รีเซต

ครูพร้อม (ไหม) : เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา โควิด-19 กระทบการศึกษาไทยอย่างไรบ้าง?

ครูพร้อม (ไหม) : เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา โควิด-19 กระทบการศึกษาไทยอย่างไรบ้าง?
TeaC
11 พฤษภาคม 2564 ( 20:25 )
276

 

ใครอยากไปโรงเรียนยกมือขึ้น!!! ครูพร้อม แล้วนะ

 

 

ตอนเด็กมักจะได้ยินพ่อแม่ถามเวลาที่เริ่มต้นสู่ชีวิตการเรียนรู้ เพื่อสร้างโอกาสให้ตัวเองได้ศึกษาเล่าเรียน บ่มเพาะความรู้จากความพร้อมของครู ที่ครูพร้อมให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ โรงเรียนจึงกลายเป็นอีกหนึ่งการเรียนรู้ เพื่อให้เราได้เติบโตไปเป็นคนเก่ง มีความสามารถ ได้ทำงานอย่างที่ได้เรียนมา

 

 

 

 

 

 

โควิดเขย่าระบบการศึกษาไทย

 

แต่เมื่อโรคใหม่อุบัติขึ้นอย่างโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ที่เข้ามาระบาดตั้งแต่ ปี 2563 เป็นต้นมา จนย่างก้าวเข้าสู่ ปี 2564 ครบ 1 ปี ที่โควิดสายพันธุ์ตั้งแต่อู่ฮั่น ประเทศจีน จุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาด ต่อมาสายพันธุ์อังกฤษ กระทั่งล่าสุดโควิดสายพันธุ์อินเดีย เข้าไทยแล้ว

 

 

และสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 เปลี่ยนแปลงทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตใหม่ หรือ New normal ที่ต้องปฏิบัติตามกฎเพื่อหยุดเชื้อเพื่อชาติ ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หมั่นล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม ไม่ใช้ของร่วมกับคนอื่น และไม่ไปพื้นที่เสี่ยง 

 

 

รวมทั้ง ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา โควิด-19 วายร้ายยังเขย่าระบบการศึกษาของไทยอย่างมาก ให้ต้องปรับตัวทั้งในรูปแบบการเรียนการสอน จากเดิมที่นักเรียนพร้อมเดินทางไปโรงเรียน ครูพร้อม บุคคลากรพร้อมในการเตรียมการสอน โรงเรียนพร้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งสถานที่การเรียน กิจกรรมต่าง ๆ 

 

 

แต่สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นกลายเป็นว่าโควิด-19 เปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนเข้าสู่โลกดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น นักเรียนต้องเรียนออนไลน์ เพราะโควิดส่งผลกระทบให้ต้องกักตัว ใช้ชีวิตติดบ้าน

 

 

ครูพร้อม จริงหรือไม่ ? เมื่อต้องปรับตามเทคโนโลยี

 

 

ขณะที่ ครู บุคลากรต่าง ๆ ต่างต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนในรูปแบบการออนไลน์ด้วยเช่นกัน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนหนังสือต่อเนื่อง เกิดผลกระทบต่อเด็กให้น้อยที่สุด และหวังว่าโควิดจะทวีความรุนแรงลดลงบ้าง

 

 

ทว่าไม่เป็นอย่างนั้น โควิด-19 ใหม่ระลอก 3 ที่รุนแรงกว่าระลอกที่ผ่านมา ๆ เขย่าการศึกษาไทยไม่จบไม่สิ้น เด็กนักเรียนที่หวังจะไปโรงเรียน สถาบันการเรียน เพราะมีความครบครันในทุกด้าน ต้องผิดหวัง เมื่อ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นำทัพโดย น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการ ได้ออกประกาศมีมติที่ประชุมให้ "เลื่อนเปิดเทอม" จากเดิมต้องเปิดเทอมในเดือนพฤษภาคม 2564  ไปเป็น เปิดเทอม 1 มิถุนายน 2564

 

 

เลื่อนเปิดเทอม กระหึ่มทวิตเตอร์

 

 

ส่งผลให้เกิดการกระแสบนโลกโซเชียล แฮชแท็ก #เลื่อนเปิดเทอม ไต่ขึ้นจนติดอันดับ 1 ของทวิตเตอร์ เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา ของเหล่าเด็กระโปรงบานขาสั้น สื่อให้เห็นถึง ความพร้อม ความต้องการที่อยากไปโรงเรียน เพื่อเรียนหนังสือ 

 

 

สะท้อนให้เห็นถึงการศึกษาของไทยที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิดอย่างหนัก รวมทั้งที่น่าเป็นห่วงคือ ด้านสุขภาพจิตใจของเด็ก ๆ ได้

 

 

โดยปัญหาของการศึกษา ภาครัฐต่างพยายามหาทางเพื่อปรับกลยุทธ์ต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบการเรียนการสอน การสอบ ทั้งเลื่อนสอบ ไม่เลื่อนสอบ และอาจเป็นไปได้ที่ยังไม่ราบรื่น เกิดอุปสรรคหลากหลายปัจจัย แต่ที่แน่ ๆ เด็กได้รับผลกระทบไม่ต่างจาก ครู (ไม่) พร้อม

 

 

วัคซีนโควิดถูกทาง แต่ทันฉีดหรือไม่?

 

และสิ่งที่น่าสนใจและน่าจับตามองนั่นคือ ครูพร้อม รับมือ เตรียมตัวกับการ ต้อนเปิดเทอม ในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 จริงหรือไม่ ? เนื่องจาก ครู บุคลากรทุกคน ต่างเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิดด้วยเช่นกัน

 

 

แม้ว่า ภาครัฐจะหาแนวทางและมาตรการในการป้องกันโควิด-19 ด้วยการไฟเขียวให้กลุ่มอาชีพครู อาจารย์ในกรุงเทพฯ ได้รับวัคซีนโควิดก่อน เปิดเทอม 1 มิถุนายนนี้ โดยจะเริ่มฉีดวัคซีนโควิดในวันที่ 21 พฤษภาคม 2564

 

 

ทั้งนี้ จากการค้นข้อมูล พบว่า จำนวนบุคลากรทางการศึกษาของรัฐและเอกชน ทั้งหมดประมาณ 600,000 คน  ขณะที่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนักเรียนทั้งหมดประมาณ 8 ล้านคน 

 

 

เมื่อลองนับนิ้วดู จำนวนบุคลากรในกรุงเทพมหานครฯ ก็มีไม่น้อยเช่นกัน

 

 

คำถามที่ตามมาคือ ครูพร้อม ร่วมรับฉีดวัคซีนทันก่อนเปิดเทอมจริง ๆ หรือไม่ ? แล้วนักเรียนพร้อมเดินทางเข้าโรงเรียนแล้วหรือยัง ? 

 

 

แล้วมาตรการในการป้องกันโควิดจะเข้มข้นขนาดไหน เพราะหากขาดการป้องกันอย่างเข้มงวด นอกจากจะเพิ่มตัวเลขผู้ติดเชื้อ โควิด19 อาจเป็นไปได้ที่จะเขย่าระบบการศึกษาไทย และยังเป็นความท้าทายของตรีนุข เทียนทอง แม่ทัพกระทรวงศึกษาธิการ ในการทำงานที่ต้องไม่ซ้ำรอยเดิม ๆ ให้ได้

 

 

อย่าให้ 1 ปีที่ผ่านมา จุดให้เกิด 1 ปีซ้ำซากเพิ่มขึ้นอีก

 

 

เมื่อ ครูพร้อม ทุกอย่างต้องร่วมพร้อมด้วย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง