รีเซต

"โควิด" เป็นโรคติดต่อต้องเฝ้าระวัง มีผลต่อชีวิตประจำวัน-การรักษาตัวอย่างไร

"โควิด" เป็นโรคติดต่อต้องเฝ้าระวัง มีผลต่อชีวิตประจำวัน-การรักษาตัวอย่างไร
TNN ช่อง16
22 กันยายน 2565 ( 08:57 )
86
"โควิด" เป็นโรคติดต่อต้องเฝ้าระวัง มีผลต่อชีวิตประจำวัน-การรักษาตัวอย่างไร

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขยกเลิก "โควิด-19" ออกจากโรคติดต่ออันตราย ปรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง มีผลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

จากกรณีเรื่องนี้ นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" ระบุข้อความว่า นับจากที่ประเทศไทยพบโควิดรายแรกในวันที่ 8 มกราคม 2563 และติดตามมาด้วยการประกาศขององค์การอนามัยโลก ให้โควิดเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุขของโลก และในที่สุดประเทศ ไทยก็ได้ประกาศให้โควิดเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 นั้น จนสู่จุดสูงสุดหรือพีคเมื่อเดือนเมษายน 2565 ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อ

แบบพีซีอาร์ 27,071 รายต่อวัน

แบบเอทีเค 49,494 รายต่อวัน

รักษาตัวอยู่ในรพ. 67,795 เตียง

และเสียชีวิต 129 รายต่อวัน

จนกระทั่งวันนี้ (21 กันยายน 2565)

สถิติต่างๆได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญได้แก่

ผู้ติดเชื้อแบบพีซีอาร์เหลือ 1129 ราย

แบบเอทีเค 13,709 ราย

รักษาตัวอยู่ในรพ. 5721 เตียง

และเสียชีวิต 13 ราย

ด้วยแนวโน้มสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวง ตามคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ให้ปรับโควิด-19 พ้นจากโรคติดต่ออันตราย มาเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังลำดับที่ 57 (โรคในกลุ่มนี้อาทิเช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก วัณโรค หัด หัดเยอรมัน คางทูม โรคเอดส์ เป็นต้น)

ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป โดยประกาศได้ลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565

ทำให้มีประชาชนให้ความสนใจกันมากว่า การเปลี่ยนแปลงโรคโควิดดังกล่าวนั้น จะมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ต่อการดูแลรักษาตัวอย่างไรบ้าง

บทความนี้จะมาสรุปโดยย่อ เพื่อให้เข้าใจเรื่องดังกล่าว

1) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กำหนดให้มีคณะกรรมการดูแลเกี่ยวกับโรคติดต่อ 3 ชุด ได้แก่

คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด

คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร

2) มีการกำหนดโรคติดต่อไว้เป็น 2 ความรุนแรงหรือ 2 ระดับ ได้แก่

2.1) โรคติดต่ออันตราย คือโรคติดต่อที่มีการแพร่ระบาดที่รวดเร็วกว้างขวาง และทำให้มีอาการรุนแรงเสียชีวิตได้มาก

2.2) โรคติดต่อต้องเฝ้าระวัง คือโรคติดต่อซึ่งมีการแพร่ระบาดและความรุนแรงน้อยกว่า แต่สมควรมีการติดตาม ตรวจสอบ และจัดเก็บข้อมูลไว้เพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรค

3) ในกรณีโรคติดต่ออันตราย ทางเจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบจะต้องรายงานผู้ติดเชื้อภายใน 3 ชั่วโมง ไปที่กรมควบคุมโรค และต้องทำการแยกกักตัวผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ทำการกักกันผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และทำการควบคุมผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ เพื่อการควบคุมโรค

4) โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ให้เจ้าพนักงานรายงานไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสัปดาห์ละครั้ง และผ่อนคลายมาตรการแยกกัก กักกัน และควบคุมลง

5) ในส่วนของประชาชนทั่วไป เมื่อมีการติดเชื้อไม่ว่าจะรักษาเป็นผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน ก็จะยังคงได้รับการดูแลตามสิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลที่มีอยู่เดิม โดยแยกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

5.1) กลุ่มสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ

5.2) กลุ่มประกันสังคม

5.3) กลุ่มบัตรทองหรือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ซึ่งแตกต่างจากสมัยที่โควิดเป็นโรคติดต่ออันตราย ในช่วงแรกนั้นระบบสุขภาพของไทยได้เอื้อความสะดวกให้กับประชาชนทุกคน สามารถเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลได้ทุกแห่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นสถานพยาบาลต้นสังกัดเท่านั้น และไปไกลถึงขั้นสนับสนุนค่าใช้จ่ายในกรณีกักตัวที่โรงแรม หรือแยกกักตัวที่บ้านด้วย

6) หลังวันที่ 1 ตุลาคม 2565 เมื่อโควิดไม่ได้เป็นโรคติดต่ออันตรายแล้ว ก็จะทำให้บรรยากาศความรู้สึก ทั้งระบบเศรษฐกิจ ระบบการใช้ชีวิตในสังคม มีการผ่อนคลายมากขึ้น

การมีวินัยดังกล่าว อาจจะต้องเข้มงวดขึ้นด้วยซ้ำไป เพราะเมื่อคนมีความรู้สึกว่าโควิดไม่ใช่โรคติดต่ออันตรายแล้ว ก็อาจจะมีผู้ที่ติดเชื้อแล้วไม่ได้ตรวจ หรือตรวจแล้วไม่มีอาการ ออกมาใช้ชีวิตข้างนอกมากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับเชื้อไวรัสง่ายขึ้น

การมีวินัยดังกล่าว อาจจะต้องเข้มงวดขึ้นด้วยซ้ำไป เพราะเมื่อคนมีความรู้สึกว่าโควิดไม่ใช่โรคติดต่ออันตรายแล้ว ก็อาจจะมีผู้ที่ติดเชื้อแล้วไม่ได้ตรวจ หรือตรวจแล้วไม่มีอาการ ออกมาใช้ชีวิตข้างนอกมากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับเชื้อไวรัสง่ายขึ้น



ข้อมูลจาก blockdit ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย

ภาพจาก TNN ONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง