นักวิทย์ค้นพบหลุมดำ หลังการระเบิดพลังงานทำลายดาวฤกษ์
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ตีพิมพ์รายงานการค้นหลุมดำมวลยิ่งยวดลงบนวารสารเนเจอร์ (Nature) ซึ่งถูกพบเนื่องจากปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เรียกว่า ไทดัล ดิสทรัปชัน อีเวนต์ (Tidal Disruption Event)
ไทดัล ดิสทรัปชัน อีเวนต์ (Tidal Disruption Event)
ไทดัล ดิสทรัปชัน อีเวนต์ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดาวฤกษ์เคลื่อนที่เข้าใกล้หลุมดำมวลยิ่งยวดมากจนถูกแรงไทดัล (แรงที่เกิดจากผลกระทบที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง) ของหลุมดำ ดึงยืดเนื้อสารของดาวฤกษ์ออกจากกัน โดยทำให้หลุมดำถูกมองเห็นได้ชั่วคราว เนื่องจากแสงของรังสีที่มีพลังงานมากจนบดบังแสงทุกดวงของดาวฤกษ์ในดาราจักรแคระที่หลุมดำดังกล่าวอยู่
ดังนั้นมันจึงถูกสังเกตเห็นด้วยกล้องโทรทรรศน์ยัง ซุเปอร์โนวา เอ็กซ์พีริเมนต์ (Young Supernova Experiment) และยังสามารถวัดมวลของหลุมดำได้ด้วย ซึ่งหลุมดำมวลดังกล่าวมีมวลประมาณ 100 ถึง 100,000 ล้านเท่า ของมวลดวงอาทิตย์
“ความจริงที่ว่าเราสามารถจับหลุมดำนี้ได้ในขณะที่มันกลืนกินดาวฤกษ์ ทำให้เรามีโอกาสพิเศษในการตรวจจับสิ่งที่ซ่อนเร้นจากเรา ยิ่งไปกว่านั้น เราสามารถใช้คุณสมบัติของแสงเองเพื่อทำความเข้าใจกลุ่มหลุมดำมวลปานกลางที่เข้าใจยากนี้ได้ดีขึ้น ซึ่งสามารถอธิบายหลุมดำส่วนใหญ่ในใจกลางกาแลคซีได้” - ชาล็อตต์ แองกัส (Charlotte Angus) นักดาราศาสตร์กล่าว
การค้นพบที่คาดไม่ถึง
โดยปกติแล้วนั้นการค้นพบหลุมดำที่อยู่ห่างไกลจากโลกมากสามารถทำได้ยาก เนื่องแรงโน้มถ่วงของหลุมดำทำให้แสงไม่สามารถเดินผ่านมันเพื่อมายังโลกของเราได้ หรือแม้แต่การตรวจพบด้วยการตรวจจับรังสีเอ็กซ์ก็สามารถทำได้ยากเช่นกัน เนื่องจากระยะทางที่ไกลมากทำให้เป็นเรื่องยากในการระบุว่าแหล่งที่มาของรังสีเอ็กซ์มาจากตรงไหน ซึ่งหลุมดำดังกล่าวอาจยากที่จะค้นพบ หรือไม่ถูกค้นพบเลย หากไม่มีปรากฏการณ์ไทดัล ดิสทรัปชัน อีเวนต์เกิดขึ้นเสียก่อน
ข้อมูลจาก www.nature.com
ภาพจาก astronomy.com