยาที่พัฒนาขึ้นมาอาจไปเจือจางในกระแสเลือดมนุษย์หายไปทั้งหมด

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง