รีเซต

เว็บไซต์ 'ครูพร้อม' ช่วยความพร้อมครู-นักเรียน อย่างไร? ในยุคโควิด

เว็บไซต์ 'ครูพร้อม' ช่วยความพร้อมครู-นักเรียน อย่างไร? ในยุคโควิด
TeaC
12 พฤษภาคม 2564 ( 15:58 )
309

 

ครูพร้อม ทางเลือกการศึกษา ก่อนเปิดภาคเรียน ฝ่าวิกฤตโควิด-19!!!

 

 

อีกหนึ่งมาตรการในสถานการณ์โควิดที่ระบาดไม่หยุดหย่อนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นำทัพโดย ตรีนุช เทียนทอง เพิ่งคลอด เว็บไซต์ ครูพร้อม ออกมาหมาด ๆ รองรับความพร้อมก่อนการ เปิดเทอม ในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 นี้ 

 

 

 

 

 

 

โดย เว็บไซต์ ครูพร้อม เป็นรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้ามาผนวก หรือจะเรียกว่า ผสมผสานให้เกิดการเรียนการสอนให้กลมกลืนในรูปแบบ "เรียนออนไลน์" ที่ทั้งเด็กใหม่ เด็กเก่า ต่างคุ้นชิน คุ้นเคย ไปจนถึงกลายเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่หลีกหนีไม่ได้อีกแล้วในยุควิถี New Normal หากโควิดยังร้ายกาจไม่หยุดไม่หย่อน

 

 

ทำไม ศธ. คลอด ครูพร้อม แล้ว ครูพร้อม คืออะไร? ทำไมต้องใช้

 

 

เนื่องจากทุกวันนี้ เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในชีวิตของเราทุกคน ตั้งแต่ตื่นเช้า ไปจนนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยี

 

 

  • ในการสื่อสารต่าง ๆ
  • ติดตามข่าวสารทั่วโลกข้อมูลเพียงปลายนิ้วสัมผัส
  • ช้อปสินค้าออนไลน์โดยไม่ต้องไปถึงห้างสรรพสินค้า ผ่านแอปพลิเคชั่นมากมายให้เลือก เช่น แม็คโคร ลาซาด้า
  • จ่ายเงิน ลดเสี่ยง ผ่านกระเป๋าอิเล็กทรนิกส์ อย่าง เป๋าตัง แอปฯ จากโครงการเราชนะ ม33เรารักกัน ของทางภาครัฐ หรือ True Momey Wallet 
  • ลงทะเบียนจองคิววัคซันโควิด ผ่านแอปฯ หมอพร้อม
  • เรียนออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมถึง เว็บไซต์ ครูพร้อม 

 

 

ทุกอย่างที่ยกตัวอย่างข้างต้น ล้วนใช้เทคโนโลยี ใช้อินเทอร์เน็ต ในการเข้าถึงทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างรวดเร็ว แถมยังเข้าที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ 

 

 

สำหรับเว็บไซต์ ครูพร้อม ก็เช่นกัน เป็น Web Portal ที่อัดแน่น อุดมไปด้วยคลังสื่อ ข้อมูลการเรียนรู้ กิจกรรม ของเหล่า สพฐ.-สช.-สำนักงาน กศน.-สอศ. ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่คลอดออกมาเพื่อเตรียมจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียน ที่จะเปิดให้เด็กนักเรียน เด็กเก่า เด็กใหม่ เข้าใช้งานได้วันแรก วันที่ 17 พ.ค. 2564 นี้ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หวังที่จะปูพรม ปูทางความพร้อมให้เด็กได้ "เรียนออนไลน์" ได้ต่อเนื่องแบบไม่ต้องหยุดชะงัก หรือเกิดการสะดุด ก่อนเปิดเทอม 1 มิถุนายน 2564 นี้ 

 

 

เสมือนเป็นทางเลือก ให้โรงเรียนแต่ละพื้นที่ได้ประเมิน จัดทำรูปแบบการเรียนการสอนที่ "ความปลอดภัย" ของเด็ก ครู บุคลากร ผู้ปกครอง อันดับต้น ๆ ที่ต้องคำนึงถึงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดที่ยังเป็นเงาตามตัว

 

 

 

11 วันกับ ครูพร้อม เรียนรู้ก่อน เปิดเทอม เพื่อประเมิน-เลือกรูปแบบการเรียนจริง

 

 

 

การใช้งานเว็บไซต์ ครูพร้อม จะเริ่มใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 11-31 พฤษภาคม 2564 ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ นั้นจะแบ่งหัวข้อ หมวดหมู่ ตามความสนใจที่ผู้เรียนทุกคน อาทิ ครู ผู้บริหาร และผู้ปกครอง สามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบกลาง

 

 

ส่วน ผู้ออกแบบกิจกรรมร่วมกับ ศบค.จังหวัด จะอยู่ในส่วนของสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ที่คิดขึ้นจากเหตุการณ์ร่วมสมัย เพื่อสอดรับให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ โดยเลือกหัวข้อ กิจกรรมที่ต้องการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

 

 

จากนั้น วันเปิดเทอม แต่ละโรงเรียน แต่ละพื้นที่ จะสามารถจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม เช่น

 

 

  • เรียนที่ โรงเรียน
  • เรียนทางไกล
  • เรียนผ่านแอปพลิเคชั่น
  • เรียนออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต
  • เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร

 

 

ซึ่ง กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ย้ำว่า ต้องเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก และอนุญาตให้สถานศึกษาแต่ละแห่ง สามารถจัดการเรียนการสอนในรูปแบบผสมผสาน หรืออาจใช้วิธีอื่นตามบริบทของตนเองได้ 

 

 

 

ถอดรหัส ครูพร้อม วางแผนความพร้อมยังไงในยุคโควิด

 

 

ระยะที่ 1  11 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 17-31 พ.ค. ก่อนเปิดภาคเรียน จะเป็นการเตรียมความพร้อมของทั้งครูและนักเรียน โดยจัดกิจกรรมเสริมความรู้การจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ เช่น

 

  • เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็นจากเหตุการณ์ร่วมสมัย
  • จัดการเรียนรู้ของจริง ประสบการณ์จริง เพื่อทำให้การเรียนรู้ของเด็กไทยต่อเนื่อง ไม่สะดุด หรือหยุดชะงัก
  • มีการจัดทีมพี่เลี้ยง เพื่อให้เป็นที่ปรึกษาแก่ ครู ในการจัดกิจกรรมตามแนวทางดังกล่าว

 

 

ระยะที่ 2 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปี 2564 ซึ่งจจัดการเรียนรู้ 5 รูปแบบ คือ

 

  • On-Site เรียนที่โรงเรียน โดยมีมาตรการเฝ้าระวังตามประกาศของ ศบค.
  • On-Air เรียนผ่าน DLTV
  • On-Demand เรียนผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ
  • Online เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต
  • On-Hand เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร เช่น หนังสือแบบฝึกหัดต่าง ๆ 

 

 

โครงการของครูพร้อม เป็นมาตรการที่ รัฐมนตรี ตรีนุช เทียนทอง ได้เล็งเห็นถึงการเตรียมความพร้อมในสถานการณ์โควิดที่ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับครู ผู้ปกครอง นักเรียน ให้มีโอกาสเข้าถึงกระบวนการการเรียนรู้ที่จัดไว้เป็น 2 รูปแบบ ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) บูรณาการทุกอย่าง ทั้งเนื้อหาทุกส่วนที่สำคัญจากหน่วยงานทุกสังกัดของ ศธ. มาไว้ในเว็บไซต์เดียว 

 

 

 

หากมองในแง่ดี เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้ทันยุคที่โรคระบาดยังระบาดไม่หยุดหย่อน ต้องกักตัว ลดเสี่ยง แต่ในอีกแง่หนึ่ง คงต้องดูผลลัพธ์ที่รูปแบบการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีตอบโจทย์ของครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในแต่ละพื้นที่หรือไม่ ? เพราะบริบทของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน การเกิดประโยชน์ หรือปัญหา ย่อมแตกต่าง

 

 

 

และนี่จะเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของระบบการศึกษาไทยในอนาคต ยุคโควิดที่ยังอยู่ในชีวิตของคนทุกกลุ่ม 

 

 

 

ข้อมูล : กระทรวงศึกษาธิการ 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง