รีเซต

สืบจาก "ศพแตงโม นิดา" ศพแบบไหนที่ต้องชันสูตรศพ พิสูจน์หาสาเหตุการตาย?

สืบจาก "ศพแตงโม นิดา" ศพแบบไหนที่ต้องชันสูตรศพ พิสูจน์หาสาเหตุการตาย?
Ingonn
2 มีนาคม 2565 ( 14:31 )
6.4K

จากกรณี "แตงโม นิดา" เสียชีวิตกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ล่าสุดผลชันสูตรศพ แตงโม เปิดเผยว่า แตงโม เสียชีวิตจากการตกน้ำและสำลักน้ำ จนขาดอากาศหายใจ เนื่องจากในหลอดลม ปอด กระเพาะอาหาร มีน้ำ และโคลน พบแผลที่ขา เกิดจากของมีคม รวมถึงไม่สามารถวิเคราะห์กรณีแตงโมฉี่ท้ายเรือได้ เนื่องจากแพทย์ไม่สามารถตรวจกระเพาะปัสสาวะได้ เพราะรูดกระเพาะปัสสาวะเสื่อมและกว้างขึ้น ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีปัสสาวะอยู่ภายในกระเพาะปัสสาวะหรือไม่

 

จากกรณีกระแสข่าวแตงโม ทำให้เราเห็นได้ว่า การชันสูตรศพ มีความสำคัญต่อการดำเนินคดี และเป็นพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุได้ว่า ก่อนที่จะเสียชีวิต เกิดอะไรขึ้นกับศพบ้าง วันนี้ TrueID จึงจะพาไปทำความเข้าใจเรื่องการ "ชันสูตรศพ" กัน

 

สำนักงานกิจการยุติธรรม ระบุว่า “การชันสูตรพลิกศพ” เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการพิสูจน์หาสาเหตุการตาย สามารถตอบปัญหา และข้อสงสัยจากการตายได้ซึ่งการชันสูตรพลิกศพ เป็นกระบวนการที่กำหนดขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148 ว่า “เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติหรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยประหารชีวิตตามกฎหมาย” 

 

ซึ่งทาง “การตายผิดธรรมชาติ” กับ “การตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน” มีความแตกต่างกัน

 

การตายผิดธรรมชาติ คืออะไร

ตายผิดธรรมชาติ มี 5 ลักษณะ ดังนี้

  1. การฆ่าตัวตาย
  2. การถูกผู้อื่นทำให้ตาย
  3. การถูกสัตว์ทำร้ายตาย
  4. การตายโดยอุบัติเหตุ
  5. การตายโดยยังไม่ปรากฏเหตุ

 

การตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน คืออะไร

การตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ได้แก่ การตายที่อยู่ในระหว่างควบคุมหรือขัง หรือ กักขัง หรือจำคุก หรือคุมตัวของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย หรือ คำพิพากษา หรือตามคำสั่งของศาลแล้วแต่กรณี

 

ใครมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับชันสูตรพลิกศพ

  • พนักงานสอบสวนและตำรวจกองพิสูจน์หลักฐาน – รับแจ้งความเมื่อมีผู้ตาย-แจ้งผู้มีหน้าที่ให้ร่วมชันสูตรพลิกศพทราบ เช่น แพทย์ พนักงานอัยการ พนักงานปกครอง – ก่อนการชันสูตรพลิกศพ ต้องแจ้งญาติของผู้ตายอย่างน้อย 1 คนทราบเท่าที่จะทำได้

  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เช่น ปลัดอำเภอ-จังหวัด นายอำเภอ ผู้ว่าราชการฯ

  • แพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข – แพทย์ประจำโรงพยาบาลของรัฐ – แพทย์ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด – แพทย์ประจำโรงพยาบาลเอกชน หรือแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์อาสาสมัครตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข

 

วิธีการชันสูตรศพ

  1. การตรวจสอบด้วยการพลิกศพชันสูตรพลิกศพโดยไม่ผ่า “พลิกดูศพทั้งด้านหน้า – ด้านหลัง” เช่น ดูเพศ อายุ เชื้อชาติ สิ่งของติดตัว ฯลฯ เพื่อพิจารณาว่าผู้ตายเป็นใคร สภาพศพหลังตายเปลี่ยนแปลงอย่างไร ประมาณเวลาตาย ดูบาดแผลเพื่อสันนิษฐานสาเหตุของการตาย

  2. การตรวจสอบด้วยการผ่าศพถ้ายังหาสาเหตุการตายไม่ได้ ไม่ชัดเจน หรือมีเหตุจำเป็นเพื่อหาสาเหตุการตาย เช่น การผ่าศพตรวจดูด้วยตาเปล่า หรือการตัดเอาก้อนเนื้อไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์

  3. ถ้าผู้ตายเป็นชาวไทยอิสลามจะผ่าศพไม่ได้ ตามหลักศาสนาอิสลาม หนังสือกระทรวงมหาดไทย และระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

 

 

 

ที่มา : ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานกิจการยุติธรรม 

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง