บรรยากาศลงทุนยังเงียบเหงา นลท.รอผลเจรจากำแพงภาษี

#UOBAM #ทันหุ้น บลจ.ยูโอบี ตลาดเคลื่อนไหวจำกัด อยู่ระหว่างประเมินผลกระทบกำแพงภาษีสหรัฐหากลากออกไปยาว จะกระทบต่อเศรษบกิจและเงินเฟ้อมากแค่ไหน ขณะที่ ยุโรปคาดบรรลุข้อตกลงภาษีกับสหรัฐได้ภายในระยะเวลาผ่อนผัน ด้านญี่ปุ่นเล็งนำเข้าถั่วเหลืองสหรัฐเพิ่ม ส่วนจีนมองพัรธมิตรการค้าใหม่ๆนอกจากตะวันตก ล่าสุดคุยไต้หวัน ด้านไทยGDPมีแววต่ำกว่า 2.5% จังหวะนี้ยังคงแนะนำลงทุนตราสารหนี้
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ UOBAM เผยในบทวิเคราะห์ว่า ภาพรวบตลาดคลื่อนไหวให้ทำกัดเพื่อรับรู้ผลจากความเสี่ยง Downside Case กรณีสถานการณ์แรงกดดันด้านภาษีคงอยู่ในระยะกลาง-ยาว จนกดดนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและกดดันเงินเฟ้อฝั่งต้นทุนให้เร่งตัวสูงขึ้น รวมถึงการที่ประชาชนบางกลุ่มเริ่มออกมาแสดงความไม่พอใจผลจากการตัดงบประมาณของรัฐบาล โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งหากสถานการณ์ความไม่พอใจขยายวงกว้างขึ้นอาจบีบให้ทางโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงกดดันในระยะถัดไปได้จํากัดมากขึ้น
ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยภาพรวมตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวขึ้นได้เล็กน้อย โดยดัชนี Fear & Greed Index ลดระดับการ Risk-Off ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 21 แม้ยังอยู่ในโซน Extreme Fear ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ10 ปี(US 10Y Yield) อยู่ที่ระดับ 4.3%
*ยุโรปคาดบรรลุเจรจาภาษี
ฝั่งยุโรป โดยคาดว่าสหภาพยุโรป (EU) จะสามารถบรรลุข้อตกลงการค้าได้ภายในระยะเวลาผ่อนผัน 90 วัน ก่อนที่มาตรการภาษีจะกลับมามีผลบังคับใช้อีกครั้ง ในส่วนของดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. เทียบรายเดือนขยายตัวดีกว่าคาดที่ 1.1% (จากคาด 0.2%) ด้านเงินเฟ้อ CPI & Core CPI ยุโรปเทียบรายปีออกมาตามคาดการณ์ที่ 2.2% และ 2.4% โดยธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ทําให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยุโรปอยู่ที่ 2.25%
ฝั่งญี่ปุ่น กําลังพิจารณาที่จะนําเข้าถั่วเหลืองและข้าวเพิ่มขึ้นเพื่อทําข้อตกลงการค้ากับสหรัฐ ซึ่งคาดว่าจะเห็นความคืบหน้า ในการเจรจามากขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ สำหรับดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. เทียบรายเดือน ขยายตัวตํ่าคาดที่ 2.3% (จากคาด2.5%) โดยยอดคําสั่ง ซื้อเครื่องจักรเดือน ก.พ. เทียบรายเดือน ขยายตัวดีกว่าคาดที่ 4.3% (จากคาด 1.1%) ด้านยอดส่งออกเดือน มี.ค. เทียบรายปีน้อยกว่าคาดที่ 3.9% (จากคาด4.5%) ด้านเงินเฟ้อ Core CPI เดือน มี.ค. เทียบ รายปีเร่งตัวขึ้นมาที่ 2.9% (ก.พ. 2.6%)
ด้านจีนนั้นทางการจีน เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐในไตรมาสแรกของปี 2568 ท่ามกลางแรงกดดันทางการค้าที่ยกระดับความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยแม้ตัวเลขเศรษฐกิจใน ไตรมาส1/68 ออกมาดีแต่ความเสี่ยงในระยะหลังจากนี้ยังคาดว่าอาจกดดันแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี2568ได้
*จีนขยายตลาดการค้า
นอกจากนี้ทางการจีนยังพยายามเจรจาเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมกับไต้หวัน ภาพใหญ่ ในระยะยาวจะเกิดการแยกห่วงโซ่การผลิตและการพึ่งพาทางเศรษฐกิจออกจากกันมากขึ้น ทําให้จีนต้องสร้างความร่วมมือทางการค้าและตลาดให้กว้างมากขึ้นจากคู่ค้าเดิมที่เป็นโลกตะวันตก
ด้านธนาคารแห่งประเทศไทยคาดเศรษฐกิจไทยจะถูกกระทบจากประเด็นทางการค้าโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 ซึ่งคาดว่าจะกดดันให้GDP ไทยโตตํ่ากว่า 2.5% ในปี2568 โดยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบวันที่ 30 เม.ย. คาดว่าแบงค์ชาติจะเผยคาดการณ์GDP ไทยหลังรับรู้ปัจจัยลบผลจากประเด็นการค้า เข้าไปด้วย
ภาพรวมมองเป็นโอกาสสะสมลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดี กองทุนหุ้นที่แนวโน้มกําไรมีความทนทานต่อสภาวะเศรษฐกิจและความเสี่ยงทางการค้า รวมถึงกองทุนหุ้นที่ ความเสี่ยงตลาดจํากัด โดยกองทุนตราสารหนี้ทั่วโลกแนะนำ กองทุน UGIS บนแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ย ทีจุดเด่นที่ปรับพอร์ตยืดหยุ่นมีทั้งคลาส UGIS และUGISFX ให้เลือกลงทุน กองทุน UGIS ลงทุนในกองทุนหลักPIMCO GIS Income Fund (Class I) โดยมีการกระจายการลงทุน ในตราสารหนี้ทั้ง ภาครฐัและเอกชนทั่วโลก เพื่อสร้างกระแสรายได้ในระดับสูง
ส่วนหุ้นโลก แนะนำกองทุน UGEAR บนความผันผวนและความเสี่ยงที่สูงขึ้น เนื่องจากเป็นกองทุนที่มีค่าความสัมพันธ์กับกองทุนหุ้นโลกอื่นๆที่ต่ำมาก โดยกองทุน UGEAR ลงทุนในกองทุนหลัก Jupiter Merian Global Equity Absolute Return Fund (Class I USD Accumulation) นโยบาย การลงทุนเพื่อมุ่งสร้างผลตอบแทนที่เป็นบวกโดยไม่ขึ้นกับภาวะตลาดในแต่ละขณะ