รีเซต

เปิดข้อมูลเปรียเทียบ ค่าโดยสาร BTS – MRT ใครแพงกว่ากัน?

เปิดข้อมูลเปรียเทียบ ค่าโดยสาร  BTS – MRT ใครแพงกว่ากัน?
TNN ช่อง16
20 พฤศจิกายน 2563 ( 14:57 )
222
เปิดข้อมูลเปรียเทียบ ค่าโดยสาร  BTS – MRT ใครแพงกว่ากัน?

วันนี้ ( 20 พ.ย. 63 )ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก เปิดเผยข้อมูล เปรียบเทียบค่าโดยสาร BTS - MRTกม.ต่อ กม. ใครแพงกว่า? โดยระบุว่า


เหตุผลหนึ่งที่คมนาคมค้านการขยายสัญญาให้บีทีเอสเพราะค่าโดยสารแพง ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ค้นหาได้จากบทความนี้ ในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงคมนาคมค้านกระทรวงมหาดไทยที่เสนอให้ขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ออกไปอีก 30 ปี จากปีที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทานคือปี 2572 ถึงปี 2602 รถไฟฟ้าสายสีเขียวอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ กทม.อยู่ในสังกัดของกระทรวงมหาดไทย การขยายสัมปทานให้บีทีเอสออกไปอีก 30 ปีนั้น กทม.มีเงื่อนไขดังนี้


1. ค่าโดยสารสูงสุดจะต้องไม่เกิน 65 บาท บีทีเอสจะเก็บค่าโดยสารสูงสุดได้ไม่เกิน 65 บาท ซึ่งเป็นอัตราค่าโดยสารที่ลดลงจากการเก็บตามปกติในอัตราเดิมที่มีค่าโดยสารสูงสุด 158 บาท


2. บีทีเอสจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาระหนี้ของ กทม.จากการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ในส่วนของค่าดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าจัดหาขบวนรถเพิ่มเติม ค่าติดตั้งระบบสื่อสาร อาณัติสัญญาณ และระบบตั๋ว รวมทั้งค่าจ้างเดินรถค้างจ่าย รวมเป็นเงินกว่า 7 หมื่นล้านบาท

 

 3. บีทีเอสจะต้องแบ่งรายได้จากค่าโดยสารให้ กทม.ตั้งแต่ปี 2572-2602 เป็นเงินกว่า 2 แสนล้านบาท


ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าโดยสารนั้น กระทรวงคมนาคมมีความเห็นว่าค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวแพงกว่าสายสีน้ำเงิน ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร?


ค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุด 65 บาท ระยะทางยาวที่สุด 68.25 กิโลเมตร คิดเป็นค่าโดยสาร 0.95 บาท/กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินซึ่งมีราคาสูงสุด 42 บาท และระยะทางยาวที่สุด 48 กิโลเมตร คิดเป็นค่าโดยสาร 0.88 บาท/กิโลเมตร จะเห็นได้ว่าค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวแพงกว่าสายสีน้ำเงินเพียงแค่ 7 สตางค์/กิโลเมตร เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะ


1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นการลงทุนเกือบทั้งหมดโดยบีทีเอส มี กทม.ร่วมลงทุนเป็นส่วนน้อย ทำให้บีทีเอสมีต้นทุนสูง ในขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเป็นการลงทุนส่วนใหญ่โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็มร่วมลงทุนเป็นส่วนน้อย ทำให้บีอีเอ็มมีต้นทุนต่ำกว่าบีทีเอส

2. บีทีเอสจะต้องแบ่งรายได้จากค่าโดยสารให้ กทม.กว่า 2 แสนล้านบาท แต่บีอีเอ็มไม่ต้องแบ่งรายได้ให้ รฟม.


แม้ว่าบีทีเอสเก็บค่าโดยสารแพงกว่าบีอีเอ็ม (เพียงเล็กน้อย) แต่บีทีเอสได้ผลตอบแทนจากการลงทุนน้อยกว่า กล่าวคือบีทีเอสได้ผลตอบแทน 9.6% ในขณะที่บีอีเอ็มได้ผลตอบแทน 9.75% ทั้งนี้ เป็นเพราะบีทีเอสมีต้นทุนสูงกว่าบีอีเอ็ม เนื่องจากภาครัฐร่วมลงทุนกับบีทีเอสน้อยกว่าร่วมลงทุนกับบีอีเอ็ม ผมเห็นด้วยที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสายถูกลง 

 

ถ้ารัฐมีขีดความสามารถในการร่วมลงทุนมากขึ้น และ/หรือสามารถช่วยเหลือค่าโดยสารให้ผู้โดยสารได้ แต่จะเป็นภาระหนักของรัฐที่จะทำเช่นนั้น หากกระทรวงคมนาคมมีแนวคิดที่ดีและเป็นไปได้ในการทำค่าโดยสารให้ถูกลงก็น่าจะเสนอออกมา เพื่อช่วยลดค่าครองชีพของพี่น้องประชาชน

ถ้าทำได้จริง พี่น้องประชาชนที่ใช้รถไฟฟ้าทุกคนจะปรบมือให้ และร้องไชโยดังๆ เป็นแน่แท้!

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง